· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา
- เช้านี้รายงานจากหน่วยงานด้านสุขภาพท้องถิ่นของจีน ระบุว่า พบผู้ติดเชื้อใหม่ 1,933 ราย ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีก 100 คนในวันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นเกือบ 5% จากวันเสาร์ แต่ภาพรวมยอดผู้เสียชีวิต 139 รายในวันเสาร์ดูจะเป็นอัตราการตายที่ลดลง
* รายงานจาก Bloomberg เผยว่า ข้อมูลล่าสุดในเช้านี้ยอดผู้เสียชีวิตจากไวรัสโคโรนารวมแล้วปรับตัวขึ้นมาที่ 1,765 ราย จากจำนวน 1,696 รายเมื่อวานนี้ ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มขึ้นรวมแล้วอยู่ที่ระดับ 70,400 ราย
- นักท่องเที่ยวจีนวัย 80 ปีที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาพบว่าเสียชีวิตแล้วที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นการเสียชีวิตรายแรกในแถบยุโรป ขณะที่การแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าวยังคงส่งผลให้ภาคโรงงานอุตสาหกรรมในจีนยังคงปิดทำการ รวมทั้งมาตรการกักกันที่ดูทั้งหมดนี้จะเป็นอุปสรรคต่อภาวะห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก
- นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน กล่าวว่า จีนจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาสภาพเศรษฐกิจและการกำกับดูแลทางสังคมให้เป็นไปด้วยดีเพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาและเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงภาวะ Panic ของทุกที่อาจนำไปสู่หายนะของประเทศ
- รองประธานคณะกรรมาธิการกำกับดูแลภาคธนาคารและกลุ่มประกันภัย กล่าวว่า จีนอาจมีการเร่งการปล่อยเงินกู้และการสร้างเครดิตที่เป็นหัวใจหลักของภาคการลงทุน พร้อมกับสนับสนุนภาคบริษัทขนาดเล็กรวมทั้งภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา
- ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟ คาดหวังว่า รัฐบาลและธนาคารกลางต่างๆจะดำเนินการร่วมกันเพื่อรับมือกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ที่ดูจะกลายเป็นปัญหาที่สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ
- นายแลรี่ คุดโลว์ ที่ปรึกษาทำเนียบขาวของสหรัฐฯ เผยว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในจีนอาจส่งผลกระทบต่อจีดีพีไตรมาสแรกให้ปรับลงได้ 0.2 – 0.3%
- รายงานจาก CNBC ระบุว่า สิงคโปร์ ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบเชิงลบที่ย่ำแย่ที่สุดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา พร้อมทั้งรัฐบาลมีการปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจลงในวันนี้ โดยเช้านี้การประกาศจีดีพี Q4/2019 พบว่าขยายตัวได้ 1% แต่ในปี 2020 คาดจะขยายตัวได้เพียง 0.5 – 1.5% ลดลงจากกรอบเดิมที่ 0.5 – 2.5%
- การเติบโตทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ดูจะได้รับผลกระทบเชิงลบและทำให้อัตราการเติบโตชะลอตัวลงเร็วที่สุดในช่วง 6 ปีเมื่อเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา จากภาษียอดขายภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับอุปสงค์ทั่วโลกที่อ่อนแอจากการใช้จ่าย ละการอุปโภคบริโภคต่างๆ จึงมีแนวโน้มจะทำให้บรรดาผู้กำหนดนโยบายของญี่ปุ่นอยู่ภายใต้แรงกดดันที่ว่ามานี้ และทำให้ต้องเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
- ผลสำรวจ Tankan จากรอยเตอร์ส เผยว่า ความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาดูจะเข้ากระทบเศรษฐกิจไปทั่วทุกแห่ง โดยจะเห็นได้จากการที่กลุ่มผู้ผลิตในญี่ปุ่นต่างก็มีมุมมองไม่สดใสในเดือนก.พ. และคาดว่าความเชื่อมั่นภาคธุรกิจจะทรงตัวหรืออ่อนตัวลงในช่วง 3 เดือนข้างหน้า ท่ามกลางประเด็นไวรัสโคโรนาที่สร้างความไม่แน่นอนมากขึ้นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลก รวมทั้งผลกระทบจากภาษียอดขายที่เพิ่มขึ้นของญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนต.ค.
· ค่าเงินยูโรรีบาวน์ขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ในคืนวันศุกร์ ท่ามกลางหุ้นสหรัฐฯที่ปรับตัวลงจาการะดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจยูโรโซนที่น่าจะส่งผลให้ยูโรยังอ่อนค่าได้ในอนาคต ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากไวรัสโคโรนาที่ดูจะเข้ากระทบเศรษฐกิจยุโรปด้วย ขณะที่บริษัท Fiat Chrysler ผู้ผลิตรถยนต์ทำการปิดสาขาในประเทศเซอร์เบียร์ เนื่องจากมาตรการคุมเข้มของจีนที่ดูจะส่งผลต่อการดำเนินงานของยุโรปเช่นกัน
ด้านเศรษฐกิจเยอรมนีอ่อนแอลงจากภาวการณ์อุปโภคบริโภคของภาคเอกชนและค่าใช้จ่ายภายในประเทศที่ลดลง โดยค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงไปแตะ 1.0826 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งเป็นอ่อนค่ามากที่สุดตั้งแต่ พ.ค. ปี 20107 ก่อนจะรีบาวน์ปิดปรับขึ้นได้เล็กน้อยที่ 1.0835 ดอลลาร์/ยูโร
ดัชนีดอลลาร์ปรับลงเล็กน้อยที่ 99.106 จุด จากระดับ 99.135 จุด ขณะที่ค่าเงินเยนทรงตัวที่ 109.81 เยน/ดอลลาร์
· ในคืนวันศุกร์รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศจะทำการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากยุโรปในหมวดอะไหล่เครื่องบิน โดยเพิ่มภาษีจาก 10% สู่ระดับ 15% ที่จะมีผลบังคับใช้ 18 มี.ค. แต่ระหว่างนี้สำนักงานกำกับดูแลด้านการค้าของสหรัฐฯ เผยว่า ยังคงเปิดโอกาสให้เจรจากันได้อยู่
· ราคาน้ำมันดิบปิดปรับตัวสูงขึ้นกว่า 1% ขณะที่ภาพรวมในสัปดาห์ที่แล้วปรับตัวขึ้นได้เป็นสัปดาห์แรกนับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนม.ค.ที่ผ่านมา โดยกลุ่มนักลงทุนที่กลับมาประเมินว่าผลกระทบจากไวรัสโคโรนาอาจเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น ท่ามกลางความคาดหวังที่จะเห็นธนาคารกลางจีนทำการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่องเพื่อยับยั้งภาวะชะลอตัว
น้ำมันดิบ Brent ปรับตัวสูงขึ้น 98 เซนต์ หรือ +1.74% ที่ 57.32 เหรียญ/บาร์เรล และรายสัปดาห์ปรับขึ้นได้ประมาณ 5.23% ซึ่งเป็นการปิดรายสัปดาห์แดนบวกครั้งแรกในรอบ 6 สัปดาห์
ด้านราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 63 เซนต์ หรือ +1.23% ที่ 52.05 เหรียญ และรายสัปดาห์ปิด +3.44%
อย่างไรก็ดี น้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลงมาแล้วประมาณ 15% ในปีนี้ จากความกังวเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่น่าจะสร้างอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก