· ตลาดหุ้นสหรัฐฯกลับมาปิดปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้งจากการที่กลุ่มนักลงทุนคลายความกังวลต่อความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ-อิหร่าน จากถ้อยแถลงของนายทรัมป์ และการทวิตเตอร์ของทั้ง 2 ฝ่าย โดยดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปรับขึ้นทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์ได้ โดยดัชนีดาวโจนส์เมื่อคืนนี้ปิดปรับขึ้นได้ 161.41 จุด หรือ +0.56% ที่ 28,745.09 จุด และ S&P500 ปิด +0.49% ที่ 3,253.05 จุด ขณะที่ Nasdaq ปิด +0.67% ที่ 9,129.24 จุด
· ตลาดหุ้นเอเชียเปิดปรับขึ้นได้เช่นกันในเช้าวันนี้ หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ มีท่าทีผ่อนคลายและทำให้ช่วยบรรเทาภาวะตึงเครียดตะวันออกกลาง และลดความเสี่ยงทางการเมืองลงไป โดยนิกเกอิเปิด +1.63% และ Topix เปิด +1.38% ขณะที่ Kospi ของเกาหลีใต้เปิด +1.42% ด้านดัชนี ASX200 เปิด +0.97%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
-นักบริหารเงิน ประเมินกรอบเงินบาทวันนี้ไว้ระหว่าง 30.25-30.40 บาท/ดอลลาร์
-รมว.คลังไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 วงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท เผย กมธ.ฯ ได้พิจารณาปรับลดงบประมาณลง 1.6 หมื่นล้านบาท โดยพิจารณาเนื้อหาที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ ความมั่นคงและนโยบายสำคัญของรัฐบาล รวมถึงขีดความสามารถของการใช้งบประมาณการใช้งบประมาณรายจ่ายในปีที่ผ่านมา รวมถึงพิจารณาถึงการดำเนินงานอย่างเข้มงวด อาทิ โครงการที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ หรือดำเนินการแล้วแต่ล่าช้ากว่าแผนงานที่กำหนดหรือดำเนินงานไม่ทัน รวมถึงปรับลดงบประมาณในโครงการที่ไม่ชัดเจน ดำเนินงานล่าช้ากว่าแผน และใช้จ่ายไม่ทัน
- ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่าที่ประชุม กกร. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 62 จะขยายตัวได้เพียง 2.5% ลดลงจากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2.7-3.0% รวมทั้งปรับลดมูลค่าการส่งออกไทยในปีนี้ลงเหลือ -2.5% จากเดิมที่คาดไว้ -2 ถึง 0% ขณะที่เงินเฟ้อทั้งปี 62 คาดว่าจะอยู่ที่ 0.7% จากเดิมคาด 0.8-1.2%
สำหรับในปี 63 กกร.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 2.5-3.0% โดยเศรษฐกิจไทยยังอยู่ท่ามกลางหลายปัจจัยกดดัน ที่ต่อเนื่องมาจากปี 62 ทั้งผลจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและความผันผวนของค่าเงิน รวมทั้งมีปัจจัยลบเพิ่มเติม คือ ความตึงเครียดใน ภูมิภาคตะวันออกกลางกรณีสหรัฐและอิหร่าน ที่หากสถานการณ์ยืดเยื้อ อาจผลักดันให้ราคาน้ำมันยืนอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ภาวะภัยแล้ง รุนแรง จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตและกำลังซื้อ
- รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (สสว.) เปิดเผยว่า สสว.ประเมินอัตราการขยายตัวของ SMEs (GDP SME) ในปี 63 จะเติบโตไดิ 3-3.5% ซึ่งเป็นการเติบโตที่สูงกว่าประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย (GDP) ที่มองว่าปีนี้จะขยายตัวอยู่ที่ 2.7-3.2%