• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 6 มีนาคม 2563

    6 มีนาคม 2563 | SET News

· ตลาดหุ้นเอเชียและตลาดหุ้นล่วงหน้าสหรัฐฯร่วงลง เนื่องจากการหยุดชะงักในภาคธุรกิจหลังจากจากแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นลดลง 2.1%

· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลงทำระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ซึ่งปรับตัวลงติดต่อกัน 4 สัปดาห์ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาทั้งในจีนและต่างประเทศ

โดยดัชนี Nikkei ลดลง 2.72% ที่ระดับ 20,749.75 จุด นับเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่วันที่ 4 ก.ย. ปี19 ด้านดัชนี Topix ลดลง 2.92% ที่ระดับ 1,471.46 จุด เป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ปีที่ผ่านมา

· ภาพรวมรายสัปดาห์ตลาดหุ้นจีนปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุดในรอบปี แม้จะปรับลดลงในวันนี้ก็ตาม เนื่องจากเหล่านักลงทุนคาดหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนด้านนโยบายเพิ่มเติมเพื่อหนุนเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

โดยดัชนี Shanghai Composite ลดลง 1.2% ที่ะรดับ 3,034.51 จุด

· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลเลง เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ โดยดัชนี Stoxx ร่วงลง 1.5% ด้านหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวและการพักผ่อนลดลง 3.2% เนื่องจากตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในแดนลบ

อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท.อยู่ระหว่างพิจารณาการจัดงานเทศกาลมหาสงกรานต์

ประจำปี 63 ว่า จะสามารถจัดงานใหญ่ขึ้นได้หรือไม่ โดยขอประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่องไปก่อน

ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร แต่เบื้องต้นททท. และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ก็มีความพร้อมจัดงานขึ้นในบางพื้นที่โดยหากสามารถจัดงานขึ้นมาได้ ก็อาจลดขนาดลงมาเป็นงานส่งเสริมวัฒนธรรม และมีการรดน้ำดำหัวตามประเพณี โดยที่ไม่ได้จัดให้มีขนาดใหญ่เหมือนปี

ก่อนๆ

- ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า มั่นใจว่าการเสนอชุด

มาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบไวรัสโควิด-19 ชุดที่ 1 วงเงินหลายแสนล้านบาทให้ ครม. เศรษฐกิจพิจารณาวันที่ 6 มี.ค. 63 จะ

ช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจ และลดผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิดได้ โดยจะมีการเสนอมาตรการไปเป็น 10 ด้าน

- พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ

(ครม.เศรษฐกิจ) โดยจะมีการพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา-19

อ้างอิงจากสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย หั่นเป้าเศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือโต 0.5% จากเดิม 2.7% หลังไวรัสโควิด-19 ส่อเค้ารุนแรงและกระจายวงกว้างมากขึ้น คาดไตรมาส 1-2 จีดีพีติดลบ ทำเศรษฐกิจเข้าภาวะถดถอยทางเทคนิค แต่ไตรมาส 3-4 เริ่มฟื้นตัว หลังโควิด-19 อาจฉุดรายได้ท่องเที่ยว 4.1 แสนลบ. ค้าปลีกปีนี้วูบ 1.5-2 แสนลบ.

*** หั่นจีดีพีไทยปี 63 เหลือโต 0.5%

นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ได้ปรับลดเป้าเศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือขยายตัว 0.5% จากเดิม 2.7% ภายใต้เงื่อนไขที่มองว่า สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในจีน สามารถควบคุมจำนวนการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อได้ในระยะ 1-2 เดือนข้างหน้า สถานการณ์ในประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะประเทศอิตาลี และ เกาหลีใต้สามารถควบคุมได้ในไตรมาส 2 และสถานการณ์ในไทย ยังไม่ปรากฎเหตุการณ์ที่จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาสั้น ๆ

*** ประเมิน Q1-Q2 จีดีพีไทยติดลบ และฟื้นตัว Q3-Q4

เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/6 จะติดลบไม่ถึง 1% ส่วนไตรมาส 2/63 ติดลบลงลึกมากกว่า 1% และในไตรมาส 3/63 ค่อยฟื้นตัวขึ้นมาอยู่ที่ 1% และ ไตรมาส 4/63 จะกลับมาเติบโตได้ 3%

