· ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดปรับตัวลงท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ตอบรับกับข้อมูลที่ผสมผสานกันของความคืบหน้าทางการค้า โดยดัชนีดาวโจนส์ปิด -54.8 จุด หรือ -0.2% ที่ระดับ 27,766.29 จุด ทางด้าน S&P500 ปิด -0.16% ที่ 3,103.54 จุด และNasdaq ปิด -0.24% ที่ 8,506.21 จุด
ขณะที่ข้อมูลผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯเมื่อวานนี้ยังคงทรงตัว และบ่งชี้ถึงการอ่อนตัวบางช่วงของตลาดแรงงาน ขณะที่ยอดขายบ้านสหรัฐฯเพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือนต.ค. รวมทั้งราคาบ้านที่ปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบกว่า 2 ปี จากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำลงและภาวะขาดแคลนอุปทาน
ความไม่แน่นอนของ Trade War มีมากขึ้นจากการที่สภาคองเกรสผ่านร่างกฎหมายที่ดูจะสนับสนุกลุ่มผู้ประท้วง รวมทั้งเรื่องสิทธิมนุษยชนที่ดูจะเป็นการกล่าวเตือนจีน และสร้างความไม่พอใจให้แก่จีนไม่น้อย
แต่ก็ยังมีรายงานว่า ทางการจีนยังคงมีการเชิญให้เจ้าหน้าที่สหรัฐฯร่วมเจรจาหารือการค้ารอบใหม่แบบเผชิญหน้ากันที่กรุงปักกิ่ง
อย่างไรก็ดี ในวันก่อนหลังจากที่ดัชนีเกิดแรงเทขายก็เป็นผลมาจากรายงานที่ว่า ข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนในเฟสดแรกอาจไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในปีนี้
· หุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงจากความไม่แน่นอนของสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและจีน ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในฮ่องกงเวลานี้ จึงจุดประกายความกังวลว่าข้อตกลงเฟสแรกระหว่างทั้งสองฝ่ายอาจกินเวลาไปจนถึงปี 2020
ดัชนี Stoxx600 ปิด -0.4% ท่ามกลางหุ้นส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวแดนลบ ขณะที่หุ้นกลุ่มทรัพยากรที่มีความเกี่ยวข้องกับจีนร่วงลงกว่า 1.5%
· ตลาดหุ้นเอเชียทรงตัวในวันนี้ หลังจากปรับตัวลดลงในสัปดาห์นี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับประเด็นการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน
โดยเช้านี้ดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.18% ขณะที่ดัชนี Topix ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ด้านดัชนี Kospi เคลื่อนไหวทรงตัว ท่ามกลางดัชนีบริษัท Hankook Tire & Technology ร่วงลงกว่า 0.5% หลังรายงานจาก Reuters นำข่าวจากสำนักข่าว Yonhap News Agencey มาเปิดเผยว่า CEO ของบริษัทถูกจับกุมในข้อหาการรับสินบน
ทั้งนี้ ตลาดค่อนข้างมีความผันผวนตามประเด็นข่าว Trade War ในเวลานี้
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ระหว่าง 30.15-30.25 บาท/ดอลลาร์ ท่ามกลางตลาดที่ให้ความสนใจไปยังประเด็นเรื่องสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน ซึ่งมีประเด็นสถานการณ์ฮ่องกงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหลังวุฒิสภาสหรัฐฯผ่านร่างกฏหมายสนับสนุนผู้ประท้วงในฮ่องกง ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยและตลาดพันธบัตร
- สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือน ต.ค. 62 โดยการส่งออกมีมูลค่า 20,757.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว -4.54% เมื่อเทียบกับ ต.ค.61 ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 20,251.3 ล้านเหรียญ หดตัว -7.57% ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 506.5 ล้านเหรียญ ฐานในปีก่อนต่ำมากมีมูลค่าเพียง 19,400 ล้านเหรียญเท่านั้น จึงคาดว่าเดือน ธ.ค.ของปีนี้มูลค่าส่งออกน่าจะทำได้มากกว่า 20,000 ล้านเหรียญ
- นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีของไทย ระบุว่า เศรษฐกิจที่น่าเป็นห่วงที่สุดตอนนี้คือเรื่องความเชื่อมั่น ซึ่งเศรษฐกิจปีนี้เป็นปีที่สำคัญต้องไม่ให้แรงส่งในการสนับสนุนขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอตัวมากเกินไป เพื่อที่จะได้เพียงพอในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีหน้าและระยะต่อไปได้
- อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศของไทย เปิดเผยหลังงานสัมมนาเผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง "ผลกระทบจากการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป" ที่ร่วมกับสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (ไอเอฟดี) ว่า การจัดทำเอฟทีเอไทย-อียู โดยการลดภาษีนำเข้าสินค้าทุกรายการของทั้ง 2 ฝ่ายจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไทยเพิ่มขึ้น 1.63% อัตราเงินเฟ้อลดลง 0.41% การส่งออกเพิ่มขึ้น 3.43% การนำเข้าเพิ่มขึ้น 3.42% การลงทุนเพิ่มขึ้น 2.74% ตลอดจนตัวเลขด้านเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น สวัสดิการสังคมเพิ่มขึ้น 3.6 พันล้านเหรียญ การบริโภคครัวเรือนเพิ่มขึ้น 1.32% และจำนวนคนจนลดลง 3.9 แสนคน เป็นต้น