· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลง ท่ามกลางการร่วงลงของน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในการซื้อขายของจีนลดลงในวันแรกของการซื้อขาย หลังจากหยุดพักไปนานเนื่องจากความกลัวการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่อาจจะส่งผลต่ออุปสงค์ในประเทศจีน
รัฐบาลจีนได้ดำเนินการหลายขั้นตอนเพื่อหนุนเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวและการปิดกิจการเนื่องจากมีการแพร่ระบาดของไวรัส รวมถึงการลดอัตราดอกเบี้ย
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นลดลง 0.4% ซึ่งลดลงติดต่อกัน 8 วันทำการ ขณะที่ตลาดหุ้นจีนร่วงลงหลักจากเปิดตลาด โดยดัชนี blue-chip ร่วงลงไปประมาณ 7%
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดปรับตัวลดลง ท่ามกลางแรงเทขายทำกำไรในตลาดหุ้นจีน จากความไม่แน่นอนที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบเศรษฐกิจโลกจากการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของเชื้อไวรัสโคโรนาในประทเศจีน
ดัชนี Nikkei ลดลง 1.01% ที่ระดับ 22,971.94 จุด โดยหุ้นกลุ่มของผู้บริโภคและภาคเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำปรับลดลง
ขณะที่ตลาดหุ้นจีนปิดทำการนับตั้งแต่วันที่ 23 ม.ค. ที่ผ่านมา ในช่วงเทศกาลตรุษจีน และกลับมาเปิดทำการอีกครั้งในวันนี้และปรับตัวลงมากกว่า 9%
หน่วยงานด้านสุขภาพ ระบุว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าวที่เพิ่มขึ้นจำนวน 361 ราย เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
ด้านนักเศรษฐศาสตร์ เตือนว่า การระบาดของเชื้อไวรัสจะส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค การท่องเที่ยวและกิจกรรมโรงงานในจีน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อญี่ปุ่นเช่นกัน เนื่องจากจีนเป็นหนึ่งในตลาดส่งออกชั้นนำของประเทศ
· ตลาดหุ้นจีนและตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลดลง เนื่องจากยอดผู้เสียชีวิตจากการระบาดของไวรัสโคโรนาเพิ่มมากขึ้นถึง 361 ราย ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่กลับเข้าถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงการซื้อขายวันแรกหลังจากปิดทำการในเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา
โดยตลาดปรับลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงเปิดทำการครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 23 ม.ค. หลังยอดเสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาพุ่งเป็น 17 ราย
ดัชนี Shanghai Composite ร่วงลง 8% แตะระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปี มูลค่าตลาดเกือบ 3.70 แสนล้านดอลลาร์จากการคำนวณของ สำนักข่าว Reuters
ด้านค่าเงินหยวนเริ่มการซื้อขายอ่อนแอที่สุดในปีนี้ ขณะที่เหล็ก น้ำมันและทองแดงในตลาดเซี่ยงไฮ้ล้วนปรับตัวลดลงอย่างจำกัด รวมทั้งราคาโลกร่วงลงตามผลกระทบจากการแพร่กระจายของไวรัสที่มีผลต่อแนวโน้มการเติบโตของโลกเช่นเดียวกัน
ขณะที่เหล่านักลงทุนต้องเผชิญกับความผันผวนเมื่อเริ่มการซื้อขายในตลาดหุ้นจีน พันธบัตร ค่าเงินหยวน และสินค้าโภคภัณฑ์ หลังจากการลดลงของยอดขายทั่วโลกอันเนื่องมาจากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของไวรัสที่มีต่อเศรษฐกิจจีน
ล่าสุดรอยเตอร์ส เผยว่า ธนาคารกลางจีนมีการอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อเสริมสภาพคล่องเพิ่ม 1.2 พันล้านหยวน (1.74 แสนล้านเหรียญ) ผ่านอัตราดอกเบี้ย Reverse Repo ในวันนี้ ท่ามกลางตลาดหุ้นที่เตรียมกลับมาเปิดทำการในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาหนักขึ้น
