· ค่าเงินดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนจากความหวังที่ข้อตกลงการค้าสหรัฐฯและจีนอาจจะเกิดขึ้นได้จึงบั่นทอนความต้องการในค่าเงินดอลลาร์ โดยเงินเยนแข็งค่า 0.11% ที่ 108.55 เยน/ดอลลาร์ ด้านยูโรแข็งค่ามาที่ 1.1067 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่ช่วงเช้าดอลลาร์ร่วงลงไปทำอ่อนค่ามากที่สุดรอบ 2 สัปดาห์
สำหรับดัชนีดอลลาร์ทรงตัวที่ 97.856 จุด ซึ่งเป็นระดับใกล้จุดต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐฯร่วงลงแตะ 1.8049% ในตลาดเอเชีย อีกทั้งยังทำระดับต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์จากความไม่แน่นอนที่เพิ่มมากขึ้น
ค่าเงินหยวนลงไปทำระดับแข็งค่ามากสุดรอบ 2 สัปดาห์เมื่อเทียบกับดอลลาร์ จากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับ Trade War สหรัฐฯและจีน โดยเงินหยวนแข็งค่ามาทำต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ 7.0295 หยวน/ดอลลาร์
ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์อ่อนค่าลงหลังจากที่ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้
ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่เล็กน้อยวานนี้จากการที่จีนกังวลเกี่ยวกับข้อตกลงการค้ากับสหรัฐฯ ที่ดูเหมือนการแก้ปัญหาของสองฝ่ายจะเป็นปัจจัยที่กระทบต่อเศรษกิจโลกด้วย
ค่าเงินดอลลาร์ยังมีแรงกดดันจากการที่นายทรัมป์พบกับนายโพเวลล์เมื่อวานนี้ และมีการตำหนิว่า เฟดยังลดดอกเบี้ยไม่เพียงพอ แม้ว่าการพบกันจะเป็นไปด้วยดีก็ตาม
ขณะที่ถ้อยแถลงของประธานเฟดเกี่ยวกับแนวโน้มดอกเบี้ยในอนาคตดูเหมือนจะไม่มีการปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น แต่นายทรัมป์ต้องการให้เฟดลดดอกเบี้ยมากขึ้นอีก เนื่องจากระดับดดอกเบี้ยยังอยู่สูงเกินไปสำหรับนโยบายเศรษฐกิจของเขา
· นักวิเคราะห์จาก FXStreet กล่าวว่า ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวใกล้ระดับ 108.6 เยน/ดอลลาร์ ท่ามกลางดอลลาร์ที่กลับอ่อนค่าหลังทรัมป์ทวิตเตอร์ต่อในเรื่องดอกเบี้ยของเฟด ขณะที่ข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่ไม่แน่นอนดูจะเป็นปัจจัยกดดันค่าเงินดอลลาร์
ในทางเทคนิค หัวหน้านักวิเคราะห์จาก FXStreet กล่าวว่า ค่าเงินเยนเผชิญแรงกดดันจึงทำให้ไม่สามารถยืนเหนือระดับเส้นค่าเฉลี่ยราย SMA 200 วันได้ ทำให้แข็งค่ากลับลงมาจากระดับ 109.07 เยน/ดอลลาร์ สู่ระดับ 108.5 เยน/ดอลลาร์
สำหรับภาพราย 4 ชั่วโมงเริ่มเห็น Indicators ส่งสัญญาณทรงตัวภายในกรอบ ขณะที่ภาพรายวันมีการสะสมพลังในกรอบระหว่าง SMA 100 วัน ซึ่งเป็นแนวรับบริเวณ 107.7 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่แนวต้านเป็นแนวเส้นค่าเฉลี่ย SMA 200 วัน แนว 109 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเงินเยนจำเป็นต้อง Break ด้านใดด้านหนึ่งจึงจะบอกถึงทิศทางที่ชัดเจนในนระยะยาวได้
โดยหากเงินเยนจะอ่อนค่าอีกครั้งต้องยืนได้เหนือ 109 เยน/ดอลลาร์ เพื่อกลับไปที่ 109.5 เยน/ดอลลาร์ ก่อนจะมีโอกาสเห็น 109.7 - 109.9 เยน/ดอลลาร์ ในทางกลับกันเงินเยนจะกลับมาแข็งค่าอีกครั้งต้องกลับลงมาทดสอบจุดต่ำสุดเดิมของสัปดาห์ที่แล้วบริเวณ 108.23 เยน/ดอลลาร์ จึงจะเห็นการกลับทดสอบระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ 108 เยน/ดอลลาร์อีกครั้ง
