* ธนาคารกลางทั่วโลกมีการสะสมทองคำเป็นประวัติการณ์
* Credit Suisse MD และ เฟดมอง เฟดจะเริ่มใช้นโยบาย QE ครั้งใหม่
* ความเปราะบางมากขึ้นของธนาคารดูจะส่งผลให้นักลงทุนทำการเพิ่มทองคำในพอร์ต
ธนาคารกลางมีการซื้อทองเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์
หลังจากที่เผชิญภาวะขายสุทธิมาในช่วงกว่า 10 ปี ธนาคารกลงต่างๆก็เริ่มที่จะมีการเข้าซื้อทองคำสุทธิมากขึ้นตั้งแต่ปี 2010
และยังเห็นถึงการเข้าซื้อทองคำอย่างต่อเนื่องในปี 2019 โดยอ้างอิงจากรายงานของ WGC หรือสภาทองคำโลก ระบุว่า ในช่วง 6 เดือนแรกบรรดาธนาคารกลางต่างๆมีการซื้อทองคำเพิ่ม 374.6 ตัน และยังสะท้อนถึงการที่ธนาคารกลางต่างๆมีการเข้าซื้อทองคำเพิ่มตั้งแต่ช่วงนั้น
โดยการเข้าซื้อมากที่สุดคือ ตุรกี ที่มีการสำรองทองคำเพิ่มมากถึง 12.8 ตันในเดือนต.ค. ทำให้มียอดรวมอยู่ที่ 144.8 ตัน และเรียกได้ว่ามีการสำรองทองคำเพิ่มขึ้น 2 เดือนติด
ในเดือนก.ย. ธนาคารกลางเยอรมนีมีการถือครองทองคำเพิ่มเป็นครั้งแรกในรอบศตวรรษ แม้ว่าประเทศโปแลนด์ และฮังการีจะเริ่มต้นสำรองทองคำเพิ่มขึ้นก็ตาม
รายงานจาก Bloomberg Intelligence ในสัปดาห์ที่แล้ว ระบุว่า บรรดาธนาคารกลางต่างๆมีการเข้าซื้อทองคำเพิ่ม 59 ตัน ในปีนี้ ซึ่งถือเป็นการเข้าซื้อสูงสุดในรอบ 50 ปี
ผลที่ตามมา ความต้องการเพิ่มการสำรองทองคำของธนาคารกลางต่างๆ ดูเหมือนจะมีแนวโน้มช่วยให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นจากระดับปัจจุบันได้
การใช้ QE หรือมาตรการผ่อนคลายทางการเงินจะช่วยให้ทองคำน่าดึงดูดมากขึ้น
อ้งอิงจากกรรมการผู้จัดการจาก Credit Suisse ที่มองว่า เฟดมีแนวโน้มจะอัดฉีดเม็ดเงินเพิ่มสำหรับการผ่อนคลายทางการเงินครั้งใหม่ (QE) เนื่องจากเชื่อว่าระดับอัตราดอกเบี้ย Repo Rate ในปัจจุบันจะไม่เพียงพอกับสภาพคล่องและความต้องการจากบรรดาภาคธนาคารต่างๆ และบังคับให้เฟดจำต้องกลับมาใช้ QE โดยเร็วที่สุดคือเดือนหน้า
สำหรับยอดงบดุลบัญชีของเฟด (Balance Sheet) ดูจะขยายตัวเร็วที่สุดนับตั้งแต่ที่ประสบภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในปี 2008 จึงมีแนวโน้มที่จะเห็นเฟดเลือกใช้ QE4
ทุกๆการใช้ QE นั่นหมายถึงการที่เราจะเห็นได้ถึงภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวลง และนั่นหมายความว่ามีแนวโน้มที่จะเห็นราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นได้
ความไม่มีเสถียรภาพของระบบธนาคารใน 2 ประเทศสำคัญ
ในปี 2019 ดูจะมีสัญญาณเพิ่มขั้นต่อระบบภาคธนาคารในจีน โดยมี 5 กรณีที่เกิดขึ้นในปีนี้ และมี 2 ธนาคารที่จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือเมื่อเดือนพ.ย.
ขณะที่ธนาคาร PMC ของอินเดีย ที่ประสบปัญหาทางการเงินก็ดูจะบังคับให้ธนาคารกลางอินเดียต้องทำการกำหนดวงเงินเบิกถอนที่ 1,000 รูปีเป็นระยะเวลา 6 เดือน เช่นเดียวกับธนาคาร Yes Bank ของอินเดียที่ประสบภาวะ Ba Loans เกือบ 500 ล้านเหรียญ
และปัญหาของภาคธนาคารกลางในอินเดียและจีนซึ่งถือเป็นผู้บริโภคทองคำรายใหญ่ของจีน ดูจะทำให้นักลงทุนกลุ่ม Wealth เลือกถือครอง “ทองคำ” มากขึ้น
สรุปได้ว่า ภาพรวมทองคำในปี 2019 ยังมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นและยังมีโอกาสดีที่เราจะเห็นทองคำปรับตัวขึ้นได้ต่อในปีหน้า
ที่มา: CCN