กระแสคาดการณ์ส่วนใหญ่มองว่าอัตราการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯจะเริ่มชะลอตัวลงในปี 2020 และเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2021 เนื่องจากการที่บรรดาผู้ผลิตน้ำมันในสหรัฐฯประกาศยกเลิกแผนการลงทุน หลังกลุ่มโอเปกและรัสเซียปฏิเสธที่จะไม่ปรับลดกำลังการผลิตและทำให้ราคาน้ำมันมันปรับร่วงลงอย่างหนัก
หน่วยงานด้านพลังงานทั้งเอกชนและรัฐบาลต่างเตือนว่าปริมาณอุปสงค์ในน้ำมันจะยิ่งชะลอตัวลงเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ขณะที่สำนักงานด้านพลังงานนานาชาติ (IEA) ระบุว่าปริมาณการบริโภคน้ำมันจะหดตัวลงในปี 2020 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่องค์กรอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ปี 2019 นับเป็นการระบาดในระดับโลก (Pandemic) ท่ามกลางจำนวนผู้ติดเชื้อที่พุ่งสูงกว่า 119,100 ราย และเสียชีวิตอีกกว่า 4,300 ราย
สงครามราคาน้ำมันระหว่างซาอุดิอาระเบียและรัสเซียก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันร่วงมากถึง 20% ในสัปดาห์นี้
การประกาศคาดการณ์ว่าอุปสงค์ในน้ำมันจะชะลอตัวของ IEA ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2009 โดยประเมินว่าผลกระทบจากไวรัสจะทำให้ปริมาณอุปสงค์หดตัวมากถึง 2.5 ล้านบาร์เรล/วัน ภายในไตรมาสแรกปีนี้ หรือคิดเป็นหดตัว 90,000 บาร์เรล/วันเมื่อเทียบกับอุปสงค์ในปี 2019
ปริมาณอุปสงค์น้ำมันจะชะลอตัวใน Q1/2020
ตารางด้านล่างเป็นการคาดการณ์ปริมาณอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกในไตรมาสแรกของปี 2020 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกับของปีก่อน แม้ปริมาณจะค่อนข้างแตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่มองว่าปริมาณอุปสงค์จะชะลอตัวในไตรมาสแรก โดยเฉพาะในประเทศจีน
การที่อุปสงค์ในน้ำมันถูกคาดการณ์ว่าจะชะลอตัวลงเป็นวงกว้าง ได้ส่งผลให้บรรดาผู้น้ำมันรายใหญ่พิจารณาจำกัดกำลังการผลิตเพื่อช่วยหนุนราคาน้ำมันและจำกัดผลกระทบของไวรัส แต่ทางรัสเซียปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือปรับลดกำลังการผลิตตามข้อเรียกร้องของกลุ่มโอเปก ทำให้เกิดเป็นความขัดแย้งและทั้งสองฝ่ายประกาศจะเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นแทน
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ทางกลุ่มโอเปกคาดว่าปริมาณอุปสงค์น้ำมันน่าจะหดตัวประมาณ 1.8 ล้านบาร์เรล/วัน ภายในไตรมาสแรก โดยเฉพาะในประเทศจีนที่เกิดการระบาดขึ้นเป็นแห่งแรก
ทาง IEA คาดว่าราคาน้ำมันที่ตกต่ำจะกดดันให้ปริมาณการขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯปีนี้ชะลอตัวลง ซึ่งจะทำให้ปริมาณการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯชะลอตัวลงสู่ระดับ 12.7 ล้านบาร์เรล/วัน ภายในปี 2021 ซึ่งจะนับเป็นการชะลอตัวครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ธนาคารเพื่อการลงทุน Stifel คาดการณ์ว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ ที่เป็นปัจจัยที่สามารถบ่งชี้ถึงปริมาณการผลิตน้ำมันในอนาคตได้ มีแนวโน้มที่จะปรับลดลงไปถึง 250 แห่งภายในปีนี้ ขณะที่สถาบัน Evercore ISI คาดว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯจะปรับลดลงไปมากกว่า 25% ในปี 2020
ตามข้อมูลของสถาบัน Baker Hughes เมื่อวันที่ 3 มี.ค. ที่ผ่านมา จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯที่ยังปฏิบัติการอยู่มีอยู่ทั้งหมด 682 แห่ง
ทาง Stifel คาดว่าปริมาณการผลิตน้ำมันสหรัฐฯอาจลดลงสู่ระดับ 11.1 ล้านบาร์เรล/วัน ภายในปี 2021 จากในปี 2020 ที่ 12.6 ล้านบาร์เรล/วัน
ปริมาณการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ในช่วงสงครามราคา
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต่างคาดการณ์ว่าปริมานการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯจะเริ่มชะลอตัวลงเนื่องจากราคาน้ำมันที่ตกต่ำ หลังจากข้อตกลงด้านลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปกและพันธมิตรล่มสลายลงในเดือน มี.ค. ก่อให้เกิดเป็นสงครามราคาน้ำมันที่อาจให้เกิดภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาดตามมา
ธนาคารรายใหญ่ต่างก็ปรับลดคาดการณ์ปริมาณอุปสงค์และราคาน้ำมันเช่นกัน โดย Goldman Sachs คาดว่าปริมาณอุปสงค์ทั่วโลกจะหดตัวลง 150,000 บาร์เรล/วัน ขณะที่ JBC Energy ระบุว่าผลกระทบจากไวรัสโคโรนาจะทำให้ปริมาณอุปสงค์ทั่วโลกหดตัวลงมากถึง 150,000 บาร์เรล/วัน ภายในปี 2020
ทาง Bank of America ลดเป้าหมายราคาน้ำมันดิบ Brent ลงสู่ระดับ 45 เหรียญ/บาร์เรล สำหรับปี 2020 จากเดิมที่ 54 เหรียญ/บาร์เรล
คาดการณ์ราคาน้ำมันตกต่ำ ท่ามกลางภาวะสงครามราคา
ทั้งราคาสัญญาน้ำมันดิบ Brent และ WTI ต่างถูกคาดการณ์ว่าจะปรับลดลงจากคาดเดิมด้วยกันทั้งสิ้น หลังจากกลุ่มโอเปกและพันธมิตรเจรจาล้มเหลว ทำให้เกิดเป็นสงครามราคาน้ำมันระหว่างประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ตามมา
ที่มา: Reuters