· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:
→ จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 118,907 ราย
→ จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 4,270 ราย
→ จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 119 ประเทศ (+6)
→ จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นต่อเนื่องล่าสุดอยู่ที่ 975 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 30 ราย
→ จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีที่เป็นอันดับที่ 2 ของโลกรวมอยู่ที่ 10,149 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 631 ราย ขณะที่อิหร่านติดเชื้อพุ่งแตะ 8,042 ราย และเสียชีวิต 291 ราย ด้านเกาหลีใต้มีผู้ติดเชื้อที่ 7,513 ราย เสียชีวิต 58 ราย
· ทรัมป์เสนอลดภาษีเหลือ0% จนถึงสิ้นปีนี้
นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีการประชุมร่วมกับสมาชิกพรรครพับลิกันในคืนนี้ที่ผ่านมา พร้อมเสนอมาตรการปรับลดภาษีเงินได้เหลือ 0% สำหรับนายจ้างและลูกจ้างไป โดยจะมีผลไปจนถึงสิ้นปีนี้
ในที่ประชุมยังมีการพูดถึงความเป็นไปได้ที่จะทำให้นโยบายภาษี 0% มีผลตลอดไป แต่ยังไม่มีบทสรุปว่าจะสามารถดำเนินเช่นนั้นได้หรือไม่ โดยปกติแล้วภาษีเงินได้ที่ภาครัฐเรียกเก็บจะถูกใช้ด้านการพยาบาลและสวัสดิการทางสังคม
เมื่อวานนี้ ทาง CNBC มีรายงานว่าทำเนียบขาวยังไม่พร้อมที่จะออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรับมือกับผลกระทบของโคโรนาไวรัส แต่นายทรัมป์กลับสร้างความประหลาดใจให้กับสมาชิกทำเนียบ ด้วยการประกาศว่าพร้อมที่จะเปิดเผยนโยบายดังกล่าวในการแถลงข่าวเมื่อคืน
การแถลงข่าวมีกำหนดการในวันพุธ เวลา 04.30 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งทางทำเนียบขาวมีการเชิญตัวแทนจากบริษัทชั้นนำในสหรัฐฯเพื่อมาร่วมประขุมเกี่ยวกับวิธีรับมือกับโคโรนาไวรัสในเชิงเศรษฐกิจ
นายทรัมป์ที่กำลังเผชิญความยากลำบากในการเรียกเสียงสนับสนุนสำหรับการเลือกตั้งในเดือน พ.ย. นี้ ได้มีการเอ่ยถึงความเป็นไปได้ของการปรับลดภาษีเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาเช่นกัน โดยระบุว่าเขาต้องการช่วยเหลือสายการบินและอุตสาหกรรมเรือสำราญที่กำลังถูกกดดันจากอุปสงค์ที่อ่อนแอลงเนื่องจากโคโรนาไวรัส
ขณะที่มีรายงานว่าวุฒิสมาชิกฝั่งรีพับลิกันก็มีความไม่มั่นใจในนโยบายปรับลดภาษีดังกล่าว ซึ่งนโยบายดังกล่าวได้รับการผลักดันโดยนายปีเตอร์ นาวาโร ที่ปรึกษาด้านนโยบายการค้าของนายทรัมป์
ภาษีเงินได้ที่นายจ้างและลูกจ้างต้องชำระให้กับภาครัฐ จะถูกใช้ในการพัฒนาสวัสดิการทางสังคม ภาคการพยาบาล รวมไปถึงโครงการอื่นๆของภาครัฐ สำหรับสวัสดิการทางสังคม ลูกจ้างจะถูกเรียกเก็บภาษีคิดเป็น 6.2% ของค่าจ้าง สูงสุดที่ 137,700 เหรียญ สำหรับการพยาบาล ลูกจ้างจะถูกเรียกเก็บภาษี 1.45% ส่วนทางฝั่งนายจ้างก็จะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราที่เท่ากับลูกจ้าง
· ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นหลังจากที่อ่อนค่าลงไปอย่างหนักเมื่อเทียบกับค่าเงินในสกุลสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างค่าเงินเยน และสวิสฟรังก์ ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่คาดหวังว่ากลุ่มผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกจะหามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆเพื่อพยายามรับมือกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์ยังได้รับอานิสงส์จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรและหุ้นสหรัฐฯที่รีบาวน์กลับขึ้นมา ขานรับแนวทางของนายโดนัดล์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯที่จะใช้มาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อรับมือกับไวรัสโครนา แต่การเคลื่อนไหวดังกล่าวก็ยังไม่สามารถทำให้ค่าเงินเยนอ่นอค่ากลับไปแนว 105 เยน/ดอลลาร์ได้
ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น 1.5% ที่ 96.36 จุด ทางด้านเยนอ่อนค่าลง 2% ที่ 104.46 เยน/ดอลลาร์ หลังจากที่แข็งค่าไปอย่างหนักเมื่อวันจันทร์บริเวณ 101.18 เยน/ดอลลาร์
ค่าเงินเยนยังคงอยู่ในทิศทางอ่อนค่าเมื่อเทียบกับยูโรและออสเตรเลียดอลลาร์ หลังจากที่เจ้าหน้าที่บีโอเจส่งสัญญาณถึงความพร้อมจะเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหากจำเป็น ก่อนการประชุมในสัปดาห์หน้า
ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง 0.8% ที่ 1.1354 ดอลลาร์/ยูโร โดยปรับลงจากระดับ 1.1495 ดอลลาร์/ยูโรเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาที่เป็นระดับแข็งค่ามากที่สุดตั้งแต่ช่วงต้นม.ค.
ภาพรวมตลาดค่าเงินมีความผันผวนกว่า 2 เท่าจากช่วงปลายเดือนก.พ.
นักวิเคราะห์บางส่วน มองว่า ความผันผวนในตลาดค่าเงินอาจไม่ได้มากเท่าตลาดหุ้นแต่ก็น่าจะมีความผันผวนในระดับที่สูงขึ้นได้ โดยเฉพาะค่าเงินในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปัรบตัวลงตามการร่วงลงของราคาน้ำมัน ก่อนที่จะค่อยๆฟื้นตัวขึ้นได้ตาม
· นักลงทุนเข้าหาสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความกังวลเรื่องไวรัสโคโรนาที่อาจจะส่งผลกระทบต่อภาวะห่วงโซ่อุปทานโลก และกดดันให้เศรษฐกิจต้องเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ โดยจะเห็นได้ตั้งแต่วันจันทร์ที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับตัวลง 0.5% เป็นครั้งแรกและทำต่ำสุดที่ 0.318% ด้านอัตราผลตอบแทนระยะยาวอายุ 30 ปี ร่วงลงต่ำกว่า 1% ก่อนที่เมื่อวานนี้จะสามารถรีบาวน์กันได้ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีปรับขึ้นเหนือ 0.6% ทางด้านผลตอบแทน 30 ปี ปรับขึ้นเหนือ 1% มาที่ 1.133% ทางด้านอัตราผลตอแทนพันธบัตรอายุ 2 ปี เคลื่อนไวหแนว 0.48%
· ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในออสเตรเลียร่วงลงทำระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปีในเดือนมี.ค.นี้ จากความกังวลเรื่องผลกระทบจากไวรัสโคโรนาที่ดูแล้วระยะสั้นๆน่าจะได้รับผลพวงตามกันมา
