· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน เนื่องจากรายงานเกี่ยวความคืบหน้าของการเจรจาการค้าของฝั่งสหรัฐฯและจีนที่ขัดแย้งกัน ได้กดดันความหวังของตลาดที่จะเห็นการเจรจาสงบศึกการค้าเกิดขึ้นในเร็วๆนี้
ซึ่งตรงข้ามกับมุมมองเชิงบวกหลังจากรายงานที่ว่าสหรัฐฯและจีนต่างเห็นพ้องกันที่จะทำการยกเลิกภาษีระหว่างกันบางตัวอันเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงการค้าในเฟสแรก
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง 0.4% ที่ระดับ 535.20 จุด หลังจากเพิ่มขึ้นไปที่ระดับ 538.77 จุด ซึ่งเป็นระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ค. สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์เพิ่มขึ้นประมาณ 2%
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 13 เดือน เนื่องจากมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ก่อนจะถูกกดดันจากรายงานเกี่ยวกับการขัดแย้งในเรื่องการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน
โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.26% ที่ระดับ 23,391.87 หลังจากเพิ่มขึ้นที่ระดับ 23,591.09 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมา สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์เพิ่มขึ้น 2.37% ซึ่งติดต่อกัน 5 สัปดาห์ ด้านดัชนี Topix เพิ่มขึ้น 0.27% ที่ระดับ1,702.77 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดมากกว่า 1 ปี
· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวสูงขึ้นก่อนจะปิดตลาดในแดนลบ โดยรายงานจาก Reuters ระบุว่าทีมบริหารของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คัดค้านการยกเลิกภาษีบางส่วนของจีนและยังไม่มีความชัดเจนว่าการลงนามจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่หรือที่ไหน ทำให้ตลาดบางส่วนยังมีความระมัดระวังต่อท่าทีการเจรจาการค้า
โดยดัชนี Shanghai Composite ลดลง 0.5% ที่ระดับ 2,964.18 จุด ซึ่งต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา
· ตลาดหุ้นยุโรปเปิดปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากเหล่านักลงทุนให้ความสนใจไปยังปประเด็นความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสงครามทางการค้า โดยดัชนี Stoxx600 ปรับตัวลดลงประมาณ 0.3% ขณะที่ตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในแดนลบ
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังของไทย ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สถานการณ์การแข็งค่าของเงินบาทในปัจจุบันมีสาเหตุหลักมาจาก ผู้ส่งออกของไทยสามารถส่งสินค้าและบริการออกไปขายในต่างประเทศมีมูลค่าสูงกว่าการนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายปี ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับนักลงทุนต่างชาติมีมุมมองที่ดีต่อปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้มีเงินตราจากต่างประเทศไหลเข้ามาประเทศทั้งในรูปของการลงทุนในหลักทรัพย์ และการลงทุนในภาคเศรษฐกิจจริง จึงส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น