· ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นทำสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี เมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร โดยกลุ่มนักลงทุนหันกลับเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นที่ตอบรับกับรางานจากจีนที่ระบุว่า จำนวนการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาลดน้อยลงในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา จึงช่วยสนับสนุนคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์อาวุโสที่ระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในเดือนเม.ย. แม้ว่าการแพร่ระบาดในเวลานี้จะยังคงมีอยู่ก็ตาม
นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์ได้รับอานิสงส์จากการที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มจะแข็งแกร่งกว่าเศรษฐกิจของยูโรโซน
ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นที่ 99.015 จุด หลังจากที่ไปทำต่ำสุดช่วงต้นตลาดบริเวณ 98.7 จุด ในส่วนของค่าเงินเยนอ่อนค่าขึ้น 0.26% ที่ 110.06 เยน/ดอลลาร์ และค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง 0.41% ที่ 1.0869 ดอลลาร์/ยูโร แตะระดับต่ำสุดตั้งแต่พ.ค. ปี 2017
อย่างไรก็ดี ไม่เพียงแต่ดอลลาร์ที่ปรับแข็งค่าขึ้น ข่าวเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาล่าสุดก็ดูจะทำให้ดัชนี S&P500 และ Dow Jones ทำ All-Time Highs อย่างต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่มนักลงทุนผ่อนคลายมากขึ้นต่อมุมมองที่ธนาคารกลางต่างๆมีแนวโน้มเตรียมเพิ่มมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน หากไวรัสโคโรนาส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจโลก
· นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด แถลงการณ์ต่อคณะกรรมาธิการกำกับดูแลภาคธนาคารของวุฒิสภา โดยย้ำถึงความเชื่อมั่นของเขาต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้จะมีความกังวลบางส่วนว่าเศรษฐกิจอาจได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่ดูจะคุกคามด้านรายได้ และเพิ่มระดับหนี้สินภายในประเทศ ขณะเดียวกันก็ยังไม่มีเหตุผลใดจะมายุติสถานการณ์ของอัตราว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำ, ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการจ้างานที่เพิ่มขึ้น
จะเห็นได้ว่า การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯในเวลานี้เรียกได้ว่ายาวนานเป็นประวัติการณ์ในรอบ 11 ปี และค่าแรงรายปีเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 3% ขณะที่อัตราว่างงานอยู่ที่ 3.6% ประกอบกับการเติบโตของการจ้างงานที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นด้วย
· นายแพทริก ฮาร์เกอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดเฟีย กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยควรทรงตัวต่อไปก่อนท่ามกลางการเติบโตทางเศรษฐกิจและการใช้จ่ายผู้บริโภคที่ยังดำเนินไปได้ด้วยดี
· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา
* รายงานจาก The Guardian ระบุถึงยอดผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นอีก 245 ราย เมื่อเทียบกับระดับ 97 รายในวันก่อน ทำให้ภาพรวมอัตราการเสียชีวิตต่อวันปรับขึ้นมาที่ 250% และยอดผู้เสียชีวิตล่าสุดอยู่ที่ 1,359 ราย ขณะที่รายงานยอดผู้ติดเชื้อในวันพุธดูจะเพิ่มขึ้น 2,015 ราย ปรับตัวขึ้นใกล้ถึง 60,000 ราย
- องค์การอนามัยโลก และหน่วยงานด้านสุขภาพจาก UN ชี้ว่า ยังเร็วเกินไปที่จะกล่าวว่าไวรัสโคโรนา หรือ Covid-19 จะเข้าสู่จุดสูงสุดเมื่อใด รวมทั้งช่วงเวลาสิ้นสุดโรคระบาดแม้ว่าจะมียอดผู้ติดเชื้อใหม่อยู่ในอัตราที่ชะลอลงบ้างก็ตาม
