· ตลาดหุ้นสหรัฐฯในสมัยของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ สามารถปรับสูงขึ้นได้มากที่สุดเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของประธานาธิบดีคนก่อนๆ
โดยข้อมูลจากสถาบัน Bespoke Investment Group ระบุว่า ดัชนี S&P 500 ได้ให้ผลตอบแทนมากกว่า 50% นับตั้งแต่นายทรัมป์ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง มากกว่าค่าเฉลี่ยของประธานาธิบดีคนก่อนๆที่ 23% กว่าเท่าตัว โดยวัดเฉพาะช่วง 3 ปี 3 แรกของการรับตำแหน่งเท่านั้น ส่วนดัชนีในปีนี้สามารถปรับขึ้นได้ถึง 28% มากกว่าค่าเฉลี่ยที่ 12.8% จึงถือเป็นปีที่ดัชนีมีผลประกอบการที่ดีสุดในสมัยของนายทรัมป์
· ตลาดหุ้นเอเชียทำระดับสูงสุดในรอบ 18 เดือน ขณะที่ราคาน้ำมันยังเคลื่อนไหวในระดับสูง ท่ามกลางมุมมองเชิงบวกและความหวังว่าสหรัฐฯ-จีนจะสามารถลงนามในข้อตกลงร่วมกันได้ในเร็วๆนี้
นอกจากนี้ นักลงทุนบางส่วนที่กลับมาจากวันหยุดในเทศกาลคริสต์มาส ได้ตอบรับกับรายงานข่าวเมื่อวาน ที่จีนระบุว่ายังรักษาการเจรจาที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯและกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินขั้นตอนสำคัญที่จะนำไปสู่การลงนามร่วมกัน ตอกย้ำถ้อยแถลงของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ระบุว่าสหรัฐฯและจีนจะลงนามกันในเร็วๆนี้
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับสูงขึ้น 0.7% ที่ระดับ 555.42 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งตาช่วงกลางปี 2018 สำหรับภาพรวมปีนี้ ดัชนีปรับขึ้นมาได้แล้ว 16%
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดลบ แต่ภาพรวมตลาดยังสดใสและมีแนวโน้มปิดตลาดรายปีได้ด้วยอัตราที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2017 ท่ามกลางความผ่อนคลายในสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน
โดยดัชนี Nikkei ปิด -0.36% ที่ระดับ 23,837.72 จุด ซึ่งการปรับลดลงของดัชนีในวันนี้เกิดจากการที่หุ้น Fast Retailing ที่มีน้ำหนักในดัชนีมากถึง 10% ปรับลดลง จึงกดดันภาพรวมของดัชนี
ทั้งนี้ ดัชนี Nikkei ยังเคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 14 เดือน ที่ 24,901 จุด ซึ่งขึ้นไปได้เมื่อต้น ธ.ค. และเนื่องจากตลาดปีนี้เหลือวันทำการอีกเพียงวันเดียว ดัชนีจึงมีแนวโน้มที่จะปิดด้วยผลประกอบการรายไตรมาสที่ดีที่สุดในรอบ 2 ปี
· ตลาดหุ้นจีนพลิกกลับมาปิดตลาดในแดนลบ หลังจากที่ปรับขึ้นได้ในช่วงต้นตลาดเกือบ 1% ท่ามกลางหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ปรับลดลง แต่ดัชนีหลักยังสามารถปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกได้ โดยดัชนี Blue-chip CSI300 ปิด -0.1% ที่ระดับ 4,022.03 จุด ภาพรวมรายสัปดาห์ปรับขึ้นได้ 0.1% ขณะที่ดัชนี Shanghai Composite ปิด -0.1% ที่ระดับ 3,005.04 จุด ภาพรวมรายสัปดาห์ปรับขึ้นได้เล็กน้อย
· ตลาดหุ้นยุโรปเปิดผสมผสาน ตามหลังตลาดหุ้นเอเชียและสหรัฐฯที่ปิดในแดนบวก โดยตลาดให้ความสนใจไปยังความคืบหน้าของการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีนเป็นหลัก ขณะที่นักลงทุนบางส่วนเริ่มกลับเข้าหาสินทรัพย์เสี่ยงนับตั้งแต่ที่มีประกาศว่าสามารถบรรลุข้อตกลงเฟสแรกได้ และกำลังอยู่ในระหว่างกระบวนการแปลเนื้อหาของข้อตกลง โดยอาจลงนามอย่างเร็วที่สุดภายในช่วงต้นเดือน ม.ค.
