· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่จีนเซอร์ไพร์สตลาดด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ย reverse repo เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2015 กระตุ้นให้เกิดคาดการณ์ที่ว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งต่อไปกำลังจะมาถึง
โดยธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (PBOC) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นลงจาก 2.55% สู่ระดับ 2.50% ซึ่งก่อนหน้านี้เพียง 2 สัปดาห์พึ่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับเงินกู้ระยะปานกลางลง
จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทั้งระยะสั้นและระยะกลาง ทำให้เพิ่มโอกาสที่ธนาคารกลางจีนจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มาตรฐานใหม่อีกในไม่ช้า ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่สถานประกอบการใช้ เพื่อที่จะกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัว
จากข่าวดังกล่าวส่งผลให้ดัชนี Shanghai blue chips ปรับตัวสูงขึ้น 0.8% ด้านดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 0.3%
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการภาคบริษัทรและการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ขณะที่ Z Holdings และ Line Corp ปรับตัวสูงขึ้น 1.2% และ 2.2% ตามลำดับ หลังจากประกาศการควบรวมกิจการอย่างเป็นทางการ
โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.5% ที่ระดับ 23,416.76 จุด ด้านดัชนี Topix เพิ่มขึ้น 0.2% ที่ระดับ 1,700.72 จุด ท่ามกลางการปรับตัวสูงขึ้นของหุ้นกลุ่มวัฎจักร เช่น ยาและโทรคมนาคมเพิ่มขึ้น 1.3% และ 0.9% ตามลำดับ
· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวสูงขึ้นอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากเหล่านักลงทุนหวังว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวหลังจากการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางจีน
โดยดัชนี Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 0.6% ที่ระดับ 2,909.20 จุด
ธนาคารกลางของจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 2.5% ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งแรกในรอบกว่า 4ปีและส่งสัญญาณพร้อมที่จะกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัว
เหล่านักวิเคราะห์ ระบุว่า การปรับลดดอกเบี้ยลงแสดงให้เห็นว่าธนาคารกลางยินดีที่จะช่วยลดความกังวลของนักลงทุน เกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นของกลุ่มผู้บริโภคที่อาจเป็นปัจจัยกดดันที่จะไม่สามารถออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจได้
· ตลาดหุ้นยุโรปส่วนใหญ่เปิดปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางการที่ตลาดให้ความสนใจไปยังการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน โดยดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 1.2% ด้านหุ้นภาคธนาคารเพิ่มขึ้น 0.4% ขณะที่หุ้นกลุ่มยานยนต์และการก่อสร้าง รวมทั้งวัสดุ ลดลง 0.3%
อ้างอิงสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นายอุตตม สาวนายน รมว.คลังไทย กล่าวว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ติดตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอย่างใกล้ชิด หากมีความจำเป็นต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มก็ยังมีเวลาเหลืออีก 1 เดือนครึ่งก่อนปิดสิ้นปีนี้ เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่า 2.6% สำหรับการประมาณการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจปี 62 ของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่ระบุว่าไตรมาส 3/62 ขยายตัวที่ 2.4% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาส 2/62 ที่ขยายตัว 2.3% ถือว่าเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในระดับทรงตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ทำให้การส่งออกหดตัวลงอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังได้ออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการมาตั้งแต่ไตรมาส 3/62 ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปีนี้ หากสถานการณ์เศรษฐกิจในภาพรวมยังเป็นเช่นนี้ก็ต้องยอมรับว่าเป้าหมายอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ในปีนี้คงจะเติบโตได้ตามระดับที่ สศช. ประเมินที่ 2.6% ลดลงจากเป้าหมายเดิมที่ 2.8%
ล่าสุดกระทรวงการคลังได้เร่งรัดเม็ดเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปได้ตามแผน ซึ่งจะทำให้มีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาในไตรมาส 4/62 เข้ามาเพิ่มอีก 1 แสนล้านบาท เชื่อว่าจะเข้ามาช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น
- นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) คาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/62 จะเติบโตได้ดีขึ้นกว่าในไตรมาส 3/62 ที่เติบโต 2.4% เนื่องจากผลกระทบจากปัจจัยชั่วคราวน่าจะหมดไป ประกอบกับแนวโน้มการส่งออกที่คาดว่าจะเริ่มกลับมามีเสถียภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4/62 จะต้องขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 2.8% เพื่อให้ทั้งปีนี้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ 2.6% ตามที่สภาพัฒน์ได้ประมาณการไว้ล่าสุด
- อุปนายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยว่า ช่วงปลายปีนี้ ภาพรวมการซื้อขายทองคำในประเทศไม่คึกคักเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาเห็นได้จากปริมาณการซื้อทองคำรูปพรรณ ลดลงมาก เพราะบรรดาโรงงานต่างปิดกิจการ ลดค่าจ้าง ลดโอที งดทำงานพิเศษวันเสาร์-อาทิตย์ เพราะมีปัญหาเศรษฐกิจที่ยังมีแนวโน้มย่ำแย่ ส่งผลให้กำลังซื้อของลูกค้าที่เป็นลูกจ้างโรงงาน ที่เลือกซื้อทองรูปพรรณในช่วงเทศกาลพิเศษต่างๆ หายไป รวมทั้งลูกค้ากลุ่มเกษตรกรยังประสบปัญหาภัยแล้งและบางส่วนเกิดน้ำท่วมก็ไม่สนใจเลือกซื้อทองคำด้วยเนื่องจากต้องนำเงินไปใช้ในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและฟื้นฟูกิจการมากกว่า
- ผู้อำนวยการสำนักหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ช่วงปลายปีนี้ สบน.เตรียมออกพันธบัตรออมทรัพย์มูลค่า 20,000 ล้านบาท แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลเพื่อประชาชนทั่วไป วงเงิน 15,000 ล้านบาท และพันธบัตรรูปแบบใหม่อีกจำนวน 5,000 ล้านบาท เพื่อเน้นขายให้ผู้สูงอายุที่ต้องการออมเงิน ถือเป็นของขวัญให้ผู้สูงอายุในช่วงปีใหม่ โดยทั้งหมดจะเริ่มต้นขายที่หน่วยละ 1,000 บาท ซึ่งไม่จำกัดวงเงินซื้อขั้นสูง
- ธุรกิจดาวเทียมสื่อสาร หนึ่งในธุรกิจที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงและก้าวหน้าของชาติเป็นอย่างมาก เป็นที่จับตามองว่าปี 2564 เมื่อหมดสัมปทานดาวเทียมไทยคม และโอนทรัพย์สินกลับมาที่ภาครัฐคือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) แล้วหลังจากนั้นในก้าวต่อไป ประเทศไทยจะขับเคลื่อนแนวทางของดาวเทียมสื่อสารที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่สำคัญให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างไร หน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจบริการสื่อสารผ่านดาวเทียมของประเทศไทยมานานกว่า 5 ทศวรรษคือ บมจ. กสท โทรคมนาคม (CAT) นับเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีความพร้อมในการรับช่วงการดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสาร ซึ่งเป็นระบบโครงข่ายที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580)
- นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจไทยว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย (GDP)ในไตรมาส 3/61 ที่ขยายตัว 2.4% ถือว่าดีเมื่อเทียบกับหลายประเทศในโลก เพราะเศรษฐกิจของไทยใหญ่มากมีขนาดเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับเวียดนาม ซึ่งการรักษาโมเมนตัมเศรษฐกิจจึงไม่ใช่ของง่าย และมูลค่าการส่งออกคิดเป็น 60% ของ GDP ดังนั้น หากยังติดลบอยู่ก็เหนื่อยกันทุกคน ส่วนกรณีที่มีข่าวว่าฝ่ายค้านเตรียมหยิบยกเรื่องการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลขึ้นมาอภิปรายไม่ไว้วางใจในช่วงเดือน ธงค.นี้ นายสมคิด กล่าวว่า เรื่องเศรษฐกิจถือเป็นส่วนรวมของทั้งประเทศ เรื่องเศรษฐกิจพูดแต่ว่าไม่ดี หรือแย่ ความรู้สึกโดยส่วนรวมก็จะไม่ดีไปด้วย เมื่อความรู้สึกส่วนรวมไม่ดีแล้วไม่ว่าจะเป็นการบริโภคหรือการลงทุนก็จะชะลอตัว
- นายโทนี่ เฟอร์นันเดส ผู้ก่อตั้งสายการบินแอร์เอเชีย ได้แสดงความเห็นกับผู้สื่อข่าวว่า ผลกระทบของเหตุการณ์ประท้วงรุนแรงในฮ่องกงกำลังลุกลามไปถึงเขตบริหารพิเศษมาเก๊าและเมืองเซินเจิ้นของจีน เนื่องจากความต้องการเที่ยวบินไปยังมาเก๊าและเซินเจิ้นเริ่มลดน้อยลง
อ้างอิงจากสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
- สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย สำรวจข้อมูลกำไร บจ. งวด 9 เดือน รายบริษัท พบว่ามีถึง 184 บริษัทที่ผลกำไรลดดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีถึง 56 บริษัทที่มีกำไรลดดลง 50% โดย 20 บริษัทแรกที่กำไรลดดลงสูงสุดได้แก่
- บมจ.โพสโค-ไทยน๊อคซ์ (INOX) และ บมจ.เคมีแมน (CMAN) กำไรลดลงสูงสุด 98%YoY เท่ากัน โดยมีถึง 6 บริษัทที่กำไรลดลงมากกว่า 90%YoY
ขณะเดียวพบว่ามีกลุ่มหุ้นมาร์เก็ตแคปเกิน 1 หมื่นล้านบาทถึง 9 บริษัทที่กำไรลดลงมากกว่า 50% ประกอบด้วย
- บมจ.สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง (SPRC) กำไรลดลงสูงสุดในกลุ่มนี้ 97%YoY จากระดับ 6,144 ล้านบาท เหลือเพียง 166 ล้านบาท