· ดัชนีดาวโจนส์ปิดดิ่งลง 603 จุด หรือคิดเป็น -2.1% ที่ 28,256 จุด ขณะที่ S&P500 ปิด -1.77% และ Nasdaq ปิด -1.59% ขณะที่ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ปิดแดนลบหลังจากที่สหรัฐฯประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขทั่วประเทศ และห้ามต่างชาติที่เดินทางไปจีนในช่วง 2 สัปดาห์เข้าประเทศ ส่วนประชาชนที่เดินทางกลับจากจีนหรือมณฑทลหูเป่ยจะถูกกักบริเวณเพื่อรอดูอาการนาน 14 วัน และทีมบริหารของนายทรัมป์ดูจะหามาตรการต่างๆในการจำกัดและควบคุมการเดินทางของประชาชนที่มาจากจีนเข้าสู่สหรัฐฯ
ด้านองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ตัดสินใจประกาศให้ ไวรัสโคโรน่า เป็นภาวะฉุกเฉินระหว่างประเทศแล้ว หลังจากเชื้อตัวนี้แพร่ระบาดไปนอกจีนอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็ยกย่องความพยายามของจีนที่จะควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส และการประกาศดังกล่าวถือเป็นการเปิดทางสำหรับออกคำแนะนำแก่ทุกประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกัน และลดการแพร่ระบาดข้ามพรมแดน ซึ่งอาจทำให้มีการกำหนดข้อจำกัดเกี่ยวกับการเดินทางและการค้าต่างๆ
· ตลาดหุ้นยุโรปปิดแดนลบหลังพบผู้ติดเชื้อสองรายในแถบยุโรป โดยมีการยืนยันจากทางหน่วยงานด้านสุขภาพของอังกฤษ (NHS) รวมถึงแถบยุโรปต่างๆ โดยเยอรมนียืนยันพบผู้ติดเชื้อแล้ว 6 ราย และประเด็นไวรัสโคโรนาถือเป็นปัจจัยลบต่อตลาดและทำให้ Stoxx600 ปิด -1% หุ้นกลุ่มทรัพยากรร่วงลงกว่า 1.7% ขณะที่หุ้นภาคส่วนอื่นๆปรับตัวลงในแดนลบทั้งหมด
· Shanghai Stock Exchange จะทำการขยายเวลากำหนดเส้นตายในการประกาศผลประกอบการภาคบริษัทปี 2019 ออกไปจนถึง 30 เม.ย. ท่ามกลางหลายๆบริษัทที่ยังคงปิดทำการในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในประเทศจีน ขณะที่ Shanghai Stock Exchange จะกลับมาเปิดให้บริการในวันนี้เป็นวันแรกหลังจากที่หยุดในช่วงเทศกาลตรุษจีน
· หุ้นเอเชียเปิดแดนลบในเช้านี้ ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่รอดูการกลับมาเปิดตลาดของจีนอีกครั้งในช่วงที่กำลังเผชิญกับไวรัสโคโรนา โดยดัชนีนิกเกอิเปิด -1.68% ขณะที่ Topix เปิด -1.53% และ Kospi เปิด -1.39% ขณะเดียวกันS&P/ASX200 เปิด -1.45% ทางด้านดัชนี MSCI ที่ไม่รวมญี่ปุ่นเปิด -3%
· นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ไว้ที่ระหว่าง 31.00 - 31.40 บาท/ดอลลาร์ โดยยังคงติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสต่อไป และ ธปท.ออกมาบอกว่าเตรียมจะทบทวนประมาณการ GDP ปีนี้ หลังงบประมาณล่าช้า และผลกระทบจากไวรัสโคโรนา รวมทั้งมีปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม คือ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 5 ก.พ.นี้ คณะกรรมการฯ จะพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีกอย่างน้อย 0.25% เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นในจังหวะเวลาพร้อมกัน
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจและการเงินเดือนธ.ค.62 พบว่าปรับตัวดีขึ้นบ้าง โดยการส่งออกสินค้า การผลิตภาคอุตสาหกรรม เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายภาครัฐหดตัวน้อยลง อย่างไรก็ดี เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวชะลอลง หลังผลของฐานต่ำจากเหตุการณ์เรือนักท่องเที่ยวล่มที่จังหวัดภูเก็ตในปีก่อนหมดไป
- นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) กล่าวว่า ที่ประชุมครม.เศรษฐกิจ ได้มีการประเมินตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4/62 พร้อมประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจปี 63 ซึ่งจากการรายงานของคณะกรรมการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ประเมินว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาส 4/62 และประมาณการ GDP ปี 63 อาจต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ 2.7-3.7%
- ผู้ว่าการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.เศรษฐกิจ เห็นชอบมาตรการพยุงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยจากผลกระทบการระบาดของโรคปอดอักเสบจากเชื้อไรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019
- ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยให้ความสำคัญ และกำลังติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากในปีที่ผ่านมา มีภาวะชะลอตัวลงจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งในปีนี้ก็ยังคงมีความเสี่ยงอยู่อย่างต่อเนื่อง และคาดว่าอาจจะมีการปรับลดประมาณการทางเศรษฐกิจจากที่เคยคาดการณ์ไว้