*** คาดส่งออกหดตัวลึก -5.6% จากเดิม -1%

การส่งออกจะหดตัวลึกขึ้นเป็น -5.6% จากเดิมที่ประเมินไว้ที่ -1.0% เนื่องจากการแพร่ระบาดที่ขยายเป็นวงกว้างมากขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจโลกทรุด และ ความต้องการต่อสินค้าออกไทยลดลง ตลอดจนกระทบห่วงโซ่การผลิต โดยเฉพาะของจีนที่กระทบต่อเนื่องมายังภาคการผลิตของไทย ขณะเดียวกันการบริโภคและลงทุนในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวลงเช่นกัน เพราะผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการใช้จ่าย และ เดินทางออกนอกบ้าน ทำให้ธุรกิจค้าปลีกไทยในปีนี้น่าจะได้รับผลกระทบไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาท โดยทั้งหมดนี้ทำให้ต้องจับตาปัญหาสภาพคล่องของธุรกิจ และ สถานการณ์การจ้างงาน ซึ่งเป็นประเด็นเฉพาะหน้าที่ภาครัฐต้องเข้าไปดูแลเป็นลำดับแรก ๆ อีกทั้ง ยังต้องติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณ รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะออกงบประมาณเพิ่มเติมด้วย

*** จับตาโควิด-19 ฉุดรายได้ท่องเที่ยว 4.1 แสนลบ.

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบหนักสุดคงอยู่ที่ภาคการท่องเที่ยว คาดว่ารายได้ของนักท่องเที่ยวต่างชาติจะหายไป 4.1 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.4% ของจีดีพี จำนวนนักท่องเที่ยวรวมจะหายไป 8.3 ล้านคน หรือ หดตัว -20.8% จากปีก่อนหน้า

*** รับเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย

ต้องยอมรับว่าประเมินได้ยาก เพราะสถานการณ์ไวรัสยังไม่นิ่ง ซึ่งเราให้น้ำหนัก 3 ข้อ อย่างแรก จีนต้องไม่กลับมาพบผู้ติดเชื้ออีกรอบ อย่างที่สอง คือ ผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลกชะลอตัวลงภายในไตรมาส 2 และ อย่างที่สาม คือ จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในไทยไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแน่นอนว่า กระทบท่องเที่ยว ส่งออก นำเข้า กำลังซื้อ โดยเชื่อว่าไตรมาส 2/63 สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 จะพีคขึ้นสูงสุด และ หากการระบาดมีสัญญาณคลี่คลายลงภายในช่วงครึ่งปีแรกตามสมมติฐานคงจะทำให้เห็นจีดีพีที่กลับมาเป็นบวกได้ในไตรมาส 4 ซึ่งสถานการณ์แบบนี้เรียกว่าเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย แต่ไม่เหมือนปี 40 ถดถอยครั้งนี้เป็นปัจจัยนอกประเทศ โรคภัย ไม่ใช่ปัจจัยเชิงโครงสร้าง เพียงแต่ความเชื่อมั่นไม่มี การบริโภคภายในประเทศหยุดชะงัก ส่งออกก็หดตัว

*** ลุ้นแบงก์ชาติลดดอกเบี้ย 0.25-0.5% ปีนี้

ส่วนนโยบายการเงินนั้น คาดว่าผลกระทบที่จะทยอยปรากฏชัดเจนขึ้นผ่านโอกาสการหดตัวชั่วคราวของจีดีพีในไตรมาส 1 และ ไตรมาส 2 ของปี จะทำให้ ธปท.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 0.25-0.50% ในระยะที่เหลือของปีนี้ ซึ่งจะตามมาด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ และ แม้ทางเลือกการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจไม่ใช่ยาวิเศษที่พลิกฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วในจังหวะไม่ปกติเช่นนี้ แต่ก็คงช่วยบรรเทาภาระต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจและครัวเรือนลงได้บางส่วน สำหรับทิศทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังนั้น คาดว่าหากสถานการณ์การระบาดของไวรัสเป็นไปตามสมมติฐาน คือ เริ่มดีขึ้น อาจทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และ จีดีพีกลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้ง

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com