· ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินเยน ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ต้องการสินทรัพย์เสี่ยงหลังมีรายงานว่าสหรัฐฯและจีน ยังคงไม่สามารถบรรลุข้อตกลงการค้าเฟสแรกร่วมกันได้ ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศคือกระบวนการไต่สวนนายทรัมป์ในเวลานี้
ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น 0.39% ที่ระดับ 108.4 เยน/ดอลลาร์ หลังจากที่ไปทำระดับแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 10 วันทำการ ท่ามกลางสภาวะ Risk-Off ที่ดูจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอ่อนตัว รวมไปถึงดาวโจนส์ และ Nasdaq และได้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าลง
รายงานจาก Financial Times เปิดเผยถึงการที่สหรัฐฯและจีนยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ก่อน 15 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันที่สหรัฐฯกำหนดให้มีผลบังคับใช้ต่อการปรับขึ้นภาษีสินค้าจีนรอบใหม่ และทางแหล่งข่าวยังระบุว่า ไม่เชื่อว่าจีนจะยอมต่อข้อเรียกร้องของสหรัฐฯอย่างเพียงพอในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและการเข้าซื้อสินค้าเกษตรเพิ่มเพื่อให้เกิดการถอนนโยบายเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจีนบางส่วน
นางแนนซี เปโลซี่ โฆษกสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า นายทรัมป์ ยอมรับถึงกรณีการติดสินบนระหว่างเจรจากับผู้นำยูเครนแล้ว จึงเป็นประเด็นที่นำไปสู่การไต่สวนนายทรัมป์ได้
ขณะที่เมื่อวานนี้ ข้อมูลดัชนีราคาผู้ผลิต PPI ของสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุดในรอบ 6 เดือน เมื่อเดือนต.ค.ที่ผ่านมา จึงช่วยสนับสนุนดอลาร์บางส่วน ประกอบกับตลาดยังตอบรับที่เฟดน่าจะไม่ทำการปรับลดดอกเบี้ยต่อในระยะสั้นๆนี้
ดัชนีดอลลาร์ล่าสุดทรงตัวที่ 98.163 จุด หลังจากที่ร่วงลงจากระดับ 98.37 จุดในช่วงต้นตลาด
· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวลดลงท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่จับตาไปยังการอ่อนตัวของข้อมูลเศรษฐกิจในแถบเอเชีย ควบคู่กับประเด็นความตึงเครียดทางการเมืองทั่วโลก รวมถึงความกังวลเรื่องความคืบหน้าล่าสุดกรณี Trade War
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับตัวลง 0.05% ที่ระดับ 1.815% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดรอบ 1 สัปดาห์ ขณะที่ผลตอบแทนอายุ 30 ปี ปรับตัวลงแตะ 2.299% ทางด้านผลตอบแทนระยะสั้น 2 ปีปรับตัวลงแตะ 1.591%
· ทางฝั่งยุโรปผลตอบแทนก็ปรับตัวลงทั่วเช่นกัน โดยที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนี ฝรั่งเศส และและเนเธอร์แลนด์ต่างก็ปรับตัวลงทำต่ำสุดรอบ 1 สัปดาห์ โดยเฉพาะของฝรั่งเศสที่เคลื่อนไหวสู่แดนลบหลังจากที่กลับมาปิดบวกได้เป็นครั้งแรกเมื่อเดือนก.ค. ทางด้านเยอรมนีผลตอบแทนร่วงลงแตะ -0.353% หลังจากที่สัปดาห์ก่อนทำ Low รอบ 3 เดือนครึ่งที่ -0.22% โดยเป็นผลจาก ข้อมูลจีดีพีเยอรมนีที่ขยายตัวได้เพียง 0.1%ในไตรมาสที่ 3%
· รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์จีน กล่าวว่า จีนยังคงเรียกร้องให้สหรัฐฯทำการยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการทำข้อตกลงเฟสแรก ท่ามกลางปัญหาสงครามการค้าที่ดูจะฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งเขาระบุเพิ่มเติมว่า Trade War มีจุดเริ่มต้นจากการขึ้นภาษี ดังนั้น การจะยุติ Trade War ก็ควรมาจากการยกเลิกการขึ้นภาษี และนี่เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะทำให้ทั้งสองประเทศสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้
· นางแนนซี เพโลซี หัวหน้าสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐฯ ระบุว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ยอมรับแล้วว่าเขามีการติดสินบนระหว่างการเจรจากับผู้นำยูเครน ซึ่งเป็นประเด็นที่รัฐสภาสามารถดำเนินการไต่สวนนายทรัมป์ได้
ทั้งนี้ นางแนนซีกล่าวถึงกรณีที่นายทรัมป์ได้จ่ายเงินช่วยเหลือยูเครนเป็นมูลค่า 391 ล้านเหรียญ เพื่อกดดันให้ผู้นำยูเครนยอมสืบสวนประวัติคู่แข่งทางการเมืองของนายทรัมป์ โดยเงินช่วยเหลือดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากสภาคองเกรส เพื่อนำไปช่วยเหลือพื้นที่ทางตะวันออกของยูเครนที่เกิดการประทะกับกองกำลังแบ่งแยกที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซีย
· พรรค Labour ในรัฐสภาอังกฤษเตรียมเปิดเผยรายละเอียดของนโยบายพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศให้เป็นระบบ “Full-fiber” และครอบคลุมไปยังพื้นที่ทุรกันดานทั่วอังกฤษภายในวันศุกร์นี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายหาเสียงของพรรค Labour สำหรับการเลือกตั้งวันที่ 12 ธ.ค.
