· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:
→ จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 126,063 ราย
→ จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 4,616 ราย
→ จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 123 ประเทศ (+7)
→ จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นต่อเนื่องล่าสุดอยู่ที่ 1,302 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 38 ราย
→ จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีที่เป็นอันดับที่ 2 ของโลกรวมอยู่ที่ 12,462 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 827 ราย ขณะที่อิหร่านติดเชื้อพุ่งแตะ 9,00 ราย และเสียชีวิต 354 ราย ด้านเกาหลีใต้มีผู้ติดเชื้อที่ 7,755 ราย เสียชีวิต 60 ราย
- ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศ ล่าสุดวันนี้พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้น 6 ราย เป็นชายไทย 4 ราย ชายสิงคโปร์ 1 ราย และหญิงไทย 1 ราย
- องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้เป็น “โรคระบาดที่แพร่กระจายไปทั่วโลก” หรือ Pandemic เป็นครั้งแรก พร้อมยังกล่าวถึงอิตาลีและอิหร่านในเวลานี้ที่พบการระบาดจำนวนมาก รวมทั้งประเทศอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นเช่นเดียวกันตามมา
พร้อมกันนี้ยังเรียกร้องให้ทั่วโลกช่วยกันเร่งรับมือต่อวิกฤตครั้งนี้อย่างเร่งด่วนและแข็งกร้าวเพื่อัดการกับการแพร่ระบาดของโรค โดยจะเห็นได้ว่า ภายในช่วงเวลา 2 สัปดาห์ การติดเชื้อนอกพื้นที่จีนนั้นปรับขึ้นกว่า 13 เท่าตัว
ขณะที่หัวหน้าเจ้าหน้าที่ภาวะฉุกเฉินของ WHO กล่าวว่า สถานการณ์ในอิหร่านค่อนข้างน่าวิตก และทาง WHO จะเพิ่มมาตรการการควบคุมและการดูให้แก่ผู้ป่วย
- สหรัฐฯเล็งช่วยเหลือแรงงาน เลื่อนเดดไลน์ภาษี สนับสนุนสายการบินเพื่อรับมือไวรัสโคโรนา
นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีการคลังสหรัฐฯ เปิดเผยว่าทีมบริหารของประธานาธิบดีสหรัฐฯกำลังพิจารณาผ่อนคลายนโยบายทางเศรษฐกิจเพื่อรับมือผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ผ่านการสนับสนุนแรงงานและธุรกิจด้วยการอัดฉีดเงินเป็นมูลค่าหลายแสนล้านเหรียญเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
ทางทีมบริหารกำลังเตรียมนำเสนอแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะแบ่งออกเป็นหลายขั้นตอนให้กับสภาคองเกรส โดยจะรวมไปถึงการขยายเดดไลน์ในการจ่ายภาษีออกไปจากเดิมในวันที่ 15 เม.ย. การจ่ายเงินชดเชยให้กับธุรกิจที่สูญเสียผลประกอบการเนื่องจากมีคนงานที่ติดเชื้อ และนโยบายสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง สายการบิน โรงแรม และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
สภาผู้แทนราษฏรสหรัฐฯมีแผนที่จะลงมติในร่างนโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจขั้นแรกภายในวันพฤหัสบดีนี้ โดยร่างนโยบายขั้นแรกนี้จะเพิ่มสวัสดิการให้กับคนว่างงานที่สูยเสียงานไปเพราะไวรัสโคโรนา
- นายชัค แกรสซีย์ ประธานคณะกรรมาธิการกำกับดูแลด้านการเงินของวุฒิสภาสหรัฐฯ กล่าวว่า การปรับลดภาษีเงินได้ ถือเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งภายใต้การพิจารณาหาวิธีลดผลกระทบจากไวรัสโคโรนาที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก
- รัฐบาลสหรัฐฯกำลังพิจารณาออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ท่ามกลางจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
รายงานจาก Reuters ระบุว่ารัฐบาลสหรัฐฯกำลังพิจารณาออกนโยบายป้องกันผลกระทบจากไวรัสโคโรนาผ่านการกระตุ้นเศรษฐกิจและสนับสนุนรายได้ของชาวอเมริกัน แต่ยังไม่มีการตกลงกันภายในรัฐบาลได้แต่อย่างใด
จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีบางรายที่มีอาการเข้าขั้นวิกฤติ ส่งผลให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพในสหรัฐฯต่างออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐฯช่วยเหลือด้านการตรวจคัดกรองโรค รวมถึงออกนโยบายทางเศรษฐกิจเพื่อปกป้องไม่ให้เศรษฐกิจล่มสลาย