· นายแกรี โคห์น อดีตที่ปรึกษาระดับสูงประจำทำเนียบขาว มีความเห็นว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะเดินหน้าขึ้นภาษีจีนในวันที่ 15 ธ.ค. หากสหรัฐฯและจีนไม่สามารถลงนามในข้อตกลงร่วมกันได้กัน
นอกจากนี้ การที่นายทรัมป์จะเดินหน้าขึ้นภาษีจีน ส่วนหนึ่งเพื่อปกป้องความน่าเชื่อถือของเขาเอง จากการที่เขาเคยระบุว่าจะเดินหน้ากดดันการค้ากับจีน
ถ้อยแถลงของนายแกรี สอดคล้องกับนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะมีการขึ้นภาษีจีนรอบที่ 3 ในช่วงกลางเดือน ธ.ค. หากการลงนามในข้อตกลงการค้าไม่เกิดขึ้น
· เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากสถาบัน Pimco มีมุมมองว่า ข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน “เฟสแรก” จะได้รับการลงนามร่วมกันก่อนถึงเทศกาลคริสต์มาสปีนี้
โดยถึงแม้ทั้งสองฝ่ายจะยังมีปัญหาเกี่ยวกับการเข้าซื้อสินค้าการเกษตรจากสหรัฐฯ การบังคับส่งถ่ายเทคโนโลยี และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ น่าจะเล็งเห็นถึงความสำคัญของข้อตกลง ที่นอกเหนือจากเรื่องของการค้าแล้ว ยังสามารถสร้างความมั่นคงให้กับตลาด และเป็นรากฐานสำคัญให้กับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศในอนาคต (หรืออาจถูกกดดันโดยบรรดาบริษัทรายใหญ่ๆในสหรัฐฯ) ดังนั้นรัฐบาลสหรัฐฯน่าจะพยายามผลักดันให้การเจรจามีความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญในช่วงต้นเดือน ธ.ค. และลงนามร่วมกันก่อนถึงเทศกาลคริสต์มาส
· สภาล่างแห่งรัฐสภาญี่ปุ่นลงมติสนับสนุนข้อตกลงการค้าระยะสั้นระหว่างสหรัฐฯและญี่ปุ่น ที่จะปรับลดภาษีสินค้าของแต่ละฝ่ายภายในปี 2020 ซึ่งรวมสินค้าในกลุ่มการเกษตรจากสหรัฐฯ และเครื่องจักรจากญี่ปุ่น
ทั้งนี้ แม้จะยังไม่มีความชัดเจนว่าญี่ปุ่นมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจากับสหรัฐฯว่าจะยกเลิกภาษีทั้งหมดเมื่อไหร่ แต่นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้กล่าวยืนยันว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นแบบ Win-Win อย่างแน่นอน
ข้อตกลงดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการลงมติจากสภาสูงเป็นอันดับต่อไป แต่การที่สามารถผ่านการลงมติในสภาล่าง ซึ่งเป็นสภาที่มีอำนาจมากกว่ามาได้ โอกาสที่ข้อตกลงจะผ่านการลงมติและมีผลบังคับใช้จริงภายในเดือน ม.ค. จึงมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง
· ภาวะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่ดูจะฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจดูจะค่อยๆเลือนหายไปในปี 2020 ท่ามกลางการภาษีนำเข้าจากจีนที่มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น
ขณะที่ความคืบหน้าของข้อตกลงการค้าล่าสุดถูกคาดว่าจะช่วยบรรเทาผลกระทบดังกล่าว ทำให้ภาวะฉุดรั้งทางเศรษฐกิจเลือนหายไป อันจะส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจโลกด้วยในกรณีที่ไม่มีความตึงเครียดทางภาษีเกิดขึ้น