โดยพรรค Labour จะร่วมมือกับบริษัท BT และดึงส่วนหนึ่งของบริษัทกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ต
· สภาพเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มมีสัญญาณขาลงอีกครั้ง และมีการสะท้อนว่านโยบาย “Abenomics” ที่ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจดูจะค่อยๆเบาบางลงไป โดยจะเห็นได้จากภาพรวมไตรมาสที่ 3/2019 อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอตัวลงทำระดับต่ำสุดในรอบปี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า และอุปสงค์ทั่วโลกที่เข้ากระทบกับภาคการส่งออก และทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าการหดตัวจะดำเนินต่อไปในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ จากภาษียอดขายที่สูงขึ้นและสงครามการค้าที่ขยายตัวเป็นวงกว้าง
ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จากรอยเตอร์ส ชี้ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจหดตัวลง 2.5% ในเดือนต.ค. - ธ.ค. และจะมีการรีบาวน์ได้ในไตรมาสต่อมาเพียง 0.6% ซึ่งถือเป็นการเติบโตที่แคบมากที่จะหลีกเลี่ยงการเผชิญภาวะถดถอย
· ฮ่องกงถูกคาดว่าจะยืนยันถึงภาวการณ์เข้าสู่เศรษฐกิจถดถอยเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีวันนี้ อันเป็นผลจากความกังวลว่าเศรษฐกิจฮ่องกงอาจเผชิญกับการเติบโตที่ย่ำแย่ อันเนื่องจากเหตุประท้วงที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยประมาณการณ์จีดีพีไตรมาสที่ 4 ในครั้งแรกนี้คาดจะเห็นการเติบโตของฮ่องกงหดตัวลงสู่ 3.2% ซึ่งจะเป็นการหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า
ขณะที่บรรดานักวิเคราะห์ประเมินว่าอาจเห็นสถานการณ์ประท้วงดิ่งลึกเป็นปัญหาระยะยาวได้ และจะทำให้เกิดการหดตัวของจีดีพีตั้งแต่ไตรมาสนี้ตลอดจนปีหน้า
· ราคาน้ำมันดิบปิดปรับตัวลงจากสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้นเกินคาด ขณะที่คาดการณ์จาก ฝโอเปกสะท้อนถึงภาวะเกินดุลในน้ำมันลดลงและเป็นปัจจัยบวกต่อน้ำมันดิบ Brent ได้บางส่วน โดยน้ำมันดิบ Brent ปิดลดลง 7 เซนต์ ที่ 62.30 เหรียญ/บาร์เรล ทางด้านน้ำมันดิบ WTI ปิดลดลง 35 เซนต์ หรือ -0.6% ที่ระดับ 56.77 เหรียญ/บาร์เรล
รายงานจาก EIA เผยว่า สต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับตัวขึ้นเกินคาด 2.2 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้ภาพของกำลังการผลิตที่ปรับขึ้น 200,000 บาร์เรล/วัน ทำภาพรวมรายสัปดาห์แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที 12.8 ล้านบาร์เรล/วัน ขณะที่การประกาศข้อมูลถูกเลื่อนมาเป็นเมื่อวานนี้เนื่องจากวันจันทร์ตลาดหยุดในวันทหารผ่านศึก