นายไมค์ เพนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวกับสำนักข่าวว่าพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันจะเร่งดำเนินงานร่วมกันเพื่อผลักดันให้เกิดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
รายละเอียดหลักของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ทีมบริหารของประธานาธิบดีสหรัฐฯกำลังพิจารณา ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการผ่อนคลายภาษี แต่ยังไม่มีรายละเอียดว่าจะผ่อนคลายมากหรือนานแค่ไหน
นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ที่ทีมบริหารจะพิจารณาใช้มาตรการพิเศษเพื่อช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก รวมถึงแรงงานที่ขาดรายได้เนื่องจากไวรัส
นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีกำหนดการพบกับตัวแทนจากธนาคารรายใหญ่ในสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมา
ขณะที่นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีการคลังสหรัฐฯ ในฐานะตัวแทนของนายทรัมป์ มีกำหนดการจะประชุมร่วมกับนางแนนซี เพโลซี หัวหน้าสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เพื่อเจรจาเกี่ยวกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
- เฟดสาขานิวยอร์ก, ซานฟรานซิสโก และบอสตัน ประกาศให้พนักงานทำงานอยู่ที่บ้านเพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในเวลานี้ และดูเหมือนเฟดจะให้ความสำคัญและจับตาไปยังไวรัสโคโรนาเป็นสำคัญในเวลานี้
- รายงานจากรอยเตอร์ศ เผย บรรดานักวิเคราะห์มองว่ายอดขายรถยนต์ของสหรัฐฯดูจะได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนาในครั้งนี้ด้วย แม้ว่ากลุ่มผู้บริหารภาคอุตสาหกรรมจะกล่าวว่าการแพร่ระบาดในเวลานี้ยังไม่ส่งผลต่ออุปสงค์หรือการผลิตก็ตาม
* ล่าสุด *
ทรัมป์ประกาศระงับการเดินทางระหว่างสหรัฐฯ-ยุโรปทั้งหมด เพื่อป้องกันโคโรนาไวรัส
นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีประกาศออกมาเช้าวันนี้ ว่ารัฐบาลจะระงับการเดินทางจากยุโรปสู่สหรัฐฯทุกเส้นทางเป็นเวลา 30 วัน เริ่มต้นวันศุกร์นี้ เพื่อป้องกันการระบาดของไวรัสโคโรนา
ทั้งนี้ การเดินทางจากอังกฤษสู่สหรัฐฯไม่ได้ถูกระงับไปด้วยแต่อย่างใด
· ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินเยนและสวิสก์ฟรังก์ตามการร่วงลงของตลาดหุ้น และความกังวลเรื่องไวรัสโคโรนาที่ดูจะส่งผลให้นักลงทุนเข้าถือสินทรัพย์ปลอดภัย แม้ว่าเงินปอนด์จะค่อนข้างแกว่งตัวทั้งขึ้นและลง โดยระหว่างวันมีการรับข่าวบีโออีทำการหั่นดอกเบี้ย
ทั้งนี้ ธนาคารกลางและรัฐบาลทั่วโลกต่างก็พยายามหาวิธ๊รับมือเพื่อจำกัดผลเสียจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา แต่นักลงทุนก็ดูจะผิดหวังต่อมาตรการเศรษฐกิจของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ยังคงปราศจากรายละเอียดที่ชัดเจนใดๆ
ขณะที่เมื่อวานนี้ นายทรัมป์พยายามบรรเทาตลาดด้วยการทวิตเตอร์ข้อความว่า จะใช้เครื่องมือทั้งหมดที่รัฐบาลมีที่จำเป็นต่อการสู้กับไวรัสโคโรนา แต่เขาก็ยังไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆเพิ่มเติม
ค่าเงินปอนด์ระหว่างวันรีบาวน์ได้จากการที่บีโออีหั่นดอกเบี้ยลงอีก 0.5% แต่แล้วเงินปอนด์ก็อ่อนค่าลงตามการร่วงลงของหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ โดยปรับอ่อนค่าลง 0.6% ที่ 1.2835 ดอลลาร์/ปอนด์
ค่าเงินเยนแข็งค่ามา 0.9% ที่ 104.72 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 105.915 เยน/ดอลลาร์ ในขณะที่ค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.1274 ดอลลาร์/ยูโร และดัชนีดอลลาร์แข็งค่าเล็กน้อย 0.2% ที่ 96.517 จุด
· ราคาน้ำมันดิบปิดปรับตัวลง จากการที่รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานน้ำมันซาอุดิอาระเบียยืนยันแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตจากระดับประมาณ 12 ล้านบาร์เรล/วัน สู่ระดับ 13 ล้านบาร์เรล/วัน จึงส่งผลให้น้ำมันดิบ Brent ปิดลดลง 1.27 เหรียญ หรือ -3.4% ที่ระดับ 35.95 เหรียญ/บาร์เรล ในขณะที่ WTI ปิดปรับลง 1.38 เหรียญ หรือ -4.02% ที่ 32.98 เหรียญ/บาร์เรล