· เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยกลุ่มนักลงทุนทำการปิดสถานะทำกำไรจากการที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นได้ตลอดเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่สหรัฐฯและจีนบรรลุข้อตกลงการค้าร่วมกัน โดยดัชนีดาวโจนส์, S&P500 และ Nasdaq ต่างก็ปิดปรับลงระดับวันที่มากที่สุดในรอบ 4 เดือน
ดัชนีดาวโจนส์ปิด -183.12 จุด หรือ -0.64% ที่ 28,462.14 จุด ทางด้าน S&P500 ปิด -0.58% ที่ 3,221.29 จุด และ Nasdaq ปิด -0.67% ที่ 8,945.99 จุด
· สำหรับเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. ตลาดหุ้นสหรัฐฯก็ปรับตัวสูงขึ้นได้อีกครั้งจากมุมมองการค้าเชิงบวกที่สุดใสขึ้น โดยดัชนีดาวโจนส์ปรับขึ้น 76.3 จุด หรือ +0.27% ที่ 28,538.44 จุด ขณะที่ S&P500 ปรับขึ้นมา 0.29% ที่ 3,230.78 จุด และ Nasdaqปรับขึ้น 0.3% ที่ 8,972.6 จุด
นอกจากนี้ เมื่อวานตลาดหุ้นสหรัฐฯยังตอบรับกับปัจจัยบวกที่ว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสรัฐฯ มีการทวิตเตอร์ข้อความที่ระบุว่า สหรัฐฯและจีนจะลงนามข้อตกลงในวันที่ 15 ม.ค.นี้ ที่ทำเนียบขาว จึงจุดประกายกระแสคาดการณ์เกี่ยวกับการเกิดข้อตกลงการค้าขั้นต้นที่จะลุล่วงได้ในช่วงต้นปี 2020 และข่าวดังกล่าวได้ช่วยบดบังข่าวที่ว่าสถานทูตสหรัฐฯในแบกแดดยิงแก๊สน้ำตาสกัดม็อบอิรักพยายามบุกสถานทูต เหตุไม่พอใจทัพสหรัฐโจมตีกลุ่มกาตาอิบ เฮสบอลเลาะห์ (KH)
อย่างไรก็ดี ในรอบทศวรรษดัชนี S&P500 ปรับขึ้นได้เกือบ 190% โดยปรับขึ้นได้ 189.72% ทางด้านดาวโจนส์ในรอบ 10 ปีปรับขึ้นได้ 173.67% และNasdaq ช่วง 10 ปี ปรับขึ้นมา 295.42% ขณะเดียวกันเฉพาะในปี 2019 ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปรับตัวขึ้นรายปีได้มากที่สุดตั้งแต่ปี 2013 ที่ +28.9% และ 35.24% ตามลำดับ ด้านดัชนีดาวโจนส์ปิดปี 2019 ได้ดีที่สุดตั้งแต่ปี 2017 ที่ +22.33% และทำให้ภาพของปี 2019 นั้น ตลาดหุ้นสหรัฐฯอยู่ในทิศทางขาขึ้นและมีการทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ยาวนานที่สุด
สำหรับเดือนธ.ค.ที่ผ่านมาถือเป็นเดือนที่มีอัตราเปอร์เซ็นต์การปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุดตั้งแต่ปี 2010 โดยดัชนีดาวโจนส์ปิด +1.73% ด้าน S&P500 ปิด +2.87% และ Nasdaq ปิด +3.56%
การปิด Q4/2019 พบว่า ดัชนีดาวโจนส์ปรับขึ้นได้ +6.02% ขณะที่ S&P500 ปรับขึ้นมา +8.55% และ Nasdaq ปิด Q4 ที่ +12.18%
· ตลาดหุ้นจีนปิดปี 2019 ในแดนบวก แม้ว่าหุ้นเอเชียอื่นๆจะไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆมากนักและปิดทำการเร็วกว่ากำหนดในช่วงวันหยุดปีใหม่ โดยดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปิดวันที่ 30 ธ.ค. ที่ +0.33% บริเวณ 3,050.12 จุด และดัชนีเสิ่นเจิ้น คอมโพสิตปิด +0.55% ที่ 1,722.95 จุด
สำหรับภาพรวมปี 2019 ที่ผ่านมาดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปรับขึ้นได้กว่า 22% และดัชนีเสิ่นเจิ้นปรับขึ้นได้กว่า 35%
· ตลาดหุ้นออสเตรเลียปรับตัวลงในวันทำการแรกของปีก่อนทราบข้อมูลผลสำรวจกิจกรรมภาคการผลิตของภาคเอกชนจีนประจำเดือนธ.ค. โดยดัชนี S&P/ASX200 เปิด -0.17% ขณะที่หุ้นเกาหลีใต้เปิดอ่อนตัวลงจากรายงานที่ยอดส่งออกในประเทศปรับตัวลง 5.2% เมื่อเทียกับช่วงต้นปี
