· รายงานจาก FXStreet ระบุว่า จีนจะทำการเปิดเผยข้อมูลจีดีพีไตรมาสที่ 4 ในวันศุกร์นี้ โดยจีดีพีไตรมาสที่ 3/2019 ที่ผ่านมาร่วงลงแตะ 6.0% จาก 6.2% อย่างไรก็ดี ภาพรวมการขยายตัวดูจะชะลอตัวลงในบางช่วงของ 3 ไตรมาสแรกของปี 2019 อันได้รับผลกระทบเชิงลบจากปัญหาข้อพิพาททางการค้า และการที่รัฐบาลตัดสินใจเพิ่มมาตรการสนับสนุนนโยบายทางการเงิน ขณะที่ไตรมาสที่ 4/2019 คาดว่าจีดีพีจีนมีแนวโน้มจะอ่อนตัวลงแตะ 5.8% แต่แนวโน้มของปี 2020 คาดจะฟื้นตัวได้อันเนื่องจากการลงนามข้อตกลงการค้าในเฟสแรก
นอกจากนี้ การลงนามดังกล่าวจะนำมาซึ่งการเห็นหยวนแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ และภาวะที่สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น จึงอาจเห็นอัตราเร่งการขยายตัวในไตรมาสที่ 1/2020 ขยายตัวได้ในเชิงบวก บวกกับผลสะท้อนเชิงบวกจากการเติบโตของเศรษฐกิจในตลาดเกิดใหม่ด้วย อันจะส่งผลดีต่อการค้าในต่างประเทศทางแถบยูโรโซนด้วย
· ผลสำรวจจากรอยเตอร์ส ชี้ว่า เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มจะทรงตัวในระดับอ่อนค่ามากที่สุดในรอบเกือบ 30 ปี ในช่วงไตรมาสที่ 4/2019 ท่ามกลางอุปสงค์ภายในประเทศและต่างประเทศที่ซบเซา แม้ว่าจะมีสัญญาณบางส่วนที่ชี้ถึงภาวะการฟื้นตัวในช่วงปลายปีที่แล้ว ประกอบด้วยภาวะตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่บรรเทาลงไป
โดยผลสำรวจชี้ว่าช่วง Q4/19 เศรษฐกิจจีนจะยังเติบโตได้เพียง 6% ซึ่งถือเป็นระดับเดิมกับ Q3/19 และเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 1992 ขณะที่นักวิเคราะห์อีกประมาณ 65 รายมองว่าเศรษฐกิจจีนจะโตได้ในกรอบ 5.8% - 6.3% ในไตรมาสสุดท้ายที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี หากข้อมูลจีดีพีออกมาดีกว่าที่คาดก็ดูจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวในตลาดหุ้น รวมทั้งราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกให้ฟื้นตัว และทำให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นได้ หลังจากที่เคลื่อนไหวเชิงบวกจากทิศทางที่ดีของสหรัฐฯและจีน
· รายงานจาก FXStreet ระบุว่า เศรษฐกิจเยอรมนีจะลงหรือไม่นั้นต้องจับตาไปยังข้อมูลจีดีพีที่จะเปิดเผยในวันนี้ว่าภาพรวมตลอดปี 2019 เป็นเช่นไร ท่ามกลางปัญหาขัดแย้งทางการค้าไปทั่วโลกและปัญหาโครงสร้างในส่วนของกลุ่มยานยต์ ดังนั้น เราจึงคาดว่าจะเห็นจีดีพีเยอรมนีอาจขยายตัวได้เพียง 0.5% ในปี 2019 จากเดิมที่ 1.5% ในปี 2018
อย่างไรก็ดี ยังมีสัญญาณว่าจะเห็นจีดีพีเยอรมนีเติบโตได้ดีขึ้นในปีนี้ที่ระดับ 1.0%
· ภาพรวมเดือนธ.ค. ตลาดแรงงานสหรัฐฯยังดูขยายตัวได้ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ โดย Non-Farm Payrolls มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเพียง 145,000 ตำแหน่ง จากที่ตลาดคาดว่าจะมีการจ้างงานมากขึ้นที่ 160,000 ตำแหน่ง และในเดือนพ.ย. ยังถูกปรับทบทวนการจ้างงานลงมาอีก ในส่วนของอัตราค่าจ้างก็ดูจะออกมาแย่กว่าที่คาด โดยอัตราค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงออกมาที่ 0.1% จากเดิมที่ 0.3% จึงมีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯตลอดปีหน้าจะยังอ่อนแอ และต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ 3.1% เหลือเพียง 2.9% เท่านั้น
โดยองค์รวมตลาดแรงงานสหรัฐฯยังคงแข็งแกร่งโดยปราศจากสัญญาณ Overheating ถึงการจ้างงานจะไม่ได้แข็งแกร่งดังที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ก็ตาม และเราจะเห็ฯได้ว่าตลาดแรงงานก็ยังคงมีทิศทางที่แข็งแกร่ง ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่เฟดจะทำการกลับไปใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน และผลดังกล่าวดูจะตอบรับต่อเม็ดเงินลงทุนในตลาด
· นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า เขาเห็นด้วยกับความเห็นของนายบอริส จอร์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ที่เห็นด้วยเกี่ยวกับ "Trump Deal" ควรมาแทนที่ข้อตกลงนิวเคลียร์กับทางอิหร่าน เพื่อเป็นข้อตกลงฉบับใหม่ที่จะรับรองว่าสาธารณะรัฐอิสลามจะไม่ทำการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ
