· ผลการประชุมเฟดวานนี้ เฟดมีมติปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% ตามคาดสู่กรอบ 1.5 - 1.75% แต่มีการส่งสัญญาณถึงการหยุดวงจรการผ่อนคลายทางการเงินในเร็วๆนี้้ด้วย
ทั้งนี้ เฟดถอนในความสำคัญที่มักจะกล่าวหลังจบการประชุมตั้งแต่ช่วงเดือนมิ.ย. ที่ระบุว่า จะดำเนินการอย่างเหมาะสมเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างยั่งยืน และเมื่อนายโพเวลล์ ประธานฟดกล่าวเช่นนั้นเราจะเห็นการปรับลดดอกเบี้ยตามมาในเดือนมิ.ย. แต่ล่าสุดเปลี่ยนมาใช้ถ้อยแถลงเป็น สมาชิกเฟดจะจับตาอย่างต่อเนื่องต่อข้อมูลที่จะประกาศออกมาเพื่อประเมินทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจและปรับใช้นโยบายอย่าเหมาะสมต่อกรอบดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งปัจจุบัน เฟดมองว่าการดำเนินนโยบายเป็นไปอย่างเหมาะสมแล้ว
อย่างไรก็ดี ภาพรวมตลาดการเงินตอบรับกับการที่เฟดเริ่มต้นส่งสัญญาณผ่อนคลายทางการเงินหลังจากที่ขึ้นดอกเบี้ยมา 9 ครั้งนับตั้งแต่ธ.ค.ปี 2015 ก่อนท่ีจะปรับมาใช้นโยบายปรับลดดอกเบี้ย ขณะที่เครื่องมือ FedWatch ของ CME ล่าสุดมองโอกาสที่จะเห็นเฟดลดดอกเบี้ยในการประชุมระหว่างวันที่ 10-11 ธ.ค. มีโอกาสน้อยลงเพียง 25% เท่านั้น
· ถ้อยแถลงของนายโพเวลล์ ยังระบุอีกว่า ผลกระทบของนโยบายการค้าที่เกิดขึ้นกับภาคการลงทุนในธุรกิจ ภาคการผลิต และภาคการส่งออก เป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนให้เฟดตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ย และถึงแม้นายโพเวลล์จะระบุไว้ว่า เฟดยังไม่มีแผนที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้นี้ แต่เฟดจะจับตาความเคลื่อนไหวของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนอย่างใกล้ชิด พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่าทั้งสองประเทศจะสามารถร่วมลงนามในข้อตกลงเบื้องต้นร่วมกันได้
· สรุปใจความสำคัญประชุมเฟด
- เฟดปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% สู่กรอบ 1.75%
- ก่อนประชุมเฟดตลาดคาดโอกาสที่ 97% ที่จะเห็ฯเฟดลดดอดอกเบี้ย
- ในรายงานประชุมเฟดยังระบุถึงความไม่แน่นอนที่ยังมีอยู่และจะประเมินอย่างเหมาะสมต่อระดับดอกเบี้ย
- สมาชิกเฟด นางจอร์จ และ นายโรเซ็นเกร็น ต้องการให้คงดอกเบี้ย
- เฟดมีการเปลี่ยนแปลงใจความถ้อยแถลงที่จะจับตาทิศทางเศรษฐกิจเพื่อปรับนโยบายให้เหมาะสมกับกรอบที่กำหนด
- กิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวได้มากขึ้นในระดับปานกลางเช่นเดียวกับช่วงก่อน
- เฟดกล่าวย้ำถึงภาคแรงงานที่แข็งแกร่ง รวมทั้งค่าแรงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ขณะที่อัตราว่างงานก็ยังคงอยู่ระดับต่ำ
- ค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือนกำลังเพิ่มขึ้นแข็งแกร่ง เมื่อเทียบกับสัญญาณที่ที่สะท้อนถึงการปรับขึ้น
· เศรษฐกิจสหรัฐฯในไตรมาสที่ 3/2019 ขยายตัวได้ดีกว่าที่คาด ท่ามกลางการใช้จ่ายของภาคผู้บริโภคที่แข็งแกร่ง จึงช่วยชดเชยการชะลอตัวของการลงทุนในภาคธุรกิจได้ โดย GDP ในไตรมาสที่ 3/2019 ขยายตัวได้ 1.9% มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 1.6% พร้อมคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะขยายตัวได้ในระดับปานกลางสำหรับไตรมาสที่ 4/2019
· รายงานจาก CNBC ระบุว่า ประเทศชิลีทำการยกเลิกการประชุม Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) ในช่วงกลางเดือนพ.ย. โดยนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯและนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน มีกำหนดการที่จะเข้าพบกันเพื่อหารือความเป็นไปได้ของข้อตกลงเฟสแรกที่เข้าใกล้ขั้นสุดท้าย ซึ่งการยกเลิกดังกล่าวเกิดขึ้นในระหว่างเกิดเหตุประท้วงต่อต้านรัฐบาล
· บีโอเจมีแนวโน้มจะประกาศคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันนี้ ท่ามกลางความเชื่อมั่นของตลาดที่ดูดีขึ้น หลังความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนเริ่มผ่อนคลายลง
ขณะที่นักวิเคราะห์มีมุมมองว่า นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ประธานบีโอเจ มีแนวโน้มที่จะกล่าวถ้อยแถลงในเชิงส่งสัญญาณว่าบีโอเจพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายทันทีหากเศรษฐกิจต้องการแรงหนุนเพื่อช่วยผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อขยายตัวถึงเป้าหมายที่ 2% ได้
· สัญญาน้ำมันดิบ Brent ปิดลดลง 1.07 เหรียญ ที่ระดับ 60.52 เหรียญ/บาร์เรล ในขณะที่ WTI ปิดลดลง 48 เซนต์ หรือ -0.9% ที่ระดับ 55.06 เหรียญ/บาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบปิดปรับตัวลงหลังจากที่สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯเพิ่มขึ้นเกินคาด จุดประกายความกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่การแก้ไขปัญหาสงครามการค้าสหรัฐฯและจีนจะชะลอออกไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุปสงค์น้ำมันทั่วโลก
รายงานจาก EIA ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 5.7 ล้านบาร์เรลจากสัปดาห์ก่อน สู่ระดับ 438.9 ล้านบาร์เรล หรือปรับขึ้นประมาณ 1% ยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยราย 5 ปี เป็นครั้งแรก