· ค่าเงินในตลาดเอเชียแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ท่ามกลางความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ฟื้นกลับมาบางส่วน หลังมีรายงานว่าอัตราการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาเริ่มชะลอตัวลง ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์แข็งค่า หลังจากธนาคารกลางยกเลิกการส่งสัญญาณจะปรับลดดอกเบี้ยในอนาคต
ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่า 0.3% แถว 0.6728 ดอลลาร์ ด้านค่าเงินหยวนแข็งค่าเล็กน้อย ขณะท่ค่าเงินที่เป็น Safe-haven อ่อนค่า
ความกังวลเกี่ยวกับภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจในยุโรป ยังคงเป็นปัจจัยกดดันค่าเงินยูโรให้เคลื่อนไหวใกล้ระดับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 4 เดือน แม้วันนี้จะฟื้นตัวได้เล็กน้อยประมาณ 0.2% แถว 1.0916 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่ค่าเงินปอนด์ทรงตัวใกล้ระดับแข็งค่าที่สุดในรอบสัปดาห์ หลังข้อมูลเศรษฐกิจไตรมาสที่ 4/2019 ออกมาดีกว่าที่คาดการณ์
ค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์แข็งค่า 0.8% แถว 0.6462 ดอลลาร์ หลังจากธนาคารกลางยกเลิกคาดการณ์จะปรับลดดอกเบี้ยในแผนการดำเนินนโยบายในอนาคต
· นักวิเคราะห์จาก FXStreet แนะจับตาเงินเยนบริเวณ 110 เยน/ดอลลาร์ โดยภาพหลักมีแนวโน้มอ่อนค่าได้อยู่ แม้ว่าปัจจุบันจะเคลื่อนไหวในกรอบ 109.75 - 109.95 เยน/ดอลลาร์ ท่ามกลางสภาวะ Risk-On ที่กลับมาหนุนตลาดหุ้นสหรัฐฯ ท่ามกลางสำนักงานคณะกรรมาธิการด้านสาธารณสุขจีนที่เปิดเผย อัตราการชะลอตัวของผู้ติดเชื้อลดลงสู่ระดับ 2,478 ราย จากวันก่อนหน้าที่ 3,062 ราย
ในทางเทคนิค ค่าเงินเยนค่อนข้างทรงตัว โดยเครื่องมือทางเทคนิคยังคงปราศจากสัญญาณที่แข็งแกร่ง และสัญญาณ RSI ยังเคลื่อนไหวต่ำกว่า 100 จุด อยู่แถว 57 จุด ซึ่งหากค่าเงินเยนหลุดลงจากรอบมีโอกาสปรับแข็งค่าต่อ และหากต่ำกว่า 109 เยน/ดอลลาร์ จะทำให้ภาพของค่าเงินเยนกลับมาเป็นแข็งค่าอีกครั้ง
แนวต้าน: 110.00 110.35 110.70
แนวรับ: 109.40 109.00 108.65
· นายเบอร์นีย์ แซนเดอร์ส สามารถเอาชนะการเลือกตั้งตัวแทนพรรคเดโมแครตภายในรัฐนิวแฮมป์เชียร์ได้ด้วยคะแนนที่ฉิวเฉียว จึงช่วยเสริมแนวโน้มที่นายแซนเดอร์จะสามารถเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในเดือน พ.ย. ได้มากขึ้น ขณะที่คู่แข่งคนสำคัญอย่างนายโจ ไบเดน กลับมีคะแนนออกมาเป็นอันดับที่ 5 ซึ่งเป็นอับดับที่น่าผิดหวัง
· หัวหน้าทีมวิจัยโรคภัยสายพันธ์ใหม่จากองค์กรอนามัยโลก ระบุว่า แม้เชื้อไวรัสโคโรนาจะแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าโรคซาร์สในปี 2003 แต่ดูเหมือนกลุ่มคนที่สามารถรอดพ้นจากการติดเชื้อได้มากที่สุด ณ ขณะนี้ คือเด็กหรือเยาวชน
ในจำนวนผู้ติดเชื้อกว่า 43,100 ราย มีเพียงไม่กี่เคสที่ผู้ติดเชื้อเป็นเด็กและได้รับการยืนยันแล้ว ในขณะที่ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ต่างเป็นผู้ใหญ่ในวัย 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะวัยชราที่ดูจะมีอาการติดเชื้อหนักที่สุด ซึ่งหมายความว่ายิ่งอายุเยอะก็ยิ่งเพิ่มความรุนแรงจากการติดเชื้อ และผู้ที่มีอายุมากกว่า 80 ปีดูจะเป็นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงมากที่สุด
นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญรายอื่นๆก็สะท้อนถึงแนวคิดดังกล่าว โดยระบุว่าวัยผู้ใหญ่ดูจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส COVID-19 มากกว่า เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลงตามอายุ
· สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ หรือ ONS เผยว่า จีดีพีอังกฤษเติบโตในช่วงไตรมาสที่ 4/2019 ไม่มีการขยายตัว อันเนื่องจากเผชิญกับความไม่แน่นอนทางการเมือง, ความกังวล Brexit การชะลอตัวทางการค้า
แต่ภาพรวมเศรษฐกิจในเดือนพ.ย. พบว่าหดตัวลง 0.3% และรีบาวน์กลับได้ 0.3% ในเดือนธ.ค. ขณะที่ภาคบริการเติบโตได้เพียง 0.1% และภาคอุตสาหกรรมหดตัว 0.8% ด้านธุรกิจลงทุนหดตัวลงไป 1%
