· ค่าเงินเยนมีแนวโน้มปิดตลาดสัปดาห์นี้อ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่ง ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรนา ทำให้นักลงทุนถอนเม็ดเงินออกจากตลาดเอเชีย และหันเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ โดยเฉพาะค่าเงินดอลลาร์ ทองคำ และพันธบัตรมากขึ้น
โดยค่าเงินเยนแม้จะค่อนข้างทรงตัวในวันนี้ แต่รายสัปดาห์มีแนวโน้มอ่อนค่า 2% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังจากเคลื่อนไหวแดนลบตลอดช่วง 2 วันทำการที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากตัวเลขทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่อ่อนแอและความกังวลไวรัสโคโรนา
ด้านค่าเงินหยวนค่อนข้างทรงตัวใกล้ระดับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 2 เดือนแถว 7.0286 หยวน/ดอลลาร์
ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์เคลื่อนไหวใกล้ระดับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 11 ปี แถว 0.6603 ดอลลาร์ ส่วนค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ดอลลาร์เคลื่อนไหวใกล้ระดับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 4 เดือนแถว 0.6310 ดอลลาร์
ขณะที่ดัชนีดอลลาร์ค่อนข้างทรงตัวใกล้ระดับแข็งค่าที่สุดในรอบ 3 ปี เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักๆ
ค่าเงินยูโรอ่อนค่าทำระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี ล่าสุดเคลื่อนไหวแถว 1.0790 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่ค่าเงินปอนด์แข็งค่าเล็กน้อยจากระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือนที่ 1.2890 ดอลลาร์/ปอนด์
· EUR/USD short-term technical outlook
บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่าค่าเงินยูโรเทียบกับดอลลาร์ (EUR/USD) กำลังเคลื่อนไหวค่อนข้างทรงตัวแถว 1.0800 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ขณะที่สัญญาณทางเทคนิคเริ่มชี้ถึงทิศทางขาลงที่อ่อนแรง แต่ยังไม่เพียงพอที่จะยืนยันว่าค่าเงินได้ลงไปทำจุดต่ำสุดแล้วแต่อย่างใด ในอีกมุมหนึ่ง กราฟ 4 ช.ม. แสดงให้เห็นว่าค่าเงินเคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยราย 20 วัน Indicators เริ่มฟื้นตัวขึ้นมาจากภาวะ Oversold แต่ยังไร้ทิศทางระยะสั้นที่ชัดเจน ขณะที่ภาพรวมของปัจจัยพื้นฐานยังคงชี้ไปในทิศทางลบ ซึ่งหากค่าเงินอ่อนค่าต่ำกว่าระดับ 1.0770 ดอลลาร์/ยูโร จะทำให้ทิศทางขาลงดำเนินต่อไป
แนวรับ: 1.0770 1.0725 1.0690
แนวต้าน: 1.0840 1.0885 1.0910
· USD/JPY Price Analysis: จับตาที่แนวต้านระยะยาว
บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่าค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินเยน (USD/JPY) ย่อตัวลง 0.07% แถว 112.00 เยน/ดอลลาร์ในช่วงก่อนเปิดตลาดยุโรปวันศุกร์นี้ แต่ค่าเงินยังยืนเหนือเส้นเทรนขาลงระยะยาวในกราฟรายสัปดาห์
หากค่าเงินปิดตลาดสัปดาห์นี้เหนือแนวต้าน 111.40 เยน/ดอลลาร์ จะมีโอกาสปรับขึ้นต่อไปถึงระดับ 112.40 เยน/ดอลลาร์ และระดับสูงสุดของเดือน พ.ย. ปี 2018 ที่ 114.20 เยน/ดอลลาร์
