· ดัชนี S&P500 และดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงเล็กน้อยก่อนเข้าสู่ช่วงวันหยุดคริสต์มาส ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ชะลอการซื้อขายหลังจากที่ดัชนีพุ่งขึ้นทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อันได้รับแรงหนุนจากความสัมพันธ์ทางการค้าที่ดีขึ้นระหว่างสหรัฐฯและจีน โดยภาพรวมตลาดหุ้นสหรัฐฯปีนี้ปรับตัวขึ้นได้อย่างดีที่สุดนับตั้งแต่ปี 2013
ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 36.08 จุด หรือ -0.13% ที่ระดับ 28,515.45 จุด ทางด้าน S&P500 ปิด -0.02% ที่ 3,223.38 จุด ขณะที่ Nasdaq ยังปิดปรับขึ้น +0.08% ที่ 8,952.88 จุด
· บทความจาก Marketpulse ระบุว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯเข้าสู่วันหยุดในเทศกาลคริสต์มาส ท่ามกลางการซื้อขายในช่วงก่อนปิดตลาดที่เบาบาง ขณะที่ดัชนี S&P 500 ยังคงทิศทางขาขึ้นได้ก่อนปิดตลาด และหากยังคงทิศทางขาขึ้นต่อได้ ดัชนีจะมีโอกาสปรับขึ้นได้อีก 1.3% ในช่วง 7 วันทำการข้างหน้า
สำหรับภาพรวมตลาดปี 2020 ตลาดหุ้นสหรัฐฯมีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้นได้ เนื่องจากตลาดเชื่อมั่นว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ย ตลาดเครดิตอยู่ภาวะที่สดใส ภาคการบริโภคที่แข็งแกร่ง และความผ่อนคลายในสงครามการค้า
· ตลาดหุ้นยุโรปทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ก่อนเข้าสู่วันหยุดคริสต์มาส เนื่องจากตลาดมีมุมมองที่ดีต่อทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2020 จากความคืบหน้าในการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน โดยดัชนี STOXX 600 ปิด +.012%
· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้น หลังจากวันคริสต์มาส ขณะที่ตลาดออสเตรเลียและฮ่องกงยังปิดทำการเนื่องในวันหยุด
เช้านี้ดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.55% ด้านดัชนี Topix ปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกัน 0.44% ขณะที่ด้าน Kospi เกาหลีใต้ ฟื้นตัว 0.19% หลังจากที่ปรับลดลงในช่วงก่อนหน้านี้ เนื่องจากหุ้นบริษัท Samsung Electronics ปรับตัวสูงขึ้น 0.36%
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นักบริหารการเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไว้ที่ระหว่าง 30.10-30.20 บาท/ดอลลาร์ต่อไป เนื่องจากยังไร้ปัจจัยใหม่ อาจจะต้อง รอตลาดสหรัฐจะกลับมาเปิดทำการตามปกติ
- สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย (สศอ.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพ.ย. 62 อยู่ที่ 96.77 หดตัว 8.27% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และอยู่ในระดับที่ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า สาเหตุหลักจากผลกระทบสงครามการค้าที่ทำให้เศรษฐกิจ โลกชะลอตัว
- ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 63 (ต.ค. – พ.ย. 62) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ จำนวน 413,589 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 6,349 ล้านบาท หรือ 1.6% และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 18,655 ล้านบาท หรือ 4.7%
- กระทรวงการคลัง เตรียมตั้งคณะกรรมการ เป็นคณะทำงานถาวรดูแลเศรษฐกิจ เพื่อทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูล ระดมความ คิดในด้านต่างๆ เพื่อผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไปได้ และจะมีมุมมองถึงการดำเนินการในระยะยาว
- ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ระบุว่า การลดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อในปี 63 ของไทยลงสะท้อนว่าคณะกรรมการนโยบาย การเงิน (กนง.) เห็นความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะทรงตัวอยู่ในระดับต่ำชัดเจนมากขึ้น และอาจเป็นสัญญาณว่า กนง.จะปรับเปลี่ยนนโยบายการ เงินเพื่อความเหมาะสมต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพราคาของไทยมากขึ้น
- อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เผยมูลค่าการค้าชายแดนและผ่านแดนของไทย 11เดือนของปี 62 (ม.ค.-พ.ย.) มี มูลค่ารวม ทั้งสิ้น 1,231,862 ล้านบาท ลดลง 2.97% โดยมีปัจจัยกระทบจากค่าเงินบาทแข็งตัวมากขึ้น ปัญหาของเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนยังคงยืดเยื้อ ความไม่มีเสถียรภาพของค่าเงินของแต่ละประเทศ รวมถึงไทยและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค โดยการค้าด้านมาเลเซีย การส่งออกยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง อาทิ กลุ่มสินค้ายางพารา/ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องคอมพิวเตอร์
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ไทย อาจจะปิดสิ้นปี 62 ที่ระดับต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่3.5% โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการชะลอตัวของสินเชื่อภาคธุรกิจมากกว่าที่คาดไว้ จากปัจจัยแวดล้อมของเศรษฐกิจและการเมืองทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่ ปี 63 ประมาณการสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยที่ 3.0-3.8%