สถานการณ์ไวรัสโคโรนา
· จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 98,437 ราย
· จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 3,387 ราย
· จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 90 ประเทศ
· จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นต่อเนื่องล่าสุดอยู่ที่ 223 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 14 ราย
· ค่าเงินดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินเยนและยูโรในวันนี้ท่ามกลางการร่วงลงอย่างหนักของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และกระแสคาดการณ์เกี่ยวกับผลกระทบจากไวรัสโคโรนาที่ดูจะทำให้เฟดอาจต้องปรับลดดอกเบี้ยอีก 0.5% เป็นครั้งที่ 25 ในเดือนนี้
ด้านค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้นใกล้เหนือระดับปิดที่เป็นสูงสุดเมื่อเดือนธ.ค. ที่ระดับ 1.1239 ดอลลาร์/ยูโร โดยล่าสุดเคลื่อนไหวบริเวณ 1.1231 ดอลลาร์/ยูโร ปรับตัวขึ้นต่ออีก 0.9% จากเมื่อคืนนี้ และภาพรวมสัปดาห์นี้ปรับแข็งค่าได้ประมาณ 1.9% ซึ่งเป็นอัตราการปรับขึ้นสูงสุดตั้งแต่มิ.ย. ปี 2017
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีทำต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 0.825% และภาพรวมปรับลงไปแล้วประมาณ 0.75% ในรอบ 11 วันทำการ
หัวหน้านักวิเคราะห์ค่าเงินจาก State Street Bank ในกรุงโตเกียว มองว่า การเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่หดตัวลงเกินคาดหมายนั้น มาจากการที่เฟดตัดสินใจตอบรับอย่างรวดเร็วในการปรับลดดอกเบี้ยที่น่าจะส่งผลในระยะยาว ขณะที่ระยะสั้นๆหากเฟดตัดสินใจลดดอกเบี้ยอีก ก็อาจจะไม่ได้ช่วยหยุดยั้งไวรัสได้ แต่ตลาดก็คาดหวังว่ามาตรการต่างๆที่เพิ่มขึ้นจะช่วยหนุนเม็ดเงินสำหรับภาคบริษัทให้มีสภาพคล่องขึ้น
ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าไปทำต่ำสุดรอบ 6 เดือนเมื่อเทียบเงินเยน โดยค่าเงินเยนแข็งค่าไปที่ 105.83 เยน/ดอลลาร์ หรือแข็งค่าเพิ่มอีก 1.2% และคาดจะมีเป้าหมายถัดไปที่ 105.72 และ 104.46 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเคยเป็นแข็งค่ามากที่สุดเมื่อเดือนส.ค. และก.ย. ในปีที่แล้ว
ภาพรวม Fed Fund Futures มองโอกาสจะเห็นลดดอกเบี้ยได้ประมาณ 0.9% ภายในช่วงสิ้นปีนี้
· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯระยะยาวทำระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯยังคงปรับลดลงอย่างต่อเนื่อ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของไวรัส และล่าสุดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 30 ปี ได้ปรับลดลงอีก 0.03% ทำระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์แถว 1.52%
ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี ยังคงเคลื่อนไหวใกล้ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.892% ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 2 ปี เคลื่อนไหวแถว 0.586% หลังจากเมื่อวานลงไปทำระดับต่ำสุดในรอบ 44 เดือนที่ 0.548%
· ผลสำรวจโดย Reuters คาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นหรือบีโอเจจะมีมติผ่อนคลายนโยบายการเงินในการประชุมเดือนนี้ ตามหลังการปรับลดดอกเบี้ยเฟดที่สร้างความประหลาดใจให้กับตลาด เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนาจะเป็นปัจจัยกดดันความกลัวว่าจะเกิดภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ตลาดโดยส่วนใหญ่ก็ต่างคาดว่าบีโอเจจะมีประกาศผ่อนคลายนโยบายในการประชุมวันที่ 18 – 19 มี.ค. นี้ หรืออาจเป็นก่อนหน้านั้น หากความกังวลเกี่ยวกับเชื้อไวรัสทำให้ตลาดหุ้นปรับร่วงลงอย่างหนัก หรือค่าเงินเยนแข็งค่ามากเกินไปและกดดันเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก
· นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา แต่เชื่อมั่นว่าผลกระทบของมันก็จะคงอยู่เพียงชั่วคราว และรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
· นายนีล คาชคาริ ประธานเฟดสาขามินนิอาโปลิส กล่าวว่าเขาสนับสนุนการปรับลดดอกเบี้ยฉุกเฉินของเฟดในสัปดาห์นี้ พร้อมระบุว่าเฟดควรปรับลดดอกเบี้ยมากกว่านี้ หากเศรษฐกิจย่ำแย่ลงจากผลกระทบของไวรัส
