· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลต่อสงครามการค้าสหรัฐฯและจีน หลังจากที่นายทรัมป์ตัดสินใจลงนามกฎหมายสนับสนุนผู้ประท้วงฮ่องกง ส่งผลให้บรรดานักกฎหมายกล่าวเตือนว่า กฎหมายสิทธิมนุษยชนอาจยิ่งสร้างความวุ่นวายให้แก่ฮ่องกง
โดยดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่น ลดลงมากกว่า 1%
ขณะที่ตลาดถูกแรงเทขายเนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลกระทบจากกฎหมายฮ่องกงของสหรัฐฯ ว่าจะมีผลกระทบต่อการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนหรือไม่
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการออกกฎหมายของสหรัฐฯที่หนุนหลังผู้ประท้วงในฮ่องกง อาจทำให้เกิดข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนในอนาคต
โดยดัชนี Nikkei ลดลง 0.5% ที่ระดับ 23,293.91 จุด อย่างไรก็ดี ภาพรวมรายเดือนเพิ่มขึ้น 1.6% สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์เพิ่มขึ้น 0.8% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 สัปดาห์
ด้านดัชนี S&P 500 mini futures ลดลง 0.3% ท่ามกลางตลาดนิวยอร์กที่ปิดทำการในวันพฤหัสบดีเนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า และนักลงทุนจำนวนมากเข้าชะลอการลงุทนในวันนี้ เพื่อรอดูว่าผลกระทบจากกฎหมายฮ่องกงของสหรัฐฯ ว่าจะส่งผลต่อการเจรจาการค้ากับจีนหรือไม่
· ตลาดหุ้นจีนปิดลบ ท่ามกลางแรงกดดันจากความไม่แน่นอนของโอกาสเกิดข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน โดยดัชนี Shanghai Composite -0.6% ที่ระดับ 2,871.98 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน หรือของวันที่ 28 ส.ค. ขณะที่ดัชนี Blue-chip CSI300 ปิด -0.9% ที่ระดับ 3,828.67 จุด
สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์ ดัชนี Shanghai Composite ปิด -0.5% ส่วน ดัชนี Blue-chip CSI300 ปิด -0.6% และยังเป็นการปรับลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลง ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯกับจีน หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯทำการลงนามกฎหมายที่สนับสนุนกลุ่มผู้ประท้วงในฮ่องกง
โดยดัชนี Stoxx600 ลดลง 0.4% ขณะที่หุ้นทรัพยากรลดลง 0.9% ด้านหุ้นสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้น 0.3% เนื่องจากตลาดภูมิภาคเคลื่อนไหวในแดนบวก
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงภาวะเศรษฐกิจและการเงินเดือน ต.ค.62 พบว่า เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยการส่งออกสินค้าหดตัวต่อเนื่องตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทคู่ค้า สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมและเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐกลับมาหดตัวตามรายจ่ายลงทุน
อย่างไรก็ดี เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน โดยได้รับผลดีชั่วคราวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และภาคการท่องเที่ยวขยายตัวดีต่อเนื่อง
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงจากเดือนก่อนตามอัตราเงินเฟ้อในหมวดพลังงานเป็นสำคัญ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัว สำหรับอัตราการว่างงานที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน ตามจำนวนผู้มีงานทำในภาคเกษตรกรรมที่เพิ่มขึ้น ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงตามดุลการค้า ขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิจากด้านสินทรัพย์
- นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการหารือกับนางแคร์รี หล่ำ ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกงว่า การประชุมวันนี้เป็นการดำนินการของทั้งสองฝ่ายเพื่อสร้างสรรค์อนาคตที่สดใสท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยตนเองและนางแคร์รี หล่ำ ได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมายและวางแนวทางความร่วมมือระหว่างกันสำหรับหน่วยงานและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ้าย
อย่างไรก็ดี ผลลัพธ์ของการประชุมจะมีความคืบหน้าได้อย่างแท้จริงและเป็นรูปธรรมหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่จะต้องเร่งรัดการทำงานร่วมกันและเก็บเกี่ยวโอกาสและผลกระโยชน์ที่ทั้งสองฝ่ายได้วางแนวทางได้ในวันนี้ เพื่อความก้าวไกล ก้าวหน้าและยั่งยืนของไทยกับเขตบริหารพิเศษฮ่องกง รวมทั้งอนุภูมิภาคและภูมิภาคต่อไป