· ดัชนีดาวโจนส์และ S&P500 ปรับตัวลงกว่า 3% และเป็นการปิดปรับตัวลงต่อเนื่อง 4 วันทำการ ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่วิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาและการส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก โดยดัชนีดาวโจนส์ปิด -879.44 จุด หรือ -3.15% ที่ 27,081.36 จุด ด้านS&P500 ปิด -3.03% ที่ 3,128.21 จุด ทางด้าน Nasdaq ปิด -2.77% ที่ 8,965.61 จุด
แม้ตลาดจะตระหนักถึงการแพร่ระบาดของไวรัสชะลอตัวลง แต่นักลงทุนส่วนใหญ่ยังกังวลต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นมากกว่า โดยเฉพาะในไตรมาสแรก และครึ่งปีแรก
ภาพรวมในช่วงปิดตลาดจะเห็นได้ว่าดัชนี Nasdaq ปรับตัวลงจากที่เคยทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์ไว้ โดยลดลดงกว่า 8.7% ด้าน S&P500 ลดลงจากสูงสุดเป็นประวัติการณ์ลงมาประมาณ 7.6% ขณะที่ดาวโจนส์ร่วงลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ทำไว้เมื่อ 12 ก.พ. โดยลดลงมาแล้วกว่า 8.4%
· ความกังวลไวรัสโคโรนากดดันตลาดชิฟสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะปรับฐาน
ดัชนีวัดผลประกอบการของผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในสหรัฐฯปรับร่วงลงอย่างหนักและเข้าสู่ภาวะปรับฐานเมื่อคืนนี้ โดยเป็นการปรับร่วงลงติดต่อกัน 4 วันทำการและด้วยอัตราที่มากที่สุดนับตั้งแต่สมัยวิกฤติทางการเงิน ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนาทั่วโลกทำให้ตลาดมีความกังวลต่อแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโลก
ดัชนี Philadelphia Semiconductor Index หรือ .SOX ปรับร่วง 3.2% จากระดับสูงสุดของวันที่ 19 ก.พ. ที่ 12% นับเป็นการปรับร่วงลงติดต่อกัน 4 วันทำการที่ย่ำแย่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008
ทั้งนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่มองว่าดัชนีมีแนวโน้มที่จะปรับร่วงลงได้อีกถึง 10% จากระดับสูงสุด
· ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์เช้านี้เปิดปรับขึ้นประมาณ 123 จุด ขณะที่ S&P500 เปิดปรับขึ้นประมาณ 0.3% โดยรีบาวน์กลับหลังจากที่ดัชนีหลักสหรัฐฯร่วงลงหนักเมื่อคืนนี้
ด้านดัชนี Cboe Volatility Index ที่เป็นมาตรวัดความกลัวของนักลงทุนพบว่าปรับขึ้นไปกว่า 11% แตะ 27.85 จุด ซึ่งเป็นสูงสุดนับตั้งแต่ ธ.ค. ปี 2018 โดยมีสาเหตุความกังวลหลักมาจากไวรัสโคโรนา
· ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับลงท่ามกลางความกังวลของไวรัสที่แพร่กระจายไปทั่วโลก โดยดัชนี Stoxx600 ปิด -1.8% ด้าน FTSE MIB ของอิตาลียังคงปรับตัวลงต่อ ขณะที่สวิสเซอร์แลนด์พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 1 ราย และออสเตรเลียเมื่อวานยืนยันถึงการพบผู้ติดเชื้อครั้งแรก 2 ราย เมื่อวานนี้
· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลง ตามการร่วงลงของตลาดหุ้นสหรัฐฯเป็นวันที่ 2 เนื่องจากเหล่านักลงทุนหันมากังวลเรื่องความปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรนาไวรัสที่อยู่นอกประเทศจีน
โดยดัชนี Nikkei ลดลง 1.07% หลังจากร่วงลงไปมากกว่า 3% เมื่อวานนี้ ด้านดัชนี Topix ลดลง 1.07% ดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้ลดลง 1.79% และดัชนี Kosdaq ลดลง 1.62%
รวมทั้งดัชนี S&P/ASX 200 ของออสเตรเลียก็ลดลงเช่นเดียวกัน 1.74% เนื่องจากตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในแดนลบ
ขณะที่ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 0.59%
ทั้งนี้ เหล่านักลงทุนยังคงเฝ้าดูความคืบหน้าเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรนาไวรัสที่แพร่กระจายออกไปนอกประเทศจีน โดยมีคำเตือนอย่างเป็นทางการด้านสุขภาพของสหรัฐฯ เมื่อวานนี้ว่า การระบาดดังกล่าวน่าจะกลายเป็นโรคระบาดทั่วโลก
· นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ระหว่าง 31.65 - 31.80 บาท/ดอลลาร์ สำหรับปัจจัยสำคัญตลาดยังคงจับตาดูสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) และทิศทางการลงทุนของตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เช่น การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19), วิกฤตภัยแล้ง, การผันผวนของค่าเงินบาท, ความขัดแย้งทางการค้า ที่ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนเป็นอย่างมาก สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิกจึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือกลุ่มลูกค้าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ใช้บริการสินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อเพื่อธุรกิจระหว่างประเทศ และสินเชื่อเช่าซื้อ รวมถึงการช่วยเหลือพนักงานและลูกจ้างของธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อ และสินเชื่อบัตรเครดิต