เมื่อวานนี้ตลาดค่าเงินไม่ได้คึกคักมากนัก เนื่องจากตลาดพันธบัตรสหรัฐฯปิดทำการในวันทหารผ่านศึก (Veteran’s Day) แต่ตลาดหุ้นยังคงเปิดให้บริการและมีการเคลื่อนไหวแบบสะสมพลังมากขึ้น หลังจากที่สัปดาห์ที่แล้วเคลื่อนไหวอย่างหนักตามประเด็น Trade War ขณะที่นายทรัมป์ยังไม่ทำการตัดสินใจที่จะยกเลิกภาษีสินค้านำเข้ากับจีนลงบางส่วน แม้ว่าเราจะเห็นถึงการที่นายทรัมป์ส่งสัญญาณถึงการเจรจาที่เป็นไปด้วยดีค่อนข้างมาก แต่ก็ต้องการที่จะทำข้อตกลงกับจีนมากกว่าและต้องเป็นข้อตกลงที่ดีพอสำหรับสหรัฐฯ
นายปีเตอร์ นาวาร์โร ผู้อำนวยการฝ่ายการค้าสหรัฐฯ กล่าวว่า จะยังไม่มีการยกเลิกการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจีนในเร็วๆนี้ ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงการค้าเฟสแรก
สิ่งที่น่าสนใจสำหรับตลาดการเงินในสัปดาห์นี้คือ 5 เรื่องที่เสี่ยงจะกระทบกับตลาดค่าเงิน
1. นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด กล่าวถ้อยแถลงการดำเนินนโยบายครึ่งปีและทิศทางเศรษฐกิจต่อสภาคองเกรส (วันพุธ)
2. นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯกล่าวเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจที่ Economic Clug ตลาดมุ่งประเด็นไปที่เรื่องการค้า (วันอังคาร)
3. ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ย (วันพุธ)
4. รายงานการจ้างงานออสเตรเลีย (วันพฤหัสบดีนี้)
5. ข้อมูลยอดค้าปลีกสหรัฐฯ (วันศุกร์)
นอกจากนี้ ตลาดยังรอดูสัญญาณที่ว่าสหรัฐฯจเลื่อนการตัดสินใจเรื่องการขึ้นภาษีรถยนต์ยุโรป แม้ยุโรปจะไม่คาดหวังถึงเรื่องดังกล่าว แต่ผลลัพธ์การตัดสินใจของนายทรัมป์ก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจรู้ได้
ถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสภาคองเกรส (Semi-Annual Testimony)
เน้นหลักไปยังเรื่องการกล่าวถึงทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ หรือเรื่องแนวทางการดำเนินนโยบายการเงิน หลังจากที่เฟดตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยปีนี้ไปแล้วเป็นจำนวน 3 ครั้ง และน่าจะไม่ทำอะไรในการประชุมเดือนธ.ค.นี้
นักเศรษฐศาสตร์จับตาการประชุมของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ)
ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ถูกคาดว่าจะทำการปรับลดดอกเบี้ยลงในการประชุมวันพุธนี้ ด้วยโอกาสที่ตลาดมองไว้มากถึง 60% โดยเราอาจเห็นค่าเงินนิวซีแลนด์ดอลลาร์อ่อนค่าลงได้ก่อนทราบผลประชุม แต่ค่าเงินจะค่อยๆปรับแข็งค่ากลับขึ้นมาจากทราบรายงานเรื่องการลดดอกเบี้ย
แต่หากธนาคารกลางดังกล่าวหรือ RBNZ ตัดสินใจคงดอกเบี้ย ก็ดูเหมือนว่าความไม่แน่นอนต่างๆที่เกิดขึ้นก็จะยังเป็นตัวผลักดดันให้ทางธนาคารเองจำต้องเลือกใช้นโยบายเชิงผ่อนคลาย และอาจทำให้ค่าเงินนิวซีแลนด์ดอลลาร์นั้นกลับมาเป็นทิศทางอ่อนค่าได้
ที่มา:FXStreet