และหากค่ายืนเหนือ 114.20 เยน/ดอลลาร์ได้ ตลาดจะเริ่มจับตาระดับ 114.55 เยน/ดอลลาร์ ที่เป็นระดับสูงสุดของเดือน ต.ค. ปี 2019
ในขณะเดียวกัน กรณีที่ค่าเงินย่อตัวลงและปิดตลาดสัปดาห์นี้ต่ำกว่าระดับ 111.40 เหรียญ ค่าเงินจะมีโอกาสย่อตัวลงไปถึงเส้นค่าเฉลี่ยราย 200 สัปดาห์ที่ 109.70 เยน/ดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม ระดับ 111.00 เยน/ดอลลาร์ และระดับสูงสุดของ ม.ค. ปี 2020 ที่ 110.30 เยน/ดอลลาร์ จะเป็นแนวรับที่คอยรองรับการปรับร่วงลงของค่าเงินอยู่
สถานการณ์ไวรัสโคโรนา
· รายงานจากจีน ระบุถึง ยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นในวันนี้ สวนทางจากรายงานการทรงตัวเมื่อวันก่อน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ กล่วว่า การเพิ่มขึ้นล่าสุด สะทอ้นว่าอัตราการติดเชื้อในระดับสูงสุดยังไม่เกิดขึ้น โดยยอดผู้ติดเชื้อล่าสุดปรับขึ้นมาที่ 76,716 ราย และเส่ียชีวิตที่ 2,247 ราย เมื่อเทียบกับระดับติดเชื้อวานนี้ที่ 75,465 ราย ด้านผู้เสียชีวิตวันก่อนอยู่ที่ 2,236 ราย
โดย ณ ที่นี้ ผู้เสียชีวิตในจำนวนดังกล่าวมี 11 รายที่เสียชีวิตนอกประเทศจีน โดยข้อมูลล่าสุดนั้น 1 ราย เสียชีวิตที่เกาหลีใต้, 2 ราย ที่ประเทศญี่ปุ่น และ อีก 2 ราย ที่อิหร่าน
พร้อมกันนี้ยอดผู้ติดเชื้อในเกาหลีใต้พุ่งขึ้นกว่า 73 ราย ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 104 ราย โดยส่วนใหญ่อยู่ทางเมืองแดกุ เป็นหลัก
· พบการติดเชื้อไวรัสภายในเรือนจำนอกมณฑลหูเป่ย
มีรายงานผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายใหม่ในประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้ต้องขังในเรือนจำ 2 แห่งภายในพื้นที่นอกมณฑลหูเป่ยจำนวน 234 ราย ขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่รับผิดชอบดูแลเรือนจำทั้ง 2 แห่งถูกสั่งปลดออกจากตำแหน่งแล้ว
ทั้งนี้ ผู้ต้องขังทั้ง 234 รายที่ติดเชื้อ ถือเป็นสัดส่วนเกือบทั้งหมดของรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่นอกมณฑลหูเป่ยเมื่อวานนี้ ที่รายงานออกมาที่ 258 ราย
· จีนยอมรับ ภาคนำเข้า-ส่งออกจะชะลอตัวจากปัญหาไวรัส
รายงานจากกระทรวงพาณิชย์จีน ระบุว่าการนำเข้าและส่งออกของจีนในเดือน ม.ค. และ ก.พ. จะปรับตัวลดลง เนื่องจากการระบาดของไวรัสได้ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายมนประเทศ พร้อมระบุว่ารัฐบาลจะมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของไวรัส
การจำกัดการเดินทางในหลายๆพื้นที่ประเทศจีน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อจำกัดการระบาดของไวรัส กำลังกดดันการกลับมาดำเนินการผลิตของหลายๆอุตสาหกรรมในประเทศ เนื่องจากการขาดแคลนแรงงานและวัตถุดิบ และผลกระทบดังกล่าวเริ่มที่จะขยายไปยังห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก
เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก และมีสัดส่วนคิดเป็น 20% ของ GDP ทั้งประเทศ นักวิเคราะห์จึงมองว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลง อาจทำให้การเติบโตของ GDP จีนในไตรมาสแรกนี้ชะลอตัวลงไปมากกว่าครึ่งหนึ่งของคาดการณ์เดิมที่ 6%
· รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์จีน กล่าวว่า ภาพรวมการลงทุนในบริษัทต่างชาติในเซี่ยงไฮ้, ชางดง หูนาน และพื้นที่อื่นๆ เผยว่า มีอัตราการกลับมาเปิดทำการเพิ่มขึ้นกว่า 80% แล้ว โดยเขตพื้นที่เพื่อการลงทุนในต่างประเทศส่วนใหญ่กลับมาเปิดทำการได้
· อ้างอิงจากสมาคมรถโดยสารประจำทางจีน เผยว่า ในช่วง 16 วันแรกของเดือนก.พ. ปรับตัวลดลงไป 92% เมื่อเทียบกับข้อมูลในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
· นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ประธานบีโอเจ มีความเห็นว่าการระบาดของไวรัสโคโรนาจะเป็นประเด็นใหม่ที่ถูกพูดถึงในการประชุม G20 ที่จะจัดขึ้นในช่วงสุปสัปดาห์นี้อย่างแน่นอน
ในส่วนของการดำเนินนโยบายการเงินของบีโอเจ นายคุโรดะมองว่ายังเร็วเกินไปที่จะตัดสินว่ามีความจำเป็นต้องใช้นโยบายทางการเงินเพื่อบรรเทาผลกระทบจากเชื้อไวรัสหรือไม่ แต่บีโอเจมีความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายอย่างไม่ลังเลหากมีความจำเป็น
· รัฐมนตรีกระทรวงการคลังและศึกษาธิการของสิงคโปร์ เผยว่า สิงคโปร์ยังคงพร้อมอัดฉีดมาตรการทางการเงินเพิ่มเติมหากจำเป็นต้องช่วยประคองเศรษฐกิจจากปัญหาภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
· การระบาดของไวรัสโคโรนาจากประเทศจีน ไม่ได้ทำให้การประท้วงในฮ่องกงอ่อนแอลงแต่อย่างใด ในทางกลับกัน ดูเหมือนว่าการประท้วงรัฐบาลจะยังคงดำเนินต่อไปอย่างหนักหน่วง และเริ่มมีบรรดาผู้นำธุรกิจที่เข้าร่วมการประท้วง เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมมีเหตุผลเพิ่มเติมในการประท้วงรัฐบาลฮ่องกง คือความไม่พึงพอใจต่อการบริหารของรัฐบาล ที่ไม่ยอมปิดชายแดนกีดกันชาวจีนออกจากประเทศ ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสในฮ่องกงเพิ่มสูงขึ้น
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงในวันนี้ ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปสงค์น้ำมันในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาเวลานี้ ขณะที่กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันต่างมีท่าทีที่จะดำเนินการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนตลาด
น้ำมันดิบ Brent ปรับลง 28 เซนต์ หรือ -0.5% ที่ 59.03 เหรียญ/บาร์เรล ทางด้านน้ำมันดิบ WTI ปรับลง 28 เซนต์ หรือ -0.5% ที่ระดับ 53.60 เหรียญ/บาร์เรล
การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในเกาหลีใต้ ที่เพิ่มขึ้นในเขตเมืองหลักดูจะส่งผลให้เกิดสภาวะ "Super-Spreading" ในขณะที่จีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ก็ดูจะมียอดผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น แต่ทางการจีนก็ยังคงไม่หยุดยั้งความพยายามที่จะยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าวที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจ
นักวิเคราะห์น้ำมันจาก Stratfor กล่าวว่า หากผลกระทบสะท้อนในระดับปานกลางมากขึ้น ก็อาจยิ่งเร่งให้รัสเซียตัดสินใจเข้าร่วมการปรับลดกำลังการประชุมในวันที่ 5-6 มี.ค. ร่วมกับทาง OPEC+