· รายงานจาก New York Times ระบุว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แนะจีนควรกลับเข้าซื้อสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯมูลค่าประมาณ 2 หมื่นล้านเหรียญอันเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง โดยลดมูลค่าลงเล็กน้อยจากที่เคยเรียกร้องให้เข้าซื้อ 5 หมื่นล้านเหรียญต่อปี
· ยอดขายรถยนต์ยุโรปเพิ่มสูงขึ้น 8.6% ในเดือนต.ค. ทำระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 2009 อันได้รับอานิสงส์ที่แข็งแกร่งจากเยอรมนีและฝรั่งเศส รวมทั้งการรีบาวน์กลับของความต้องการรถยนต์ยี่ห้อ Volkswagen ที่ปรับขึ้นกว่า 29%
รายงานจากสมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์ยุโรป (EFTA) เผยยอดลงทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นแตะ 1.214 ล้านคันในยุโรป รวมทั้งข้อตกลง EFTA
· หัวหน้าแผนก Reseach ประจำธนาคาร ING สาขาเอเชีย-แปซิฟิก มีมุมมองว่า ความไร้ซึ่งข่าวสารความคืบหน้าของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ถือเป็นข่าวดี
โดยเหลือเวลาประมาณ 25-26 วันก่อนที่การขึ้นภาษีของสหรัฐฯจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 ธ.ค. ขณะที่ดัชนีหุ้นของสหรัฐฯส่วนใหญ่ยังขยับสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้จะมีความลือว่าการเจรจากำลังประสบปัญหา บ่งชี้ว่าตลาดมีความเชื่อมั่นต่อโอกาสเกิดข้อตกลงที่แข็งแกร่ง
ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้เมื่อเข้าสู่เดือน ธ.ค. จะมีข่าวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเจรจาการค้าที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
· นางแครี แลม ผู้นำรัฐบาลฮ่องกง แสดงความหวังว่าเหตุการณ์ประทะกันระหว่างกองกำลังตำรวจและผู้ชุมนุมที่ติดค้างอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัย จะสามารถคลี่คลายลงได้ด้วยดี พร้อมเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติกับผู้ชุมอย่างมีมนุษยธรรม
ขณะที่สถานการณ์ในพื้นที่มหาวิทยาลัยล่าสุด มีกลุ่มผู้ชุมนุมยังตกค้างอยู่ในพื้นที่ประมาณ 100 คน ท่ามกลางการประทะที่ยืดเยื้อมากว่า 2 วัน ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน
· สัญญาน้ำมันดิบล่วงน้ำปรับตัวสูงขึ้นกว่า 2% เนื่องจากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ระดับสูงสหรัฐฯที่ระบุเกี่ยวกับมุมมองเชิงบวกที่เพิ่มขึ้นของข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน อย่างไรก็ดี ความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานที่เพิ่มขึ้นของน้ำมันยังเป็นปัจจัยที่กดดันราคาน้ำมันอยู่
น้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 1.6% ที่ระดับ 63.30 เหรียญ/บารืเรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 1.75 ที่ระดับ 57.72 เหรียญ/บาร์เรล
สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์น้ำมันดิบทั้งสองชนิดปรับตัวสูงขึ้นได้ โดย Brent เพิ่มขึ้น 1.3% และ WTI เพิ่มขึ้น 0.8%