· นายแอนดรูว์ หยาง ผู้สมัครเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตเพื่อไปชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปีนี้ ได้ประกาศถอนตัวออกจากการลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีแล้ว หลังจากเขามีคะแนนทิ้งห่างคู่แข่งในการเลือกตั้งเบื้องต้นแบบคอคัสในรัฐไอโอวา และการเลือกตั้งเบื้องต้นแบบไพรมารีในรัฐนิวแฮมเชียร์
· นักวิเคราะห์จาก UBS คาดการณ์ว่าสหรัฐฯจะยอมลดเพดานที่กำหนดให้จีนเข้าซื้อสินค้าของสหรัฐฯลงเล็กน้อย และอย่างไม่เป็นทางการ เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนและความสามารถในการเข้าซื้อสินค้าจากสหรัฐฯ
ก่อนหน้านี้ รายงานจากที่ปรึกษาด้านความมั่นคงประจำทำเนียบขาวแห่งสหรัฐฯ ระบุว่าการระบาดของเชื้อไวรัสจะส่งกระทบต่อการเข้าซื้อการเกษตรสหรัฐฯในประเทศจีน
· ผลกระทบจากไวรัสโคโรนาต่อเศรษฐกิจ ตอนนี้ยังทำได้แค่ “คาดเดา” เท่านั้น
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างคาดการณ์กันว่าเศรษฐกิจจีนจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา และชะลอตัวลงยิ่งกว่าที่เคยคาดการณ์เอาไว้ ซึ่งทั่วโลกจะรู้สึกได้ถึงผลกระทบในจุดนี้ แต่ระดับของผลกระทบที่นักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์กันไว้ มีความแตกต่างกันอย่างมาก เนื่องจากข้อมูลของการติดเชื้อในประเทศจีนที่ยังขาดความชัดเจน
ในขณะที่นักวิเคราะห์จาก S&P 500 คาดว่า GDP จีนจะชะลอการเติบโตลงสู่ระดับ 5.0% โดยผลกระทบที่รุนแรงที่สุดจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรก จากนั้นเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวได้ในไตรมาสที่ 3 แต่ก็ได้ระบุว่า ตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่ไม่สมบูรณ์ และตัวเลขส่วนใหญ่ที่ออกมาตอนนี้เป็นเพียงแค่การ “คาดเดา” เท่านั้น
· ภาวะ Decoupling ระหว่างสหรัฐฯ-จีน อาจเกิดขึ้นเร็วกว่าเดิมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา
การพูดคุยกันในประเด็นภาวะ Decoupling หรือการแยกห่างกันระหว่างสหรัฐฯ-จีน ดูจะเริ่มกลับมาเป็นประเด็นถกเถียงกันในตลาดอีกครั้ง หลังจากที่ประเด็นดังกล่าวเคยถูกกล่าวถึงนับครั้งไม่ถ้วนตั้งแต่เกิดสงครามการค้าระหว่างทั้งสองประเทศขึ้นในปี 2018 ก่อนที่จะเริ่มซบเซาลงไปหลังการลงนามข้อตกลงเฟสแรก
ภาวะดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อภาคเทคโนโลยีเป็นหลัก หากจีนตัดสินใจเลิกพึ่งพาเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบัน สถานการณ์ในภาคเทคโนโลยีระหว่างทั้งสองประเทศก็ดูไม่ค่อยดีอยู่แล้ว
นักวิเคราะห์จากสถาบัน Milken Institute มีมุมมองว่า การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาอาจทำให้เกิดภาวะ Decoupling เร็วขึ้นยิ่งกว่าเดิม เนื่องจากบรรดาผู้ประกอบจะหันมาพิจารณาแหล่งการผลิตหรือห่วงโซ่อุปทานใหม่อีกครั้ง เพราะว่าการผลิตอาจไม่สามารถพึ่งพาจีนได้ทั้งหมดอีกต่อไป
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากจีนรายงานจำนวนผู้ป่วยจากไวรัสโคโรน่ารายใหม่ที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม นักลงทุนจึงคาดหวังว่าความต้องการเชื้อเพลิงในประเทศจีน อาจเริ่มฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของไวรัสได้
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับเพิ่ม 1.12 เหรียญ หรือ 2.1% ที่ระดับ 55.13 เหรียญ/บาร์เรล ทางด้าน ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับเพิ่มขึ้น 74 เซนต์ หรือ 1.5% ที่ระดับ 50.68 เหรียญ/บาร์เรล
· กระทรวงพลังงานสหรัฐฯหรือ EIA ทำการปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบปีนี้ โดยคาดว่าราคาน้ำมันดิบ Brent เฉลี่ยอยู่ท่ี่ 61 เหรียญ/บาร์เรล จากคาดการณ์เดิมที่ 65 เหรียญ/บาร์เรล และในช่วงไตรมาสแรกคาดจะมีราคาเฉลี่ยบริเวณ 58 เหรียญ/บาร์เรล จากคาดการณเดิมที่ 64 เหรียญ/บาร์เรล
แต่ภาพรวม EIA ยังคงคาดการณ์เฉลี่ยราคาน้ำมันดิบ Brent ไว้ที่ 68 เหรียญ/บาร์เรลในปี 2021