· ดัชนีดาวโจนส์ปิดปรับลง 123.77 จุด หรือคิดเป็น -0.46% ที่ระดับ 26,957.59 จุด โดยภาพรวมช่วง 3 วันทำการดัชนีดาวโจนส์ปิดปรับตัวลงแล้วเกือบ 2,000 จุด ด้านดัชนี S&P500 ปิดปรับลง – 0.38% ที่ 3,116.39 จุด และ Nasdaq ปิดรีบาวน์ +0.17% ที่ 8,980.78 จุด
ดัชนี S&P500 ปิดปรับตัวลงติดต่อกัน 5 วันทำการ ขณะที่ราคาปรับตัวลง แม้ว่าจะมีอัตราการปรับลงที่ชะลอตัวลงในช่วง 2 – 3 วันทำการ ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของไวรัสโคโรนาและเศรษฐกิจ ขณะที่แรงกดดันในตลาดยังคงเพิ่มขึ้นจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ที่ระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสในเวลานี้กำลังกลายเป็นแบบ “Pendemic” หรือการระบาดทั่วเป็นมุมกว้าง
ด้านกลุ่มนักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงระมัดระวังและจับตาไปยังความชัดเจนมากขึ้นของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
อย่างไรก็ดี ดัชนีดาวโจนส์ปิดปรับลงกว่า 8.8% ซึ่งต่ำกว่าระดับปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ทำไว้ในวันที่ 12 ก.พ. ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดปรับลงต่ำกว่า 8% จากระดับปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ด้าน Nasdaq ปิดปรับลงต่ำจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการ์ประมาณ 8%
· เช้านี้ดัชนี Dow Jones Futures ปรับตัวลงกว่า 170 จุด ท่ามกลางสัญญาณที่มีโอกาสเห็นดัชนีร่วงลงต่ำกว่า 200 จุด ด้าน S&P500 และ Nasdaq เปิดปรับลงกว่า 0.7%
ท่ามกลางรายงานจาก Washington Post ที่ระบุว่า พบผู้ติดเชื้อโคโรนาที่รัฐแคลิฟอร์เนียทางตอนเหนือของสหรัฐฯเป็นรายแรก
ความกังวลกี่ยวกับไวรัสโคโรนาดูจะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการภาคบริษัท และการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก ขณะที่เกาหลีใต้ยืนยันการพบผู้ติดเชื้อสูงกว่า 1,200 ราย ขณะที่อิตาลีใกล้ระดับ 400 ราย
ภาพรวมดัชนีหลักของสหรัฐฯต่างปรับตัวลงมาแล้วกว่า 8% ต่ำกว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ทำไว้ในช่วงต้นเดือน
· หุ้นไมโครซอฟร่วงลงกว่า 2% เมื่อคืนนี้ จากบริษัทที่กล่าวว่าอาจจะพลาดเป้าผลประกอบการไตรมาสแรก อันหมายรวมถึง Windows ด้วยเช่นกัน หลังจากที่ช่วงต้นสัปดาห์บริษัท HP ซึ่งเป็นผู้ขาย Windows PCs รายใหญ่ที่สุดก็คาดว่ายอดขาย Windows 10 จะปรับัตวลดลง ซึ่งเป็นการประกาศตามมาต่อจากบริษัท Apple ที่ไม่คาดว่าจะสามารถบรรลุเป้าผลกำไรในไตรมาสแรกนี้ได้เพราะผลกระทบจากไวรัสโคโรนา
· นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แสดงความเชื่อมั่นว่าการร่วงลงของตลาดหุ้นจะสามารถฟื้นตัวกลับได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่ความกังวลในตลาดหุ้นมาจากการที่พรรคเดโมแครตอาจได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง จึงส่งผลให้เกิดแรงเทขายเข้ามาในไวรัสโคโรนา
นอกจากนี้ ไวรัสโคโรนาที่กำลังแพร่ระบาดทั่วโลกที่อาจสร้างผลเสียต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกจึงกระตุ้นให้เกิดแรงเทขายที่เกิดในตลาดหุ้นตั้งแต่เริ่มต้นสัปดาห์
· หุ้นญี่ปุ่นเช้านี้ปรับตัวลงไปเกือบ 1% ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อสูงกว่า 81,000 ราย และเสียชีวิตกว่า 2,700 ราย โดยดัชนีนิกเกอิเปิด -1.31% ด้าน Topix เปิด -1.27% ขณะที่ดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้มีแนวโน้มจะเปิดปรับลงเช่นกัน
ดัชนี S&P/ASX200 ปิด -0.36% ท่ามกลางหุ้นธนาคารกลางรายใหญ่ๆในออสเตรเลียที่เกิดแรงเทขาย
· นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.69-31.99 บาท/ดอลลาร์ โดยเมื่อวานนี้ปรับอ่อนค่าลงไปมากสุดที่ระดับ 31.91 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นผลจากการรับข่าวการระบาดของไวรัสโควิด- 19 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขแถลงพบผู้ป่วยยืนยัน 3 คน ซึ่งเป็นคนในครอบครัวเดียวกันได้รับเชื้อจากการเดินทางกลับจากญี่ปุ่น ซึ่งเป็น ประเทศกลุ่มเสียง และผู้ป่วยมีการปกปิดข้อมูลประวัติการเดินทาง ด้านหุ้นไทยก็ร่วงลงไปกว่า 70 จุด น่าจะเป็นผลจากที่ตลาดรับข่าวนี้เช่นกัน ส่วนปัจจัยต่างประเทศวันนี้ ยังไม่มีอะไรใหม่ๆเข้ามากระทบ
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- กระทรวงสาธารณสุข แถลงว่า พบคนไทย 3 คนในครอบครัวเดียวกันติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) โดยผู้เป็นปู่และย่าเดินทางกลับมาจากไปเที่ยวฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น และนำเชื้อกลับมาติดหลานชายวัย 8 ขวบ
- กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวถึงการปรับตัวลงของตลาดหุ้นไทยที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงหลุด 1,400 จุด ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี นับตั้งแต่ปี 59 ซึ่งดัชนีต่ำสุดของปีอยู่ที่ 1,261 จุด จากความกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) เป็นหลัก
- เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ซึ่งได้รับโปรดเกล้าฯเมื่อวันที่24 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 62 ซึ่งมีกรอบวงเงินรายจ่ายทั้งสิ้น 3,200,000,000,000 บาท