· นักวิเคราะห์จาก DailyFX ระบุว่า ตลาดหุ้นค่อนข้างเงียบเหงา แต่ตลาดก็ดูจะยังตอบรับกับปัจจัยบวกอย่างนโยบายผ่อนคลายทางการเงินและ Trade War ระหว่างสหรัฐฯและจีนที่ดูจะแย่ลงไปกว่านี้ จึงทำให้เราเห็นตลาดหุ้นสหรัฐฯค่อนข้างสดใส และดัชนีดาวโจนส์ปีนี้ให้ผลตอบแทนกว่า 22% และมีทิศทางปรับขึ้นโดยตลอด
ดัชนีดาวโจนส์ยังคงทำ All-Time High ควบคู่กับหุ้นกลุ่ม Blue Chip ที่ปรับตัวขึ้นเป็นประวัติการณ์กว่า 4% ในเดือนธ.ค. โดยดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นได้จากสัญญาณบ่งชี้อย่าง Bollinger Band ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นราคาหุ้นสหรัฐฯปรับขึ้นได้มากกว่านี้ และภาพทางเทคนิคก็ยังสนับสนุนขาขึ้น ซึ่งหากดัชนีดาวโจนส์ยืนเหนือเส้น Fibonacci Extension 141.4% ได้ก็มีโอกาสกลับขึ้นทดสอบเป้าหมายของเส้น Fibonacci ที่ 161.8%
อ้างอิงจากเทพธุรกิจ
- พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประชุมร่วมกับ 4 หน่วยงาน คือ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อกำหนดกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.ที่ผ่านมา
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการควบคู่กันไป ในช่วงที่รองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 มีผลบังคับใช้ ซึ่งงบประมาณถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ เพื่อให้ประเทศเดินไปข้างหน้าได้ ดังนั้น จะต้องอธิบายและชี้แจงเหตุผลการใช้จ่ายให้ได้ เพราะวันนี้สถานการณ์ภายนอกจับจ้องว่ายังเหมือนเดิมหรือไม่ หากไม่เหมือนเดิม มีความแตกต่างอย่างไรต้องชี้แจงให้ได้ด้วย
- นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้หารือการจัดทำกรอบงบประมาณในปีงบประมาณ 2564 มีกรอบวงเงิน 3.3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงบประมาณปี 2563 จำนวน 1 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3.1% โดยเป็นงบประมาณขาดดุล 5.23 แสนล้านบาท และประมาณการจัดเก็บรายได้ภาครัฐอยู่ที่ 2.77 ล้านล้านบาท
สำหรับรายจ่ายเพื่อการลงทุนมีสัดส่วนอยู่ที่ 21% ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 หรือคิดเป็นวงเงินงบประมาณอยู่ที่ 6.93 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงบประมาณปี 2563 หรือเพิ่มขึ้น 0.5% เพิ่มขึ้น 37,100 ล้านบาทจากงบประมาณลงทุนที่ตั้งไว้ในปี 2563
การจัดทำกรอบงบประมาณครั้งนี้อยู่บนสมมติฐานจีดีพีขยายตัวได้ 3.1-4.1% อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 0.7-1.7%
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดว่าปี 63 ภาคการส่งออกจะขยายตัวมากถึง 2.6% จากปีนี้ที่เฉลี่ยแล้วขยายตัวติดลบ 2.5% เนื่องจากปัจจัยภายนอกประเทศที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทยอาจเริ่มคลี่คลายลง โดยเฉพาะสงครามการค้าซึ่งจะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยปีหน้าให้เติบโตขึ้นถึง 3.3% และ สศค.จะปรับประมาณการเศรษฐกิจใหม่เดือน ม.ค.63