· ตลาดหุ้นยุโรปเปิดตลาดค่อนข้างทรงตัว แม้จะยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อไวรัส และการถอนตัวของอังกฤษออกจากอียูที่มีผลไปเมื่อวันศุกร์สัปดาห์ก่อน โดยดัชนี Stoxx 600 เปิดทรงตัวนำโดยหุ้นกลุ่มทรัพยากรพื้นฐานที่ปรับลดลง 1.1% ขณะที่หุ้นกลุ่มการท่องเที่ยวปรับขึ้น 0.5%
นับเป็นวันแรกที่ตลาดยุโรปซื้อขายท่ามกลางภาวะ Brexit ซึ่งทางอังกฤษเหลือเวลา 11 เดือน สำหรับการเจรจาหาข้อตกลงทางการค้าร่วมกับอียู
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 5 ก.พ.นี้ คณะกรรมการฯ จะพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีกอย่างน้อย 0.25% เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นในจังหวะเวลาพร้อมกัน
- สำนักวิจัยฯแห่ปรับ "จีดีพี" ปีนี้ลง หลังไวรัสโคโรนาระบาดหนัก สะเทือนเศรษฐกิจจีน กระทบถึงไทย พร้อมประเมิน กนง.จ่อหั่นดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุม 5 ก.พ.นี้ "ทีเอ็มบี" คาด ท่องเที่ยววูบหนักฉุด "จีดีพี" ราว 1% ขณะ "บล.ภัทร" ปรับคาดการณ์เหลือโต 2.2% ด้าน "แบงก์กรุงเทพ" ประเมิน กนง. ส่อลดดอกเบี้ยเพิ่ม ส่วนศูนย์วิจัยกสิกรไทย ลุ้นสถานการณ์จบใน 1 เดือน ฉุด เศรษฐกิจจีน 0.3%
- เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช.เตรียมทบทวนประมาณการเศรษฐกิจของไทยในปี 63 ใหม่หลังจากภาคการท่องเที่ยวซึ่งถือว่าเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 จากประเทศจีน ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวปรับลดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปี 63 นี้แน่นอน
- "คลัง" เตรียมเสนอ ครม. เคาะแพ็กเกจกระตุ้นเศรษฐกิจอีกชุด จ่อชงขยายเวลายื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาถึง มิ.ย. หวังประชาชนเอาเงินใช้จ่าย พ่วงมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยว ชูไทยเที่ยวไทยต้านผลกระทบไวรัสโคโรนาหลังทำท่องเที่ยวสะดุด ต่างชาติเบรกเดินทาง
- รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยได้หารือกับสมาคมการค้าและผู้ส่งออกไทย เพื่อประเมินสถานการณ์การส่งออกไทยในปี 63 เบื้องต้นคาดการณ์ว่า ไทยจะสามารถส่งออกได้ 241,894 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ติดลบ 1.77% เมื่อเทียบกับปี 62 ที่ติดลบ 2.65% เพราะมีหลายปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการส่งออก เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว, ภัยแล้ง, การแข็งค่าของเงินบาท, ไวรัสโคโรนา เป็นต้น ดังนั้น หากต้องการผลักดันให้ส่งออกไทยขยายตัวเป็นบวก หรืออย่างน้อยไม่ติดลบเมื่อเทียบกับปี 62 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสนับสนุนให้เงินบาทอยู่ระดับ 32 บาทต่อเหรียญ จากปัจจุบันที่เริ่มอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 31 บาทต่อเหรียญแล้ว
- บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ลุ้นระทึกไวรัสโคโรนาจะควบคุมได้เมื่อไหร่หากยืดเยื้อเกินเดือนก.พ.ต้องปรับเป้าผู้โดยสารใหม่จากเดิมคาดขยายตัว 4-5% เพราะช่วงปลายเดือนม.ค.ติดลบแล้ว 4% โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนที่สนามบินสุวรรณภูมิลดลงเฉลี่ยวันละ 3 หมื่นคน แต่หากจบเร็วเชื่อไม่กระทบเป้าหมาย
- ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ทำตลาดนักท่องเที่ยวจีนของไทยครึ่งปีแรกหายไปกว่า 2.4 ล้านคน ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวทั้งปี 63 สูญรายได้กว่า 1 แสนล้านบาทหรือ 0.7% ของจีดีพี โดยธุรกิจโรงแรม 7,500 ราย กระทบหนักชวดรายได้ 2.8 หมื่นล้านบาท เป็นผู้ประกอบการขนาดกลาง 459 รายและขนาดเล็ก 6,990 ราย ขณะที่คุณภาพสินเชื่อโรงแรมขนาดกลางเปราะบางยอด NPL รวมหนี้ที่ต้องระวัง (SM) สูงถึง 18% พร้อมแนะภาครัฐและเอกชนเร่งออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