· ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หลังจากที่สหรัฐฯและจีนลงนามข้อตกลงทางการค้าเฟสแรกร่วมกันได้ แม้ว่าตลาดการเงินยะงคงระมัดระวังการลงทุนเนื่องจากข้อตกลงทางการค้ายังคงมีความไม่แน่นอน
โดยทำเนียบขาวเปิดเผยว่า จีนจะเพิ่มการซื้อสินค้าเกษตร ตลอดจนสินค้าอื่นๆ ที่ครอบคลุมถึงภาคบริการสหรัฐฯในช่วง 2 ปี ที่มูลค่า 2 แสนล้านเหรียญ
ด้านประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Horizon Investment Services ระบุว่า
ไม่ว่าจะมีใครมองว่านี่เป็นความก้าวหน้าครั้งใหญ่หรือความคืบหน้าเล็กน้อย แต่การลงนามข้อตกลงเฟสแรกนั้นเป็นสิิ่งที่จับต้องได้ และเป็นทิศทางที่ตลาดพึงพอใจ
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 0.14%
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางการซื้อขายที่เบาบางในวันนี้ หลังจากที่สหรัฐฯและจีนสามารถลงนามข้อตกลงการค้าเฟสแรกร่วมกัน ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์
โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.07% ที่ระดับ 23,933.13 จุด ขณะที่ดัชนี Topix ลดลง 0.14% ที่ะรดับ 1,728.72 จุด
ซึ่งดัชนีปรับตัวสูงขึ้นหลังจากที่นักลงทุนได้รับแรงหนุนจากตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมา จากการลงนามข้อตกลงดังกล่าว
โบรคเกอร์ประจำ IwaiCosmo Securities ระบุว่า การลงนามการค้าเฟสแรกระหว่างสหรัฐฯและจีนจบลง เหล่านักลงทุนก็ยังคงชะลอการลงทุนเพื่อมองหาปัจจัยใหม่ๆในการซื้อขาย ซึ่ง
ตอนนี้เหล่านักลงทุนกำลังรอผลประกอบการของญี่ปุ่นที่จะประกาศในปลายเดือนนี้
· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวสูงขึ้นจากมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการลงนามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน รวมทั้งข้อตกลงดังกล่าวได้ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ขณะที่คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้เล็กน้อย
โดยดัชนี Shanghai Composite ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงต้นตลาด แต่เริ่มชะลอตัว และกลับมาปิดแดนลบ 0.25% แต่ในภาพรวมดัชนีปรับขึ้นได้ 7.6% นับตั้งแต่ปลายเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย หลังการลงนามข้อตกลงการค้าเฟสแรกร่วมกันระหว่างสหรัฐฯและจีน
โดยดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 0.2% ด้านหุ้นเทคโนโลยีและกลุ่มค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.5% เนื่องจากตลาดหุ้นส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในแดนบวก ยกเว้นด้านท่องเที่ยวและโทรคมนาคม
อ้างอิงจากประชาชาติธุรกิจ
- ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ หัวหน้านักกลยุทธ์ตลาดทุนสายงานธุรกิจตลาดเงินทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ (16 ม.ค.) อ่อนค่าที่ระดับ 30.27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จาก 30.26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ช่วงปิดสิ้นวันทำการก่อน โดยกรอบเงินบาทวันนี้อยู่ที่ 30.20-30.32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ดี ฝั่งตลาดเงินไม่ได้มีความเคลื่อนไหวมากนัก อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยีลด์) สหรัฐอายุ 10 ปียังคงซื้อขายอยู่ในระดับ 1.79% ขณะที่ยีลด์ฝั่งยุโรปปรับตัวลงแทบทุกประเทศ ชี้ว่านักลงทุนส่วนใหญ่ยังไม่ได้เข้าสู่โหมดเปิดรับความเสี่ยง (Risk on) อย่างเต็มตัว
ในระยะสั้น เชื่อว่าทุกตลาดจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบ เพื่อรอประเด็นใหม่ๆ เข้ามาในตลาด ขณะที่เงินบาทก็มีความเคลื่อนไหวไม่มาก เนื่องจากมีการดูแลจากธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างใกล้ชิด
ระยะถัดไปจึงควรจับตาทิศทางของเงินดอลลาร์เป็นหลัก โดยถ้าปัญหาการเมืองในสหรัฐ เช่นการลงมติถอดถอนประธานาธิบดี กลับมาเป็นเรื่องที่ตลาดสนใจก็อาจเห็นการอ่อนค่าของดอลลาร์ หรือถ้าตลาดเลือกที่จะมองว่าผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐไม่ดีตามคาด ตลาดก็อาจพักฐาน ส่งผลให้ดอลลาร์สามารถแข็งค่าขึ้นได้เช่นกัน