มุมมองฝั่งมองขึ้น
ประธานสถาบัน Phoenix Futures and Options มองว่าเนื่องจากสถานการณ์ของไวรัสโคโรนายังคงย่ำแย่ลงอย่างต่อเนื่อง จึงมองราคาทองคำเป็นขาขึ้นสำหรับสัปดาห์นี้ แม้อาจจะมีความผันผวนค่อนมากก็ตาม
บรรณาธิการ Eureka Miner’s Report ระบุว่าราคาทองคำเมื่อสัปดาห์ก่อนปิดตลาดลดลง เนื่องจากการเทขายทำกำไรและปริมาณอุปสงค์ในทองคำรูปพรรณที่ต่ำในประเทศ น่าจะเป็นปัจจัยที่กดดันราคาทองคำ แต่มองว่าสัปดาห์นี้ราคาทองคำจะปรับตัวสูงขึ้นได้ เนื่องจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ไวรัสว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯเช่นใด พร้อมคาดว่าราคาทองคำน่าจะฟื้นตัวขึ้นมาแถวระดับ 1,650 เหรียญ และถึงระดับ 1,800 เหรียญในช่วงสัปดาห์ถัดๆไป
ประธานสถาบัน Adrian Day Asset Management มองว่าราคาทองคำจะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ของตลาดเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ซึ่งราคาทองคำน่าจะมีความแข็งแกร่งในสภาวะเช่นนี้
มุมมองฝั่งมองลง
นักวิเคราะห์จากสถาบัน LaSalle Futures Group มองว่าแนวโน้มระยะสั้นของราคาเป็นทิศทางขาลง เนื่องจากราคาได้ปรับลงต่ำกว่า 1,621 เหรียญ ซึ่งนับเป็นระดับ 50% retracement ระหว่างระดับต่ำสุดของวันที่ 5 ก.พ. ที่ 1,551.10 เหรียญ และระดับสูงสุดของวันจันทร์ที่ 1,691.70 เหรียญ
นักบริหารเงินจากสถาบัน Incrementum AG มองว่าการที่นักลงทุนถูก Call margin เป็นวงกว้าง รวมถึงมุมมองของตลาดเป็นทิศทางขาขึ้นสำหรับทองคำมากเกินไป ดูจะเป็นปัจจัยที่น่ากังวล โดยเฉพาะความเป็นไปได้ที่บรรดาธนาคารกลางจะพิจารณาผ่อนคลายนโยบายหรือมีประกาศอะไรบางอย่างอย่างเร็วที่สุดภายในช่วงสุดสัปดาห์นี้
นักวิเคราะห์จาก RJO Futures มองราคาทองคำเคลื่อนไหว Sideways โดยถึงแม้ว่าการเทขายในตลาดหุ้นน่าจะช่วยหนุนให้ราคาทองคำปรับขึ้นได้ แต่เนื่องจากมีกระแสคาดการณ์ว่าเฟดอาจมีการดำเนินการบางอย่างเพื่อช่วยหนุนตลาด จึงอาจเป็นปัจจัยที่กดดันปริมาณอุปสงค์ในทองคำลง และอาจทำให้เกิดแรงเทขายทำกำไรในทองคำลงมาได้
นักวิเคราะห์จาก SIA Wealth Management ทองราคาทองคำ Sideways สำหรับสัปดาห์นี้
โดยสัญญาณของฝั่งขาลงมาจากการที่ราคาทองคำได้ขึ้นไปทำระดับสูงสุดเมื่อสัปดาห์ก่อนและกำลังปรับลงอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายใหม่ที่ดูจะลดน้อยลงเรื่อยๆ ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจน่าจะเริ่มผ่อนคลายในอีกสักระยะหนึ่งได้
สำหรับสัญญาณของฝั่งขาขึ้น มาจากการที่รัฐบาลของหลายประเทสมีการใช้มาตรการควบคุมการระบาดของไวรัส ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยที่กดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นการเติบโตของเศรษฐกิจจึงน่าจะคงอยู่ในระยะยาว
ที่มา: KITCO