นอกจากนี้ การประเมินผลกระทบที่ใหญ่ที่สุดน่าจะเกิดขึ้นได้ในอีก 12 เดือนข้างหน้า และการผ่อนคลายในช่วง 5 ปีข้างหน้าก็ดูจะเป็นไปได้ไม่มากนัก
· ความตึงเครียดรัสเซีย-ซาอุฯ ทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้ง
เมื่อวานนี้ทางซาอุดิอาระเบียประกาศจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ภายในเดือน เม.ย. ซึ่งเป็นการสร้างแรงกดดันให้กับรัสเซียเพื่อที่จะกลับมาเจรจาร่วมกันอีกครั้ง
ความขัดแย้งทางด้านราคาน้ำมันระหว่าง 2 ยักษ์ใหญ่แห่งวงการน้ำมันอย่างซาอุฯและรัสเซีย เป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับร่วงลงถึง 25% เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ทำให้ตลาดเกิดความแตกตื่นและพากันเทขายสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นที่อ่อนแออยู่แล้วจากผลกระทบของโคโรนาไวรัส
ราคาน้ำมันฟื้นตัวได้บ้างเมื่อวานนี้ แต่ยังคงต่ำกว่าระดับเปิดตลาดปีนี้ลงไปถึง 40%
รายงานจากทำเนียบขาวระบุว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีการเจรจาเกี่ยวกับตลาดพลังงานโลกร่วมกับ มุฮัมมัด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดิอาระเบีย ผ่านทางโทรศัพท์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
นายทรัมป์ที่กำลังพยายามหาเสียงสนับสนุนสำหรับการเลือกตั้งปีนี้ น่าจะได้รับผลประโยชน์จากราคาน้ำมันในระดับต่ำ แต่รัฐบาลสหรัฐฯมีความกังวลว่าราคาน้ำมันที่ตกต่ำอาจทำให้อุตสาหกรรมน้ำมันบางส่วนของสหรัฐฯล้มละลาย ซึ่งอุตสาหกรรมน้ำมันถือว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ
เมื่อวานนี้ บริษัทน้ำมันในสหรัฐฯบางส่วนออกมายืนยันแล้วว่าพวกเขาจะมีการปรับลดค่าใช้จ่ายและเงินปันผล
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นได้กว่า 10% หลังจากที่ปรับตัวลงไปทำต่ำสุดตั้งแต่ปี 1991 ท่ามกลางความหวังในการกลับมาเจรจาของกลุ่มโอเปกและชาติพันธมิตร แม้ว่าทั้งซาอุดิอาระเบียและรัสเซียยังมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มกำลังการผลิต
น้ำมันดิบ WTI ปิด +10.38% หรือปรับขึ้น 3.23 เหรียญ ที่ 34.36 เหรียญ/บาร์เรล ทางด้าน Brent ปิด +8.3% หรือปรับขึ้น 2.86 เหรียญ ที่ระดับ 37.22 เหรียญ/บาร์เรล
เมื่อวานนี้ รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของรัสเซีย กล่าวว่า รัสเซียยังไม่ได้ออกมาตรการใดๆร่วมกับทางโอเปกในการสร้างเสถียรภาพตลาดน้ำมัน ซึ่งรัสเซียจะมีการประชุมร่วมกับบรรดาบริษัทน้ำมันรัสเซียก่อนในวันนี้
CEO จากบริษัทน้ำมัน Saudi Aramco กล่าวว่า ทางซาอุดิอาระเบียมีแผนจะเพิ่มการผลิตน้ำมันให้แตะ 12.3 ล้านบาร์เรล/วัน ในเดือนเม.ย. ซึ่งจะเป็นการเพิ่มกำลังการผลิตไว้สูงกว่าระดับ 9.7 ล้านบาร์เรล/วันในปัจจุบัน
ขณะที่รัสเซียอาจเพิ่มการผลิตอีก 300,000 บาร์เรล/วัน เพื่อให้ผลิตเพิ่มขึ้นได้แตะ 500,000 บาร์เรล/วัน และความเป็นไปได้จากทั้งสองประเทศดูจะกดดันให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หลังจากที่ตลาดถูกกดดันจากเรื่องไวรัสโคโรนาอยู่แล้ว เพราะมีแนวโน้มจะส่งผลต่ออุปสงค์น้ำมัน