สถานการณ์ไวรัสโคโรนาล่าสุด:
- จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 220,229 ราย
- จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 8,982 ราย
- จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 167 ประเทศ
- จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯ ล่าสุดอยู่ที่ 9,464 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 155 ราย
- จำนวนผู้ติดเชื้อในไทย ล่าสุดอยู่ที่ 272 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย
- จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลี ล่าสุดอยู่ที่ 35,713 ราย และมีผู้เสียชีวิต 2,978 ราย
- จำนวนผู้ติดเชื้อในอิหร่าน ล่าสุดอยู่ที่ 17,361 ราย และเสียชีวิต 1,135 ราย
· จีนพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 21 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นประชาชนที่เดินทางมาจากสเปนและอังกฤษ ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อใหม่ในพื้นที่ของจีนเพิ่มขึ้นเพียง 32 ราย ทำให้ภาพรวม ณ ขณะนี้อยู่ที่ 80,928 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตที่ 3,245 ราย โดยมีการปรับตัวขึ้นประมาณ 8 ราย
· ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อจากประเทศจีนกล่าวว่า การติดเชื้อภายในเมืองอู่ฮั่นอาจเริ่มหมดลงภายในช่วงกลางจนถึงปลายเดือน มี.ค. และหากเมืองอู่ฮั่นมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ออกมาที่ 0 รายติดต่อกัน 14 วัน ก็จะสามารถทยอยลดมาตรการควบคุมโรคระบาดบางส่วนลงไปได้
อย่างไรก็ตาม ยังคงแนะนำให้มีมาตรการควบคุมที่เข็มงวด เพื่อป้องกันโอกาสที่ไวรัสจะกลับมาระบาดหนักอีกครั้ง
· นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียประกาศปิดกั้นการเดินทางเข้าประเทศจากผู้ที่ไม่ใช่พลเมืองหรือมีเชื้อชาติออสเตรเลียทั้งหมด โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เวลา 17.00 น. วันศุกร์นี้ ตามเวลาประเทศไทย พร้อมให้เหตุผลว่าเป็นเพราะจำนวนผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มาจากผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศ
ทั้งนี้ ออสเตรเลียมีจำนวนผู้ติดเชื้อรวมกันประมาณ 600 ราย และเสียชีวิต 6 ราย ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างเมื่อเทียบกับต่างประเทศ แต่รัฐบาลก็มีความกังวลว่าอาจเกิดการแพร่ระบาดที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วได้
· ประธานาธิบดีชิลีประกาศให้ประเทศเข้าสู่ภาวะฉุกเฉินเป็นเวลา 90 วัน เพื่อมอบอำนาจและอิสระในการออกนโยบายให้กับรัฐบาล เพื่อทำให้อาหารและบริการต่างๆมีเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ท่ามกลางจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น
· Lufthansa เตือนว่าสายการบินต่างๆอาจไม่สามารถอยู่รอดได้ หากสถานการณ์ไวรัสโคโรนายังคงยืดเยื้อและไม่ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ
· ค่าเงินดอลลาร์ยังคงปรับแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ ท่ามกลางตลาดที่ยังคงมีการเทขายสินทรัพย์อื่นๆเพื่อหันไปถือครองเงินสดในรูปค่าเงินดอลลาร์มากขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรนา
ขณะที่ค่าเงินปอนด์เคลื่อนไหวใกล้ระดับอ่อนค่าที่สุดตั้งแต่ปี 1985 ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียทำระดับต่ำสุดในรอบ 17 ปี ส่วนค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ทำระดับต่ำสุดในรอบ 11 ปี เนื่องจากนักลงทุนพากันเทขายสินทรัพย์เสี่ยง
ค่าเงินยูโรสามารถแข็งค่าขึ้นได้ในระยะสั้นหลังจากที่อีซีบีประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นวงเงิน 7.50 แสนล้านยูโร (8.17 แสนล้านเหรียญ) เมื่อคืนที่ผ่านมา แต่กลับอ่อนค่าลงอีกครั้งท่ามกลางการแข็งค่าอย่างต่อเนื่องของเงินดอลลาร์
นักวิเคราะห์จาก IG Securities ระบุว่านักลงทุนส่วนใหญ่ต้องการถือครองทรัพย์สินของพวกเขาในรูปค่าเงินดอลลาร์ เนื่องด้วยสถานการณ์ความไม่มั่นคงของตลาดมีมีความรุนแรงในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เศรษฐกิจบางส่วนกลายเป็นอัมพาต
· ทั้งนี้ ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า 0.8% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์แถว 1.1528 ดอลลาร์/ปอนด์ ซึ่งที่เป็นระดับแข็งค่าที่สุดตั้งแต่ปี 1985
ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า 3% เมื่อเทียบกับดอลลาร์นิวซีแลนด์และดอลลาร์ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นระดับแข็งค่าที่สุดในรอบ 11 ปี และ 17 ปี ตามลำดับ