กลุ่มนักลงทุนรอคอยรายงานจาก Caixin/Markit ทีจะประกาศในช่วง 08.45น. ตามเวลาประเทศไทย ขณะที่ตลาดญี่ปุ่นปิดทำการในวันนี้ต่อเนื่องจากยังเป็นวันหยุดเทศกาล
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นักบริหารเงินคาดว่าเงินบาทวันนี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.00-30.15 บาท/ดอลลาร์ โดยตลาด ยังรอความชัดเจนเกี่ยวกับสถานการณ์การค้าระหว่างจีนและสหรัฐ และในช่วงวันหยุดยังไม่มีตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ
- กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 30.10-30.25 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับระดับปิดแข็งค่าที่ 30.15 บาท/ดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยเงินบาทเข้าทดสอบระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 6 ปีอีกครั้ง
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า เศรษฐกิจไทยเดือนพฤศจิกายน 2562 ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยการส่งออกสินค้าหดตัวต่อเนื่องตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเป็นสำคัญ ส่งผลให้การนำเข้าสินค้า การผลิตภาคอุตสาหกรรม และเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัวสอดคล้องกัน สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐหดตัวทั้งจากรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน ด้านเครื่องชี้การบริโภคเอกชนยังอยู่ในทิศทางชะลอตัว โดยมาตรการภาครัฐมีส่วนช่วยพยุงกำลังซื้อบางส่วน ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวต่อเนื่อง
- ธปท. คาดว่าแนวโน้มการส่งออกของไทยในเดือนธ.ค.62 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปีจะดีขึ้นกว่าเดือนที่แล้ว โดยน่าจะติดลบน้อยลง ซึ่งเป็นผลมาจากเริ่มเห็นความชัดเจนของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีนในเฟสแรกที่จะมีขึ้นในต้นปี 63 นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับฐานการส่งออกในเดือน ธ.ค.61 ที่ต่ำ จึงน่าจะเป็นปัจจัยที่ช่วยทำให้มูลค่าการส่งออกเดือนธ.ค.นี้ ดีขึ้นกว่าเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา
- ธปท.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปี 63 จะเติบโตได้ 2.8% ซึ่งดีขึ้นกว่าปีนี้ที่คาดว่าจะเติบโตได้ 2.5% พร้อมมองว่าปัจจัยที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปีหน้ายังมาจากภาคการส่งออกและการลงทุนเป็นหลัก ทั้งการลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐ ซึ่งในเรื่องการส่งออกนั้น แม้ปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์การค้าโลกยังคงมีอยู่ แต่เชื่อว่าการส่งออกปีหน้าจะเติบโตได้ดีกว่าปีนี้
ธปท.คาดการณ์ว่า มูลค่าการส่งออกของไทยในปี 62 นี้จะหดตัว -3.3% ขณะที่คาดว่าในปี 63 มูลค่าส่งออกจะขยายตัวได้ เล็กน้อยที่ 0.5%
- PwC ประเทศไทย เปิดเผยถึงรายงาน Doing business across borders in Asia Pacific 2019-2020 ของ PwC ที่ได้ทำการสำรวจผู้บริหารในกลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) จำนวนกว่า 1,000 รายใน 21 เขตเศรษฐกิจว่า ความท้าทายในการประกอบธุรกิจในปี 2563 จะมีมากขึ้น