- ทางการจีนพยายามต่อสู้กับความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจีนจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัว โดยจะเห็นได้ถึงการเพิ่มมาตรการเสริมความเชื่อมั่นนักลงทุนและสนับสนุนกิจกรรมภาคธุรกิจ ผ่านนโยบายทางการเงินต่างๆตลอดช่วง 2 – 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา รวมทั้งการอัดฉีดเม็ดเงินของธนาคารกลาง และการงดเว้นภาษีและปรับลดดอกเบี้ย
ด้านนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ให้คำมั่นว่าจะทำการปรับลดภาษีและช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโณนา และกำลังพยายามที่จะยับยั้งผลกระทบที่จะเกิดต่อเศรษฐกิจจีน
- นักวิเคราะห์จาก Milken Institute ระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาดูจะนำมาซึ่งสภาวะ “Decoupling” หรือการแยกห่างกันระหว่างสหรัฐฯและจีนที่อาจก่อตัวเร็วขึ้น เนื่องจากบรรดาผู้ประกอบจะหันมาพิจารณาแหล่งการผลิตหรือห่วงโซ่อุปทานใหม่อีกครั้ง เพราะการผลิตอาจไม่สามารถพึ่งพาจีนได้ทั้งหมดอีกต่อไป
- กลุ่มโอเปกทำการปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในปีนี้ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา โดยคาดว่าจะมีอุปสงค์โดยเฉลี่ยปีนี้ที่ 29.3 ล้านบาร์เรล/วัน หรือลดลงอย่างน้อย 200,000 บาร์เรล/วัน พร้อมระบุว่ามีผลผลิตน้ำมันในเดือนม.ค.ลดลง ตามข้อตกลงการปรับลดอุปทานร่วมกันของประเทศสมาชิก
- สายการบินโดยส่วนใหญ่ประกาศยกเลิกเที่ยวบินกว่า 85,000 เที่ยวที่เดินทางไปยังจีน เหตุจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
- ธนาคารชั้นนำอย่าง UOB กล่าวถึงผลกระทบที่ได้รับจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่จะส่งผลให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มจะอ่อนตัวลง รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจจะได้รับผลกระทบตามกันมา ดังนั้น UOB จึงต้องช่วยเหลือกลุ่มลูกค้าบริษัท โดยเฉพาะส่วนของ SME ด้วยการอัดฉีดสภาพคล่องในระยะสั้น ด้วยการจัดสรรเม็ดเงินเพื่อเยียวยาผลกระทบดังกล่าวมูลค่า 2.16 พันล้านเหรียญ
- รายงานจาก CNBC เผยว่า Carnival Cruise Line คาดว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาจะส่งผลให้รายได้ปีนี้ลดลงไปมากถึง 65 เซนต์ต่อหุ้น หากการเดินเรือสำราญยังถูกกักจากมาตรการการจัดการในแถบเอเชีย
- Mobile World Congress ประกาศยกเลิกจัดงานที่เมืองบาเซโลนา ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่ส่งผลต่อการเดินทางและสถานการณ์ที่กำลังดำเนินไป
· สถานการณ์ทางการเมืองในสหรัฐฯ ที่ล่าสุดดูเหมือน นายเบอร์นีย์ แซนเดอร์ส ผู้ลงท้าชิงตัวแทนพรรคเดโมแครตในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯดูจะได้รับเสียงข้างมากและเป็นตัวแทนพรรค ส่งผลให้อดีตประธาน Goldman Sachs อย่าง ลอยด์ แบลงก์เฟน ร่วมกับ นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯแสดงความวิตกกังวลว่า หากนายแซนเดอร์ส ได้รับชัยชนะก็อาจจะทำลายการเติบโตทางเศรษฐกิจสหรัฐฯได้ เนื่องจากในการหาเสียงของเขาใช้นโยบายแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของชนชั้นร่ำรวยเป็นประเด็นสำคัญ
· ราคาน้ำมันดิบปิดปรับขึ้นเกือบ 3% ท่ามกลางรายงานจากจีนที่ระบุว่า ยอดการติดเชื้อรายวันของไวรัสโคโรนาปรับตัวลง จึงจุดประกายให้นักลงทุนกลับมาคาดหวังต่อการเห็นอุปสงค์น้ำมันอาจกลับมาฟื้นตัวดอีกครั้ง เนื่องจากจีนเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก
น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับขึ้น 1.78 เหรียญ หรือ +3.3% ที่ระดับ 55.79 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปิดปรับขึ้น 1.23 เหรียญ หรือ +2.5% ที่ 51.17 เหรียญ ในขณะที่น้ำมันดิบ 2 ชนิดมีการปิดปรับขึ้นทำสูงสุดตั้งแต่ม.ค. แม้ว่ารายงานจากรัฐบาลสหรัฐฯจะเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯในสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้น 7.5 ล้านบาร์เรลก็ตาม