· ABD คาดเศรษฐกิจโลกจะชะลอการเติบโตลง 0.1 – 0.4% เนื่องจากปัญหาไวรัส
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank) ระบุว่ามีความเป็นไปได้สูงที่การระบาดของไวรัสโคโรนาจะกดดันการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังพัฒนาในแถบเอเชียรวมถึงทั่วโลกในปีนี้
โดยคาดว่าอัตราการเติบโตของ GDP ทั่วโลกจะชะลอตัวลง 0.1% สู่ระดับ 0.4% ขณะที่ตลาดการเงินจะสูญเสียมูลค่าไประหว่าง 7.7 หมื่นล้านเหรียญ – 3.47 แสนล้านเหรียญ
สำหรับอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง 0.3% สู่ระดับ 1.7% และประเทศที่กำลังพัฒนาในแถบเอเชียไม่รวมประเทศจีนมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง 0.2% สู่ระดับ 0.5%
ทาง ADB ระบุว่าการระบาดของไวรัสโคโรนาจะปัจจัยที่กดดันปริมาณอุปสงค์ การท่องเที่ยว การค้า และกระบวนการผลิต จึงจะไปกดดันการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศที่กำลังพัฒนาในแถบเอเชีย
· สถาบัน S&P Global Ratings คาดการณ์ว่าวิกฤติโคโรนาไวรัสอาจทำให้เศรษฐกิจในแถบเอเชีย-แปซิฟิกสูญเสียมูลค่ามากถึง 2.11 แสนล้านเหรียญ โดยเฉพาะเศรษฐกิจออสเตรเลีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ และไทย ที่อาจเข้าใกล้หรือเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ขณะที่ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจจีนจากเดิม 5.7% สำหรับปี 2020 ลงสู่ระดับ 4.8%
· รายงานจากองค์กร UNESCO ระบุว่ามีเยาวชนเกือบ 300 ล้านคนทั่วโลกที่จำเป็นต้องหยุดเรียนท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนา จึงอาจเป็นปัจจัยที่กระทบต่ออนาคตของเยาวชนเหล่านี้
· ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดในรัฐบาลจีนคาดการณ์ว่า จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายใหม่ในเมืองอู่ฮั่นของประเทศจีนอาจปรับลดลงสู่ระดับ 0 ราย ภายในสิ้นเดือน มี.ค. นี้ แม้ในวันนี้จีนจะรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ออกมาเพิ่มสูงขึ้นก็ตาม
โดยในวันนี้ จีนรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ออกมาเพิ่มขึ้น 139 ราย ทำให้ยอดรวมผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มเป็น 80,409 ราย เทียบกับยอดเมื่อวานที่ 119 ราย และ 125 ราย ของเมื่อวานซืน
· ผลสำรวจโดย Reuters พบว่านักเศรษฐศาสตร์ยังไม่มีมุมมองว่าธนาคารกลางยุโรปหรืออีซีบีจะทำการปรับลดดอกเบี้ยลงตามเฟด แม้โอกาสที่เศรษฐกิจยูโรโซนจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวได้เพิ่มเป็นเท่าตัวในช่วงเดือนที่ผ่านมาเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนาก็ตาม
โดยแบบสำรวจที่จัดทำขึ้นในวันที่ 3-4 มี.ค. ที่ผ่านมา บ่งชี้ว่ามีนักเศรษฐศาสตร์เพียง 40% ที่คาดว่าอีซีบีจะปรับลดดอกเบี้ยในช่วงใดช่วงหนึ่งของปีนี้ แต่การดำเนินเช่นนั้นจะยิ่งเป็นการจำกัดเครื่องมือทางเศรษฐกิจของอีซีบี เนื่องจากปัจจุบันอีซีบีมีการใช้อัตราดอกเบี้ยในระดับติดลบที่ -0.50%
นักวิเคราะห์จาก JP Morgan ระบุว่าเนื่องจากสถานการณ์ของไวรัสยังไม่มีความชัดเจน การปรับลดดอกเบี้ยของเฟดเพียงฝ่ายเดียวจึงยังไม่เพียงพอต่อการโน้มน้าวให้อีซีบีเปลี่ยนจุดยืนที่มีต่อการดำเนินนโยบาย
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลง 1% ในวันนี้ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์น้ำมันโลก และการชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของโคโรนาไวรัสที่เพิ่มขึ้นหลังจากที่ผู้ผลิตน้ำมันดิบนอกกลุ่มโอเปกยังไม่ได้ตกลงที่จะลดกำลังการผลิตเพื่อสนับสนุนราคา
ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับลดลง 49 เซนต์ หรือ 0.98% แถว 49.50 เหรียญ/บาร์เรล ในขณะที่ น้ำมันดิบ WTI ลดลง 46 เซนต์ หรือ 1% แถว 45.44 เหรียญ/บาร์เรล
เมื่อวานนี้ กลุ่มโอเปกได้มีการผลักดันให้ประเทศสมาชิกและประเทศพันธมิตร ลดกำลังผลิตน้ำมันลงเหลือ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นปี 2020 ซึ่งเป็นการเรียกร้องบรรดาประเทศสมาชิกก่อนถึงการประชุมโอเปก ซึ่งมีกำหนดการในวันศุกร์ ณ กรุงเวียนนา