• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 4 มีนาคม 2563

    4 มีนาคม 2563 | Economic News


สถานการณ์ไวรัสโคโรนา

· จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในจีนชะลอตัวลง รัฐบาลเริ่มคุมเข้มการระบาดจากต่างประเทศ

จีนรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายใหม่ออกมาลดลงอีกครั้ง ขณะที่ทางรัฐบาลระบุว่าจะเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการควบคุมการระบาดของไวรัสที่มาจากภายนอกประเทศ ท่ามกลางการระบาดของไวรัสภายนอกประเทศจีนที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

โดยจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในจีนแผ่นใหญ่มีเพิ่มขึ้น 119 ราย ลดลงเล็กน้อยจากยอดเมื่อวานที่ 125 ราย ซึ่งเป็นการชะลอตัวลงต่อเนื่องนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ก.พ. ขณะที่ยอดรวมผู้ติดเชื้อในประเทศอยู่ที่ 80,270 ราย

ขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 38 ราย ทำให้ยอดรวมเพิ่มขึ้นเป็น 2,981 ราย

ผู้เสียชีวิตรายใหม่เกือบทั้งหมดมาจากมณฑลหู่เป่ยที่เป็นศูนย์กลางการระบาดของไวรัส โดยมณฑลหู่เป่ยรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ออกมาที่ 115 ราย และเสียชีวิต 37 ราย


· จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นแตะระดับ 1,000 รายในวันนี้ ขณะที่รัฐบาลยังคงยืนกรานว่าจะจัดงานกีฬาโอลิมปิกในเดือน ก.ค. ตามกำหนดการเดิม

ทั้งนี้ จำนวนผู้ติดเชื้อ 706 รายมาจากเรือสำราญ Diamond Princess ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตในประเทศยังคงอยู่ที่ 12 ราย


· ฮอกไกโดพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาเพิ่ม 3 ราย ส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวมีประชาชนที่ติดเชื้อรวมทั้งสิ้น 82 ราย


· นายมุน แจ-อิน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ประกาศยกเลิกแผนเดินทางเยือนประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิยิปต์ และตุรกี ที่มีกำหนดการไว้ในช่วงกลางเดือน มี.ค. นี้ เนื่องจากการะบาดของไวรัสโคโรนา


· สกอตแลนด์พบผู้ติดเชื้อ 1 รายจากไวรัสโคโรนา ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อทั่วอังกฤษเพิ่มขึ้นมาที่ 51 ราย จากระดับ 39 ราย ขณะเดียวกันมีรายงานยืนยันว่าผู้ถูกทดสอบ 914 รายของชาวสกอตแลนด์มีผลเลือดเป็นลบ


· ค่าเงินดอลลาร์ทรงตัวใกล้ระดับต่ำอ่อนค่ามากที่สุดรอบ 5 เดือนหลังจากที่เฟดตัดสินใจประกาศปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมนอกรอบอีก 0.5% ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ขณะท่ี่อัตราผลตอบแทนพัธบัตรรัฐบาลร่วงลงทำต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

โดยค่าเงินดอลลาร์เคลื่อนไหวใกล้ระดับอ่อนค่ามากท่ี่สุดในรอบ 2 ปี เมื่อเทียบค่าเงินสวิสฟรังก์ จากกลุ่มนักลงทุนที่เข้าถือสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น ในขณะที่ยูโรได้รับอานิสงส์จากการอ่อนค่าของดอลลาร์ ท่ามกลางเหล่าเทรดเดอร์ที่คาดว่าเฟดน่าจะทำการปรับลดดอกเบี้ยมากกว่าทางอีซีบี

แต่ตลาดก็ยังคงมีความผิดหวังจากการประชุม G7 ที่ไม่มีรายละเอียดใดๆเกี่ยวกับการับมือภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวออกมาเพิ่มขึ้นที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา


· หัวหน้านักกลยุทธ์ค่าเงินจาก Mizuho Securities กล่าวว่า การประชุม G7 และเฟดก็ดูเหมือนจะไม่สามารถช่วยสนับสนุนตลาดได้อย่างเพียงพอ และดูเหมือนการปรับลดดอกเบี้ยของเฟดดูจะเป็นผลเชิงลบต่อค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินเยนด้วยซ้ำ เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรนั้นก็ค่อนข้างที่จะเคลื่อนไหวในระดับต่ำมาก

ค่าเงินเยนแข็งค่ามาที่ 106.85 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นแข็งค่ามากที่สุดในรอบเกือบ 5 เดือน ก่อนจะทรงตัวที่ 107.36 เยน/ดอลลาร์

ค่าเงินสวิสฟรังก์ทำระดับแข็งค่ามากที่สุดในรอบเกือบ 2 ปีบริเวณ 0.9566 สวิสฟรังก์/ดอลลาร์


· เครื่องมือ FedWatch จาก CME Group สะท้อนว่ามีโอกาส 55.7% ที่จะเห็นเฟดลดดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมเดือนเม.ย.นี้

อย่างไรก็ดี การปรับลดดอกเบี้ยของเฟดเมื่อคืนได้กดดันให้ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับตัวลงทำต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.906% และนั่นส่งผลลบต่อราคาทองคำ


· ค่าเงินหยวนแข็งค่ามากสุดรอบ 6 เดือน ที่ระดับ 6.9288 หยวน/ดอลลาร์ จากการที่ดอลลาร์อ่อนค่า โดยในช่วงแรกนั้นหยวนอ่อนค่าตามรายงานภาคบริการจีนที่ออกมาแย่ลงเป็นประวัติการณ์ในเดือนก.พ. ที่เกิดขึ้นควบคู่กับสัญญาณเศรษฐกิจที่ดูจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

ค่าเงินยูโรล่าสุดอยู่ที่ 1.1158 ดอลลาร์/ยูโร โดยใกล้ระดับแข็งค่ามากที่สุดรอบ 2 เดือนวานนี้



· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปีร่วงลงต่ำกว่า 1% เป็นครั้งแรก

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับตัวลงทำระดับต่ำสุดใหม่เป็นครั้งแรกบริเวณ 0.999% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุ 2 ปี ปรับตัวลงแตะ 0.69%

การปรับลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั้ง 2 ชนิดมาจากการที่สหรัฐฯตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยมากถึง 0.5% เพื่อสนับสนุนตลาดการเงิน และการที่ดัชนี S&P500 ปรับตัวลงไปกว่า 10% นับตั้งแต่เกิดความกังวลเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาที่เริ่มต้นตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว


· ธนาคารกลางมีเครื่องมือไม่เพียงพอสำหรับการรับมือปัญหาไวรัส

นักวิเคราะห์จาก J.P. Morgan มีมุมมองว่าถึงแม้บรรดาธนาคารกลางจะออกมาส่งสัญญาณเกี่ยวกับการผ่อนคลายนโยบายเพื่อรับมือกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา แต่บรรดาธนาคารกลางทั่วโลกอาจมีเครื่องมือไม่เพียงพอสำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอีซีบีและบีโอเจที่ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยลงมาอยู่ในระดับติดลบ

ไม่ใช่แค่ยุโรปหรือญี่ปุ่นเท่านั้น ทางธนาคารกลางจีนเองก็มีการออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจนับตั้งแต่ไวรัสเริ่มระบาดออกมาหลายนโยบาย ทำให้พวกเขาเริ่มที่จะหมดเครื่องมือลงไปทุกขณะ


· ขณะที่นักวิเคราะห์จาก ANZ เปิดเผยคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการดำเนินนโยบายของบรรดาธนาคารกลางทั่วโลกไว้ดังนี้

- อีซีบีถูกคาดการณ์ว่าจะทำปรับลดดอกเบี้ยลง 0.1% ก่อนถึงการประชุมในวันที่ 12 มี.ค. ขณะที่อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันของอีซีบีอยู่ที่ -0.5%

- บีโอเจมีแนวโน้มที่จะปรับลดดอกเบี้ยลงไปในระดับติดลบมากกว่านี้อีก

- บีโออีถูกคาดการณ์ว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% อย่างเร็วที่สุดอาจเป็นก่อนหน้าการประชุมที่มีกำหนดการไว้ในวันที่ 26 มี.ค. นี้


