· Yahoo Finance ระบุว่า ดัชนี S&P500 มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงการซื้อขาย โดยสามารถ Breakout เหนือ 3,350 เหรียญได้ และมีการทำ All-Time High อย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีสัญญาณจะเห็นดัชนีปรับตัวลงในเวลานี้ ดังนั้น นักลงทุนควรรอเข้าซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว โดยระดับการเคลื่อนไหวของราคาบริเวณเส้นค่าเฉลี่ย EMA ราย 50 วัน และปัจจัยพื้นฐาน ถือเป็นสองตัวแปรที่ทำให้ราคาเปลี่ยนและยากจะคาดเดาว่าราคาจะปรับลงเมื่อใด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของไวรัสโคโรนา, สงครามการค้า, อุปสงค์ทั่วโลกที่ชะลอตัว รวมไปถึงการแข็งค่าของดอลลาร์ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นตัวชี้วัดถึงทิศทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ดี ระดับราคาแนว 3,300 จุด ยังเป็นจุดท่ี่น่าซื้อ แต่หากราคาหลุดบริเวณระดับดังกล่าวก็น่าจะมีแรงเทขายกลับเข้ามากดดัน ณ จุดนี้เช่นกัน
· ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางความหวังที่ว่าการระบาดของไวรัสโคโรนาอาจจะผ่านพ้นไปได้ แม้ว่าความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจากการระบาดจะทำให้นักลงทุนระมัดระวังการลงทุนก็ตาม
โดยดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 0.9% ท่ามกลางความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุนที่ดีขึ้น หลังจากที่ปรึกษาอาวุโสด้านการแพทย์ของจีน กล่าวว่า จำนวนผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาปรับลดลงในบางจังหวัดและคาดการณ์ว่าการแพร่ระบาดจะสูงสุดในเดือนนี้ ก่อนที่จำนวนผู้ติดเชื้อจะลดน้อยลง
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากหุ้นกลุ่มบริษัท SoftBank พุ่งขึ้น 11.9% หลังจากที่ผู้พิพากษา ระบุว่า รัฐบาลอนุมัติการควบรวมกิจการระหว่าง T-Mobile และ Sprint Softbank เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Sprint
โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.74% ที่ระดับ 23,861.21 จุด ขณะที่ดัชนี Topix ลดลง 0.04% ที่ระดับ 1,718.92 จุด
· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกัน 7 วันทำการ หลังจากข้อมูลยอดผู้ติดเชื้อจากการระบาดของไวรัสโคโรนาต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนม.ค.ที่ผ่านมา
โดยดัชนี Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 0.21% ที่ระดับ 2,907.79 จุด
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย หลังจากยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาปรับตัวลดลงต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ที่ผ่านมา โดยดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 0.2% ด้านหุ้นกลุ่มยานยนต์ เพิ่มขึ้น 0.9% ท่ามกลางตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในแดนบวก
อ้างอิงจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ
- กองทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แอล เอช ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ และ "แลนด์แอนด์เฮ้าส์"ราคาหุ้นปรับตัวลดลง หลังเกิดสถานการณ์เหตุการณ์โศกนาฏกรรม “กราดยิงโคราช” ที่ห้าง Terminal21 โคราช เมื่อวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา
อนึ่งกองทุนทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ แอล เอชช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์ “LHSC” มีทรัพย์สินเป็นศูนย์การค้า Termial21 อโศก ซึ่งร้านค้าพร้อมเปิดให้บริการและลูกค้าที่เข้ารับบริการยังอยู่ในภาวะปกติ
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นายกรภัทร วรเชษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน-กลยุทธ์การลงทุน บล.โนมูระ พัฒนสิน กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้แกว่งตัวในแดนบวก ตาม Sentiment ต่างประเทศ หลังคลายกังวลสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) จากการที่จีนออกมาระบุว่าสถานการณ์แพร่ระบาดในจีนน่าจะเริ่มนิ่งขึ้นภายในสิ้นเดือนนี้ แม้ว่าช่วงนี้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนจะได้รับผลกระทบประมาณ 0.1% แต่ภาพของจีนก็เริ่มเห็นการกลับมาผลิตสินค้า ซึ่งเป็นบวกต่อการค้า และส่งผลให้หุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์นำตลาดขึ้นมา
- นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 31.18 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากปิด ตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 31.26 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางของกระแสเงินทุนต่างประเทศ แต่ไม่ตอบสนองกรณีที่ประธานธนาคาร กลางสหรัฐ (เฟด) แถลงนโยบายต่อสภาคองเกรสว่าภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐมีแนวโน้มดี
- ที่ประชุม ครม.เห็นชอบมาตรการที่เกี่ยวข้องกับภาษีของกระทรวงการคลัง 2 มาตรการ เพื่อช่วยสนับสนุนให้เกิดการลงทุน
ภายในประเทศ โดยมาตรการแรกเป็นมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ส่วนอีกมาตรการเป็นมาตรการภาษี
เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ทั้ง 2 มาตรการนี้ กระทรวงการคลังจะมีการลดภาษี และยกเว้นภาษีด้วยการออก
เป็นร่างพระราชกฤษฎีกา ซึ่งจะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้รวมไปประมาณ 124 ล้านบาท
- ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (เฟทโก้) เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ คาดว่าจะ
กลับมาปรับตัวแรงมากกว่า 1,600 จุด หลังจากผ่านจุดต่ำสุด ด้วยปัจจัยลบต่างๆ ทั้งสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ค่าเงินบาทแข็ง และการ
แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนามาแล้ว ยังได้รับปัจจัยสนับสนุนอย่าง พ.ร.บ.การเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลที่ไม่ได้ล่าช้าอย่างที่คาดการณ์
การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจมีมาตรการอื่น ๆ ช่วยกระตุ้น ทำให้ประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้
ว่าจะขยายตัวในช่วง 2%-2.2%
อ้างอิงจากสำนักข่าวไทยรัฐ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า การประมูล 5 จี ในวันที่ 16 ก.พ.นี้ เชื่อว่าจะมีการแข่งขันดุเดือดอย่างแน่นอน
โดยคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ มีผู้เข้าประมูล 3 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส บริษัท ทรูมูฟ ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัด บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแคท ส่วนคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ 3 ราย คือ เอไอเอส, ทรูมูฟ, แคท ส่วนคลื่น 26 กิกะเฮิรตซ์ มีผู้ยื่นประมูล 4 ราย คือ เอไอเอส, ทรูมูฟ, บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ขณะที่คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ไม่มีผู้เข้าประมูล ในครั้งนี้ “ผมเชื่อมั่นว่าการแข่งขันคลื่น 700 จะดุเดือดมาก เชื่อว่าเอไอเอสต้องการอยากได้คลื่นทั้งหมด เพื่อนำมาให้บริการ 5 จี เช่นเดียวกับคลื่น 2600 เอไอเอสก็ต้องการ 60 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อรักษาความเป็นเบอร์ 1 ของธุรกิจมือถือ และอีกสิ่งที่มั่นใจคือ ค่ายมือถือที่ชนะประมูล จะชิงความเป็นที่ 1 ของการเปิดบริการ 5 จี อย่างเป็นทางการรายแรกของไทย”