· ดัชนีดาวโจนส์และดัชนี S&P500 ปิดทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์หลังจากที่มีความคืบหน้าถึงสัญญาณการเจรจาข้อตกลงการค้ากับทางสหรัฐฯ แต่ความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจก็ดูจะจำกัดการปรับขึ้นบางส่วน โดยดัชนีดาวโจนส์ปิด +182.24 จุด หรือคิดเป็น +0.66% ที่ระดับ 27,674.8 จุด และดัชนี S&P500 ปิด +0.27% ที่ 3,085.18 จุด ขณะที่ดัชนี Nasdsaq ปิด +0.28% ที่ระดับ 8,434.52 จุด
จากข่าวการที่สหรัฐฯและจีนเห็นพ้องกันในการถอนข้อตกลงทางการค้าก็ดูจะช่วยหนุนตลาดได้บางส่วน แต่ตลาดก็อ่อนตัวลงหลังจากที่สำนักข่าว Reuters เผยถึงแหล่งข่าวที่ระบุว่า มีสมาชิกทำเนียบขาวบางส่วนแสดงท่าที่คัดค้านต่อการยกเลิกภาษีสินค้าบางส่วนและทำให้ยังไม่เกิดการตัดสินใจในขั้นสุดท้ายใดๆเวลานี้
อย่างไรก็ดี ข้อตกลงการยกเลิกภาษีสินค้าบางตัวร่วมกันถูกคาดหวังว่าสหรัฐฯจะรวมไปถึงการเว้นการเก็บภาษีสินค้านำเข้าจีนใดๆในวันที่ 15 ธ.ค. นี้ด้วย
· ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวสูงขึ้นไปทำระดับสูงสุดในรอบกว่า 4 ปีในช่วงต้นตลาด หลังจากที่จีนเผยถึงการจะยกเลิกการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าบางส่วนระหว่างกัน โดยดัชนี Stoxx600 ปิด +0.29% ขณะที่หุ้น Blue-Chip ของยุโรปมีการปรับขึ้นไปทำระดับสูงสุดนับตั้งแต่ก.ค. ปี 2015
· ตลาดหุ้นเอเชียปิดปรับตัวสูงขึ้นหลังจากที่ดัชนีดาวดจนส์ปิดทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ท่ามกลางทิศทาง Trade War เชิงบวกอีกครั้ง โดยดัชนีนิกเกอิเปิด +0.95% ขณะที่ Topix เปิด +0.8%
ทางด้าน Kospi ของเกาหลีใต้เปิด +0.43% และดัชนี S&P/ASX200 ปิด +0.15%
ภาพรวมดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดญี่ปุ่นเปิด +0.25%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
-นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ระหว่าง 30.30-30.45 บาท/ดอลลาร์
-ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% มาอยู่ที่ 6.87% พร้อมกันนี้ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำลง 0.25% เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะสภาพคล่องในระบบการเงินในปัจจุบัน โดยจะมีผลตั้งแต่วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน เป็นต้นไป
-ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 1.25% รวมทั้งการปรับปรุงกฎเกณฑ์เพื่อเอื้อให้เงินทุนไหลออกเพื่อลดแรงกดดันค่าเงินบาทว่า มาตรการลดดอกเบี้ยจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะปานกลาง เห็นบรรยากาศการผ่อนคลายในช่วงปลายไตรมาส 1 หรือต้นไตรมาส 2 ปีหน้า แต่ผลทางจิตวิทยาที่ ธปท.ลดดอกเบี้ย และมีมาตรการที่ช่วยลดแรงกดดันการแข็งค่าของเงินบาทนั้น จะเป็นจิตวิทยาในเชิงบวก
-ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.25% ในช่วงที่เหลือของปี เนื่องจากผลของการลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมเพียงอย่างเดียวน่าจะมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจได้จำกัด และอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงิน นอกจากนั้น กนง.น่าจะต้องการรักษาความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (policy space) ที่มีจำกัดเพื่อรองรับความเสี่ยงในอนาคต
-ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ต.ค.62 อยู่ที่ 70.7 ลดลงจากเดือน ก.ย.62 ที่อยู่ในระดับ 72.2 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ต่ำสุดในรอบ 65 เดือน เนื่องจากมีความเป็นห่วงสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองในประเทศ