Stock Futures ดิ่งลงรายวันแย่ที่สุดนับตั้งแต่ที่เคยเกิด Black Monday ในปี 1987 โดยจะเห็นได้จากดัชนีดาวโจนส์ที่ปรับตัวลงตั้งแต่ช่วงต้นตลาดกว่า 250 จุด
· ดัชนีดาวโจนส์ร่วงกว่า 10% ท่ามกลางความกังวลไวรัสโคโรนาที่ทำให้ภาพรายวันแย่ที่สุดตั้งแต่ปี 1987
ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดปรับตัวลงอีกครั้ง หลังจากที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯและเฟดยังคงล้มเหลวในการหาทางคลายความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อันเนื่องจากไวรัสโคโรนา และนั่นได้ส่งผลให้ตลาดปรับตัวลงเป็นประวัติการณ์
ดัชนีดาวโจนส์ปิดปรับลง 2,352.6 จุด หรือ -9.99% ที่ 21,200.62 จุด ซึ่งเป็นการปิดรายวันที่แย่ที่สุดตั้งแต่ปี 1987 ที่เคยเกิด Black Monday และโดยภาพรวมดาวโจนส์ร่วงลงมาแล้วกว่า 22%
ดัชนี S&P500 ปิด -9.5% ที่ 2,480.64 จุด เข้าร่วมตลาดหมีเช่นเดียวกับดาวโจนส์ และมีการร่วงลงรายวันที่มากที่สุดตั้งแต่ปี 1987 เช่นกัน ในส่วนของดัชนี Nasdaq ปิดปรับลงไปกว่า 9.4% ที่ 7,201.8 จุด
ดัชนี S&P500 เข้าสู่ตลาดหมีและมีการปรับตัวลงที่มากกว่า 26% นับตั้งแต่ที่ขึ้นไปทำสูงสุดเป็นประวัติการ์เมื่อเดือนที่แล้ว ขณะที่ดาวโจนส์ปรับลงไปกว่า 20% หลังจากที่ทำ All-Time Highs
การซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐฯมีการหยุดพักเป็นเวลา 15 นาทีสั้นๆหลังจากที่เปิดตลาดมาร่วงไปกว่า 7% และการร่วงอีกครั้งที่ตามมาทำให้เกิด Circuit Breaker ในตลาดหุ้น New York Stock Exchange เช่นกัน
ดัชนีมาตรวัดความผันผวนหรือ VIX ปรับขึ้นไปกว่า 76% ถือเป็นระดับสุงสุดตั้งแต่ปี 2008
· หุ้นยุโรปปิด -11% รายวันที่แย่ที่สุดจากกังวลไวรัสโคโรนา
ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงรายวันที่แย่ที่สุดเป็นประวัติการณ์วานนี้ จากกลุ่มนักลงทุนที่ตอบรับกับนโยบายแบนการเดินทางของสหรัฐฯ และการที่อีซีบีไม่ตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ย โดยดัชนี Stoxx600 ปิด -11% ขณะที่หุ้นกลุ่มท่องเที่ยวและการบริการปรับลงไปกว่า 12.8%
ดัชนี FTSE100 ของอังกฤษปิด -9.8% ด้าน CAC ของฝรั่งเศส ปิด -12.3% ขณะที่ DAX ของเยอรมนีปิด -12.2% ทางด้านดัชนีของอิตาลีปรับตัวลงไปเกือบ 17% ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นระดับการปรับตัวลงรายวันที่ย่ำแย่ที่สุด
นายทรัมป์ กล่าวไว้ในวันพุธว่าจะทำการระงับการเดินทางจาก 26 ประเทศยุโรปสู่สหรัฐฯเป็นเวลา 30 วันเพื่อจำกัดการควบคุมการแพร่ระบาดอขงไวรัส และมาตรการใหม่นี้จะมีผลบังคับใช้หลังเที่ยงคืนวันศุกร์
· หุ้นเอเชียดิ่ง Nikkei ร่วงกว่า 10% ท่ามกลางแรงเทขายในตลาดเอเชียแปซิฟิก
หุ้นเอเชียวันนี้เปิดร่วงลงหนักตั้งแต่เช้าตามการปรับตัวลงของหุ้นสหรัฐฯจากความกังวลเรื่องการแพร่ระบาดที่ดูจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของกลุ่มนักลงทุน โดยดัชนีนิกเกิอเปิดร่วงลงมากที่สุดกว่า 10.06% หรือร่วงลงกว่า 20% จากระดับปิดสูงสุดที่ทำไว้ในรอบ 52 สัปดาห์ ขณะที่ Topix เปิด -9.38%
ดัชนี S&P/ASX200 ของออสเตรเลียเปิด -7.42% และ Kospi ของเกาหลีใต้เปิด -7.45% ขณะที่ Kosdaq ปิด -8.67%
ภาพรวมดัชนี MSCI ที่ไม่รวมญี่ปุ่นเปิด -5.12%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 31.65 – 31.92 บาท/ดอลลาร์
- ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.พ.63 อยู่ที่ 64.8 จากเดือน ม.ค. 63 ที่อยู่ในระดับ 67.3 ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 21 ปี สาเหตุมาจากความกังวลการระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ และปัญหาภัยแล้ง
- ม.หอการค้าไทย ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 63 ลงจากประมาณการครั้งก่อน (ม.ค.63) โดยคาดว่าปีนี้จะขยายตัวได้เพียง 1.1% จากเดิมคาดว่าจะเติบโต 2.8% ขณะที่การส่งออกพลิกมาติดลบ -1% จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตได้0.8% อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ 0.7% พร้อมคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวในปีนี้จะลดลงเหลือ 33.5 ล้านคน จากเดิมที่คาดไว้ 41.4-41.8 ล้านคน เงินบาทเคลื่อน ไหวในกรอบ 30.50-31.50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ0.50-1.00%
- คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติให้คงอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร(ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บเดือนพ.ค.– ส.ค.63 จำนวน -11.60 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.64 บาทต่อหน่วย ต่อไปอีก 4 เดือน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยบรรเทาค่าครองชีพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 คาดว่าจะใช้เงินประมาณ 5,120 ล้านบาทในการบริหารจัดการเพื่อตรึงค่าเอฟที
- กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศ ล่าสุดวันนี้พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้น 11 ราย รักษาหายกลับบ้านได้ 1 ราย เป็นหญิงอายุ 62 ปี ส่งผลให้ยอดสะสมรวมเพิ่มขึ้นเป็น 70ราย
- นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการเดินทางไปตรวจเยี่ยมการเตรียมการด้านสาธารณสุข เพื่อรองรับการรักษาโควิด-19 ที่อาคารศูนย์การแพทย์ราชวิถีว่า สถานการณ์ขณะนี้ยังควบคุมได้อยู่ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน ๆ เป็นเรื่องปกติ แต่การที่ติดเชื้อเพิ่มแสดงว่าเรา Control ได้
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) หยุดพักการซื้อขายหุ้นชั่วคราวตามมาตรการเซอร์กิตเบรกเกอร์ หลังจากดัชนี SET ภาคบ่ายยังดิ่งหนักถึง 10%
- นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กระทรวงการคลังเร่งศึกษาการจัดตั้งกองทุนสร้างเสถียรภาพตลาดทุน หรือ กองทุนพยุงหุ้น นอกจากนี้ ได้หารือกับกระทรวงการคลังในการเตรียมมาตรการชุดที่ 2 ดูแลผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไปที่กลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบทั้งผู้ประกอบอาชีพอิสระ และมีรายได้ประจำ และเตรียมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค.
- รมว.คลัง ระบุ กระทรวงการคลังไม่มีแนวคิดที่จะลดภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุนในตลาดหุ้น รวมทั้งไม่มีแนวคิดลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กระตุ้นเศรษฐกิจเหมือนประเทศญี่ปุ่นที่พิจารณาลดภาษี VAT เหลือ 0% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 อย่างรุนแรง