· รายงานจาก DailyFX มองว่า จากการที่เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯและจีนคาดว่าจะลงนามร่วมกันได้ ดูจะช่วยลดความตึงเครียดและปัญหาความขัดแย้งทางด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลให้ภาคการลงทุนและอุตสาหกรรมอ่อนแอ ขณะที่ความคืบหน้าของ "เฟส 2" ดูจะยังไม่มีอะไรคืบหน้าจนกว่าจะเสร็จสิ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และหากทั้งสองฝ่ายยังมีท่าทีเชิงบวกต่อกันก็อาจทำให้ราคาพลาเดียมปรับขึ้นได้อีก
· ปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนดูจะเข้าสู่บทใหม่หลังจากที่วันนี้ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีกำหนดการจะลงนามร่วมกับนายหลิว เฮ่อ รองนายกรัฐมนตรีจีนในข้อตกลงการค้าเฟสแรก ที่มีเป้าหมายให้จีนเข้าซื้อสินค้าจากสหรัฐฯเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นในหมวดสินค้าการผลิต, สินค้าเกษตร, พลังงานและภาคบริการ
ข้อตกลงการค้าเฟสแรกจะช่วยจำกัดความยืดเยื้อของสงครามการค้าที่ดำเนินมาเป็นระยะเวลา 18 เดือน และส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจนับแสนล้านเหรียญ ซึงวันนี้ นายทรัมป์และนายหลิว จะลงนามข้อตกลงการค้าเฟสแรกที่มีสาระสำคัญ 86 หน้า โดยทางทำเนียบขาวมีการเชิญแขก 200 รายจากภาคธุรกิจ ภาครัฐบาล และตัวแทนการค้ามาร่วมเป็นสักขีพยาน
· บีโอเจปรับลดการประเมินทางเศรษฐกิจสำหรับ 3 ใน 9 ภูมิภาคของประเทศ อย่างไรก็ดี ยังคงมีมุมมองเชิงบวกอย่างระมัดระวังว่าอุปสงค์ภายในประเทศยังคงแข็งแกร่งสามารถช่วยชดเชยการชะลอตัวของการส่งออกและการผลิต
โดยทุกภูมิภาคยังคงประเมินการบริโภคภาคเอกชนไว้ แม้จะมีความผันผวนของรูปแบบการใช้จ่ายจากการขึ้นภาษีสินค้าเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา แต่มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นว่าอุปสงค์ในประเทศที่แข็งแกร่งจะชดเชยปัจจัยกดดันภายนอกได้
· ประธานสถาบันการวิจัยด้านพลังงานจาก JCB Energy กล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบอาจร่วงลงแตะ 40 เหรียญ/บาร์เรลได้ หากว่าระบอบการปกครองของอิหรา่นพังทลาย ท่ามกลางเหตุความไม่สงบในอิหร่าน โดยเกิดเหตุประท้วงกันตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมา และยังคงดำเนินมาตลอดในช่วง 3 วันทำการ หลังรัฐบาลอิหร่านยอมรับว่าเหตุเครื่องบินยูเครนตกเป็นผลจากทางการทหาร โดยที่ประชาชนชูสโลแกนเกี่ยวกับการที่รัฐบาลโกหกเรื่องสหรัฐฯเป็นศัตรูกับอิหร่าน เพราะศัตรูที่แท้จริงของชาวอิหร่านก็อยู่ในอิหร่านเอง

นอกจากนี้ อิหร่านยังถูกกดดันจากการคว่ำบาตรของทางสหรัฐฯที่นายทรัมป์ตัดสินใจเลือกตอบโต้การที่อิหร่านถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์ ฉบับปี 2015
และปัญหาระบอบการปกครองที่เกิดขึ้นดูจะส่งผลกระทบใหญ่ต่อราคาน้ำมัน และมีโอกาสเห็นราคาน้ำมันดิ่งลงแตะ 40 เหรียญมีโอกาสสูง
· นายโจฮัน เบนิกนี ประธานบริษัทเจบีซี เอเนอร์จี กล่าวว่า ราคาน้ำมันอาจร่วงลงแตะระดับ 40 ดอลลาร์/บาร์เรล หากระบอบการปกครองของอิหร่านล่มสลายลง ท่ามกลางความไม่สงบในอิหร่าน ขณะที่ชาวอิหร่านพากันเดินขบวนประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐบาลตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมา หลังจากที่รัฐบาลอิหร่านออกมายอมรับว่าทางกองทัพได้ยิงเครื่องบินโดยสารของยูเครนตกโดยไม่เจตนา
· ราคาน้ำมันดิบปรับลดลง จากความกังวลที่ว่าข้อตกลงการค้าเฟสแรกระหว่างสหรัฐฯและจีนซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก อาจจะไม่ช่วยหนุนอุปสงค์ของน้ำมัน เนื่องจากสหรัฐฯจะยังคงระดับภาษีสินค้านำเข้าจีนจนกว่าจะเกิดข้อตกลงเฟส 2
นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ กล่าวว่า การเก็บภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าจีนจะยังคงดำเนินต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดข้อตกลงเฟส 2 โดยที่ทั้งสองฝ่ายถูกคาดว่าจะสามารถลงนามข้อตกลงชั่วคราวในวันนี้
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับลดลง 16 เซนต์ หรือ 0.3% ที่ระดับ 64.33 เหรียญ/บาร์เรล ทางด้าน ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับลดลง 15 เซนต์ หรือ 0.3% ที่ระดับ 58.08 เหรียญ/บาร์เรล