· ดัชนีดาวโจนส์มีแนวโน้มเปิดลบกว่า 200 จุด
ตลาดหุ้นสหรัฐฯมีแนวโน้มเปิดแดนลบสำหรับคืนนี้ ท่ามกลางดัชนีฟิวเจอร์สดาวโจนส์ที่ปรับลดลงเพียง 5 จุด แต่บ่งชี้ถึงแนวโน้มที่ดัชนีดาวโจนส์คืนนี้จะปรับร่วงถึง 229.32 จุด ขณะที่ดัชนีฟิวเจอร์ S&P 500 และ Nasdaq-100 ต่างเคลื่อนไหวแดนลบเช่นกัน
ทั้งนี้ ดัชนีฟิวเจอร์สดาวโจนส์มีความผันผวนค่อนข้างสูง โดยในช่วงต้นตลาดมีการปรับขึ้นไปได้ประมาณ 150 จุด ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ว่าบรรดาธนาคารกลางจะพิจารณาผ่อนคลายนโยบายการเงิน เพื่อต่อสู้กับผลกระทบของไวรัสโคโรนา
· นักวิเคราะห์จาก Yahoo Finance กล่าวว่า ดัชนี S&P500 ปรับตัวสูงขึ้นและมีการรีบาวน์กลับมาแถว 3,000 จุดอีกครั้ง ท่ามกลางตลาดที่ภาพรวมยังคงเป็ฯไปในเชิงลบ และดูจะเป็นการยากสำหรับการซื้อขายในอนาคตต่อจากนี้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ของไวรัสโคโรนาในปัจจุบัน แต่หากตลาดได้รับข่าวดีจากการที่เฟดตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยลง 0.75% ในเดือนนี้ก็ดูจะเป็นข่าวที่ค่อนข้างดีมาก และน่าจะเห็นตลาดหุ้นฟื้นตัวได้อีก เนื่องจากเป็นเรื่องเดียวที่น่าจะช่วยพยุงการปิดสถานะของนักลงทุนในเวลานี้
แต่การเทรดหรือการซื้อขายของตลาดในสภาวะนี้ก็ดูจะเป็นการเล่นที่ค่อนข้างยาก และมีแนวโน้มที่จะเห็นตลาดหุ้นค่อยๆซึมลงในและอ่อนตัวลงต่อจากความกังวลต่อสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน ถึงแม้เราจะเห็นดัชนีทดสอบ 3,00 จุดก็ตาม ซึ่งดัชนีต้องยืนเหนือระดับดังกล่าวให้ได้จึงจะมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นต่ออีกครั้ง บางทีอาจจะไปได้เหนือเส้นค่าเฉลี่ย EMA 200 วันและ 50 วันได้ แต่ต้องระวัง เพราะหากดัชนีหลุด 2,800 จุดลงมา นั่นจะไม่กลายเป็นเพียงจุดทดสอบ แต่มีแนวโน้มจะสร้างความผันผวนขาลงให้แก่ตลาดอีกด้วย
· Barcalys ปรับลดคาดการณ์เป้าหมาย S&P500 ปีนี้จาก 3,300 จุด สู่ 3,000 จุดในปีนี้ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่จะเข้ากระทบต่อภาวะห่วงโซ่อุปทาน พร้อมกันนี้ Barclays ยังคาดว่าผลประกอบการของบริษัทต่างๆในสหรัฐฯจะปรับตัวลดลงในปีนี้ด้วย
นอกจากนี้ Barclays ยังปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการของ S&P500 ลงสู่ระดับ 162 เหรียญ/หุ้น โดยปรับลงจาก 2% ของผลกำกำไรขณะที่ Goldman Sahcs มองว่าผลประกอบการเติบโตของผลประกอบการภาคบริษัทปีนี้น่าจะกลายเป็นศูนย์ด้วยซ้ำ
· ตลาดหุ้นทั่วโลกและราคาน้ำมันดิบรีบาวน์ในวันนี้ เนื่องจากบรรดาธนาคารกลางต่างๆทั่วโลกพร้อมที่จะใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
ขณะที่เหล่านักลงทุนกำลังรอคอยบรรดาผู้นำทางการเงินและธนาคารกลางทั่วโลกจะร่วมกันจัดการประชุมผ่านทางโทรศัพท์ขึ้นเป็นการฉุกเฉินในวันอังคารนี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับผลกระทบของไวรัสโคโรนาที่กำลังระบาดอย่างหนัก
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 1.4%
· ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมา ขณะที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลง โดยดัชนี Nikkei ลดลง 1.2% ที่ระดับ 21,082.73 จุด หลังจากที่เพิ่มขึ้นในช่วงเช้าที่ผ่านมา เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรนาส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการเข้าซื้อหุ้นของเหล่านักลงทุน
ท่ามกลางเหล่าเทรดเดอร์ที่กำลังรอคอยการประชุมของบรรดาผู้นำทางการเงินและธนาคารกลางทั่วโลกที่จะร่วมกันจัดการประชุมผ่านทางโทรศัพท์ขึ้นเป็นการฉุกเฉินในวันนี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับผลกระทบของไวรัสโคโรนาที่กำลังระบาดอย่างหนัก โดยมียอดผู้เสียชีวิตประมาณ 3,100 ราย ขณะที่จำนวนยอดผู้ติดเชื้อมีมากกว่า 90,000 ราย
ด้านดัชนี S&P/ASX 200 ของออสเตรเลียปรับตัวสูงขึ้น 0.7% ที่ระดับ 6,435.70 จุด หลังจากที่ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศลดดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 0.50%
· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากจำนวนยอดผู้ติดเชื้อใหม่จากการระบาดของไวรัสโคโรนาปรับลดลง ขณะที่ความคาดหวังในการใช้นโยบายต่างๆเพื่อรับมือกับผลกระทบจากการระบาดดังกล่าวได้หนุนความเชื่อมั่นให้กับเหล่านักลงทุน
โดยดัชนี Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 0.7% ที่ระดับ 2,992.90 จุด
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเหล่านักลงทุนคาดหวังว่าบรรดาธนาคารกลางต่างๆมีแนวโน้มจะใช้นโยบายปรับลดดอกเบี้ยกันเพื่อรับมือกับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา
โดยดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 1.5% ด้านหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวและการพักผ่อนเพิ่มขึ้น 2.4% ท่ามกลางตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนบวก
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคไวรัสโควิด-19 ประจำวันว่า วันนี้ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่ม โดยยอดผู้ป่วยสะสมยังอยู่ที่ 43 ราย เป็นผู้ป่วยที่รักษาหายและกลับบ้านได้แล้ว 31ราย ยังคงรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 11 ราย เสียชีวิต 1 ราย
ส่วนกรณีแรงงานไทยในประเทศเกาหลีใต้ที่ต้องการเดินทางกลับประเทศ หลังจากเกาหลีใต้มีการแพร่ระบาดทวีความรุนแรงมากขึ้นว่า ขณะนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงคมนาคม และฝ่ายความมั่นคง เนื่องจากยังไม่ชัดเจนว่าจำนวนแรงงานที่ต้องการเดินทางกลับมามีเท่าใด
- น.ส.กัณญภัค ตันติพิพัฒพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ระบุว่า สถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบันจะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อการส่งออกและนำเข้าของไทย ภายใต้สมมติฐานว่าถ้าการส่งออกไปจีนได้รับผลกระทบ -75% ถึง -25%
เรียงจากเดือนกุมภาพันธ์ที่คาดว่าน่าจะได้รับผลกระทบมากสุดที่ -75% เดือนมีนาคมได้รับผลกระทบ -50% และเดือนเมษายนถึงมิถุนายนได้รับผลกระทบ -25% ตามลำดับ จะทำให้การส่งออกของไทยในช่วงไตรมาส 1/63 หดตัวประมาณ -3.6%ไตรมาส 2/63 หดตัวประมาณ -2.91% และครึ่งปีหลัง 63 หดตัวประมาณ -3.3%
โดยปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนกับจีนที่ต้องหยุดชะงัก โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้ายานยนต์และชิ้นส่วน เม็ดพลาสติก เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ผักผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง ซึ่งอาจทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบและกระทบต่อการผลิตทั้งของไทยและจีน โดยคาดว่าจะเริ่มเห็นผลกระทบชัดเจนจากการส่งออกในเดือน ก.พ.63
- คลังเตรียมงัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสู้ไวรัส ด้านพาณิชย์จัดคาราวานนำหน้ากากอนามัยออกจำหน่ายทั่วประเทศ
ธนารักษ์ยันเหรียญกษาปณ์ไม่ติดไวรัส ธพว.กระตุ้นลูกค้าเข้ารับมาตรการแก้สภาพคล่อง
- รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ชงครม.กระตุ้นท่องเที่ยวหลัง 2 เดือนแรกสาหัสจากพิษไวรัส ต่างชาติมาไทยลดลงแบบ
ฮวบฮาบ ด้านททท.-กบข.-ทิพยประกันภัย จับมือกระตุ้นการท่องเที่ยว-เล็งเจาะกลุ่มขรก. ลดหั่นแหลกและได้ประกันภัยเดินทางฟรีด้วย
- "นอนแบงก์" เผยยอด ใช้จ่ายผ่านบัตร 2 เดือนแรกปีนี้ "ชะลอตัว" ทุกหมวด เหตุผู้บริโภคระวังการใช้จ่าย แถม วงเงิน
ผ่อนขั้นต่ำลดลงเพื่อตุนสภาพคล่องดันเอ็นพีแอลเร่งตัวขึ้น หลายแห่งเร่งออกมาตรการช่วยลูกค้า
- ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)ที่ ประกอบด้วย สอท., สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทยที่ตน ทำหน้าที่ประธานการประชุมในวันที่ 4มีนาคมนี้จะหยิบยกประเด็นการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 มาหารือ เนื่องจากจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ค่อนข้างมากจำเป็นจะต้องมีมาตรการรองรับปัญหา