· ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดทำการเนื่องในวัน Martin Luther King Junior Day
· ตลาดหุ้นยุโปรปิดอ่อนตัวลงจากที่ทำระดับสูงสุดไว้ในคืนวันศุกร์ ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ลดสถานะก่อนทราบข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ รวมทั้งการประชุมอีซีบีวาระแรกของปีที่จะเกิดขึ้นในวันพฤหัสบดีนี้ โดยดัชนี Stoxx 600 ปรับตัวลงประมาณ 0.1% ขณะที่ภาพรวมตลาดค่อนข้างเบาบางเนื่องจากสหรัฐฯมีการเข้าสู่วันหยุดของประเทศ
อย่างไรก็ดี ภาพรวมเดือนนี้ดัชนียุโรปปรับขึ้นได้ประมาณ 2% ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่กลับมามั่นใจต่อภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกและการผ่อนคลายตึงเครียดทางการค้า
นักวิเคราะห์การตลาดอาวุโสจาก OANDA มองว่า เราอาจเห็นแรงเทขายทำกำไรออกมาบ้างเล็กน้อย แต่ตลาดหุ้นยุโรปก็ยังมีทิศทางการเคลื่อนตัวที่ดีในช่วงเริ่มต้นปีนี้ และตลาดมีการปิดสถานะทำกำไรบางส่วนก่อนเข้าสู่สัปดาห์ที่ปัจจัยหนาแน่นไม่ว่าจะเป็นเรื่องการประกาศผลประกอบการภาคบริษัทของสหรัฐฯและการประชุม World Economic Forum ที่กรุงดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
· ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในเช้านี้ ท่ามกลางตลาดที่รอคอยผลประชุมบีโอเจที่จะเปิดเผยในวันนี้ควบคู่กับการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ยและรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจรายไตรมาส โดยดัชนีนิกเกอิและ Topix เปิดทรงตัว ทางด้าน Kospi เปิดปรับตัวลงเล็กน้อย
การประชุมบีโอจถูกคาดว่าจะเปิดเผยในช่วงสายของวันนี้ ซึ่งตลาดคาดจะเห็นบีโอเจตัดสินใจคงดอกเบี้ยได้
ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมญี่ปุ่นเปิดทรงตัวในเช้านี้เช่นกัน
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นักบริหารเงิน กล่าวว่า สำหรับทิศทางการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวันนี้ประเมินไว้ระหว่าง 30.30-30.40 บาท/ ดอลลาร์ ตลาดน่าจะไปรอผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) วันนี้ ส่วนการเมืองในประเทศน่าจะมีผลทางจิตวิทยาต่อตลาดหุ้นมากกว่า
- สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า รูเปียห์มีแนวโน้มเป็นสกุลเงินเอเชียที่แข็งค่ามากที่สุดในปีนี้ แซงหน้าสกุลเงินบาทของไทย ซึ่งเป็นสกุลเงินเอเชียที่แข็งค่ามากที่สุดในปีที่แล้ว
ทั้งนี้ รูเปียห์ ซึ่งเป็นสกุลเงินเอเชียที่แข็งค่ามากที่สุดเป็นอันดับ 3 ในปีที่แล้ว ได้ดีดตัวขึ้นติดต่อกัน 7 สัปดาห์ ขณะที่นักลงทุนพากันเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอินโดนีเซีย โดยได้รับแรงจูงใจจากอัตราผลตอบแทนในระดับสูงถึง 5-8%
นอกจากนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียส่งสัญญาณว่า ทางธนาคารกลางจะยังคงปล่อยให้รูเปียห์แข็งค่าขึ้นต่อไป ตราบใดที่การแข็งค่าดังกล่าวสะท้อนถึงเศรษฐกิจอินโดนีเซียที่แข็งแกร่งขึ้น และธนาคารกลางสามารถควบคุมความผันผวนในตลาด
จุดยืนของธนาคารกลางอินโดนีเซียสวนทางท่าทีของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งได้ประกาศมาตรการสกัดการแข็งค่าของบาท
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ปรับปรุงมาตรการกำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อในภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยได้ผ่อนคลายหลักเกณฑ์ การกำหนดอัตราส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน หรือ Loan to Value: LTV) เพิ่มเติม เพื่อช่วยให้ประชาชนกู้บ้านเพื่ออยู่อาศัยจริงได้ง่ายขึ้น และบนพื้นฐานของหลักการและวัตถุประสงค์ของการมีมาตรการในการดูแลการเก็งกำไรและส่งเสริมการออมของประชาชน ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 ม.ค.2563 เป็นต้นไป
- ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยยังน่ากังวล โดยพบว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ยังอยู่ในระดับสูง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยกลับมาเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังปี 2561 เป็นการขยายตัวจากสินเชื่ออุปโภคและบริโภคทุกประเภท ซึ่งเป็นผลจากทั้งการแข่งขันในตลาดสินเชื่อรายย่อยที่สูงขึ้น และพฤติกรรมการใช้จ่ายของครัวเรือนที่มากขึ้น รวมทั้งความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและธุรกิจ SMEs ซึ่งมีแนวโน้มด้อยลงตามภาวะเศรษฐกิจ
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ตั้งเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อสำหรับปี 63 ที่ระดับ 5-7% ด้วยนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่มีความรอบคอบระมัดระวัง จากที่มองเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น แม้ว่าจะยังคงเผชิญปัญหาความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์และข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศ แต่ด้วยนโยบายการเงินที่ยังคงผ่อนคลาย และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ประกอบกับมีการเร่งเบิกจ่ายการลงทุนของรัฐ ก็จะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโตระดับ 2.5% ในปีนี้
- ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย (TMB) เปิดเผยว่า ในส่วนของเป้าหมายทางการเงินปี 63 อยู่ระหว่างการนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการในปลายสัปดาห์นี้
- กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) คาดการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปี 63 ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 62 ทั้งในส่วนของน้ำมันกลุ่มเบนซิน น้ำมันดีเซล และน้ำมันอากาศยาน ขณะที่การใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) จะปรับตัวลดลง