· ปธ.เฟดชิคาโกคาดผลกระทบจากไวรัสจะคงอยู่ในระยะสั้นเท่านั้น

นายชาลส์ อีวานส์ ประธานเฟดสาขาชิคาโก คาดการณ์ว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจสหรัฐฯจากการระบาดของไวรัสโคโรนาจะอยู่ใน “ระยะสั้น” เท่านั้น โดยอาจกดดันการเติบโตของ GDP ประเทศลงไปประมาณ 0.1% หรือต่ำกว่านั้น

นอกจากนี้ นายอีวานส์มองว่าการปรับลดดอกเบี้ยครั้งล่าสุดของเฟดจะสามารถช่วยรักษาอัตราขยายตัวของเศรษฐกิจ และรักษาความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม การระบาดของไวรัสถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถคาดเดาได้ยาก และมีความเป็นไปได้ที่มันอาจจะคงอยู่ในระยะยาว ซึ่งต้องรอดูสถานการณ์ต่อไปอีกสัก 6 เดือน

สำหรับแนวทางดำเนินนโยบายในอนาคตของเฟด นายอีวานส์ระบุว่ายังไม่มีความแน่นอน


· ธนาคารกลางจีนประกาศคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในวันนี้ แม้เมื่อคืนที่ผ่านมาเฟดจะประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงแบบฉุกเฉินก็ตาม


· รายงานยอดค้าปลีกเยอรมนีเพิ่มขึ้นในเดือนม.ค. หลังจากที่ร่วงลงไปในเดือนก่อนหน้า จึงบ่งชี้ว่าการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนจะยังเป็นตัวช่วยที่สนับสนุนเศรษฐกิจเยอรมนีในช่วงต้นปีนี้

ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกเยอรมนีปรับตัวขึ้นประมาณ 0.9% หลังจากที่ในเดือนก่อนหน้ามีการปรับทบทวนเพิ่มขึ้นมาที่ 2% ในส่วนของภาพรายปีจะพบว่ายอดค้าปลีกเยอรมนีนั้นปรับขึ้นได้ 1.8% และในเดือนธ.ค. มีการปรับทบทวนเพิ่มมาที่ 1.7%


· ผู้ว่าการธนาคารกลางเกาหลีใต้ (บีโอเค) เผยถึงการจะใช้มาตรการเดียวกับเฟดที่ประกาศปรับลดดอกเบี้ยนอกรอบไปเมื่อคืนนี้ แต่การดำเนินนโยบายทางการเงินอาจเป็นไปอย่างจำกัด พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการหาแนวทางร่วมกันรับมือกับไวรัสโคโรนาในเวลานี้ ซึ่ง บีโอเคเองจะเฝ้าจับตาตลาดอย่างใกล้ชิด โดยมุ่งประเด็นไปยังเสถียรภาพของตลาดต่างๆ เป็นสำคัญ


· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นจากความหวังที่ว่ากลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่จะมีความคืบหน้ามากขึ้นในเรื่องข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิตเพื่อชดเชยภาวะอุปสงค์น้ำมันที่ปรับตัวลงจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

น้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 20 เซนต์ หรือ +0.39% ที่ 52.06 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ WTI ปรับขึ้นประมาณ 27 เซนต์ หรือ +0.57% ที่ 47.45 เหรียญ/บาร์เรล

กลุ่มโอเปกและชาติพันธมิตรในนามโอเปก+ คาดว่าจะมีการปรับลดกำลังการผลิตลงมากถึง 1 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งนี่อาจหมายถึงการที่รัสเซียและซาอุดิอาระเบียเข้าใกล้บรรลุข้อตกลงร่วมกันเพื่อสนับสนุนราคาน้ำมัน และหากเป็นเช่นนั้นจะส่งผลให้กำลังการลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปกลดลงไปมากถึง 2.1 ลานบาร์เรล/วัน โดยกลุ่มโอเปกและชาติพันธมิตรจะจัดประชุมร่วมกันในวันที่ 5-6 มี.ค.นี้


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com