เมื่อเทียบกับเงินเยน ดอลลาร์แข็งค่าแข็งค่า 0.65% แถว 108.76 เยน/ดอลลาร์
ค่าเงินยูโรในช่วงแรกสามารถปรับแข็งค่าขึ้นหลังการประกาศนโยบายของอีซีบี แต่อ่อนค่าลงมาและเริ่มทรงตัวแถว 1.0924 ดอลลาร์/ยูโร
· EUR/USD Forecast: ยูโรมีโอกาสอ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดปีนี้
บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่าท่ามกลางการเข้าซื้อค่าเงินดอลลาร์เพื่อถือครองเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา ได้ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับสกุลเงินส่วนใหญ่ รวมถึงค่าเงินยูโร จากก่อนหน้านี้ที่ค่าเงินยูโรพยายามฟื้นตัวขึ้นมาทดสอบระดับ 1.1000 ดอลลาร์/ยูโร จึงถูกกดดันอ่อนค่าลงอีกครั้งแถว 1.0807 ดอลลาร์/ยูโร เข้าใกล้ระดับต่ำสุดของปีนี้ที่ 1.0777 ดอลลาร์/ยูโร
EUR/USD short-term technical outlook
ค่าเงินสามารถฟื้นตัวขึ้นมาปิดตลาดแถว 1.0830 ดอลลาร์/ยูโร แต่ภาพรวมทางเทคนิคระยะสั้นก็ยังคงอยู่ในแนวโน้มขาลง โดยค่าเงินจะมีแนวต้านสำคัญอยู่ที่เส้นค่าเฉลี่ยราย 200 วันที่ค่อนข้างทรงตัวแถว 1.1000 ดอลลาร์/ยูโร แต่ค่าเงินก็เคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่ บ่งชี้ถึงทิศทางขาลงที่แข็งแกร่ง และถึงแม้สัญญาณทางเทคนิคบางตัวจะเป็นภาวะ Oversold แต่ก็ไม่เห็นโอกาสที่ค่าเงินจะฟื้นตัวได้ในเร็วๆนี้
แนวรับ: 1.0805 1.0770 1.0735
แนวต้าน: 1.0860 1.0900 1.0940
· เฟดประกาศนโยบายสนับสนุนกองทุนรวมตลาดเงิน
รายงานจาก CNBC ระบุว่าเฟดได้ประกาศใช้นโยบายสนับสนุนกองทุนรวมตลาดเงินเพื่อให้สถาบันทางการเงินสามารถเข้าซื้อสินทรัพย์จากกองทุนรวมนี้ได้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งนโยบายที่ใช้ในสมัยวิกฤติทางการเงินเมื่อปี 2008 และเป็นการประกาศใช้นโยบายการเงินฉุกเฉินตัวที่ 3 ภายในระยะเวลาเพียง 2 วัน
ขณะที่ Reuters รายงานว่าเป็นนโยบายที่จะสนับสนุนกระแสการหมุนเวียนของเครดิตให้กับภาคครัวเรือนและธุรกิจ โดยกำหนดให้กองทุนรวมที่มีมูลค่า 3.8 ล้านล้านเหรียญ สามารถขายพันธบัตรและสินทรัพย์อื่นๆที่พวกเขาถือครองได้แบบเต็มราคา หากนักลงทุนต้องการถอนเป็นเงินสด
· ธนาคารกลางอีซีบีเผยการเข้าซื้อพันธบัตรรอบใหม่มูลค่า 7.5 แสนล้านยูโร จากการประชุมฉุกเฉินวานนี้เพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจยูโรโซนท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนาเวลานี้ ที่ส่งผลให้ยุโรปเข้าสู่ภาวะ Lockdown และกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดชะงักงัน รวมทั้งส่งผลให้ตลาดผันผวน และมีโอกาสเห็นภาวะถดถอยดังที่เคยเกิดในช่วงวิกฤตการเงินปี 2008
ภายใต้แรงกดดันทั้งหมดที่ทำให้อีซีบีตัดสินใจดำเนินการที่มากขึ้น พร้อมกันนี้ อีซีบียังมีแผนที่จะเข้าซื้อพันธบัตรปีนี้ให้ได้สูงถึง 1.1 ล้านล้านยูโร หรือคิดเป็นมูลค่า 6% ของจีดีพีในยุโรป
· ญี่ปุ่นเล็งจ่ายเงินสดช่วยเหลือครัวเรือนจากไวรัสโคโรนา
รายงานจาก Reuters ระบุว่ารัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาใช้นโยบายจ่ายเงินสดเพื่อช่วยเหลือประชาชนจากผลกระทบของไวรัสโคโรนา โดยอาจมีวงเงินมูลค่าถึง 2.76 ล้านเหรียญ
ด้านรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจญี่ปุ่นระบุว่านโยบายต่างๆจะถูกรวบรวมและน่าจะถูกนำเสนอต่อรัฐสภาภายในเดือน เม.ย. พร้อมระบุว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจจากไวรัสโคโรนาอาจร้ายแรงยิ่งกว่าวิกฤติทางเศรษฐกิจในปี 2008 ได้
· บีโอเจประกาศเข้าซื้อพันธบัตรเป็นมูลค่า 3 แสนล้านเยน ในการประชุมฉุกเฉินวันนี้ นับเป็นการประกาศเข้าซื้อพันธบัตรรอบที่สองของบีโอเจ
· โพลล์สำรวจจากสำนักข่าว Reuters ระบุว่า ความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่ของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาสแรกมีแนวโน้มแย่ลงที่สุดในรอบ 7 ปี ขณะที่การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่กระจายทั่วโลกทำให้ตลาดการเงินแย่ลงและเพิ่มความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจรายไตรมาส Tankan ของบีโอเจ คาดว่า ความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่ประจำเดือนมี.ค.ลดลงเหลือ -10 จากระดับศูนย์เมื่อสามเดือนก่อน
· ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ให้สัญญาว่าจะมีงบประมาณช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กเป็นมูลค่า 50 ล้านล้านวอน (3.9 หมื่นล้านเหรียญ) รวมถึงมาตรการอื่นๆเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัส
มาตรการดังกล่าวเป็นล่าสุดล่าสุดที่รัฐบาลเกาหลีใต้ออกมาส่งสัญญาณ ซึ่งก่อนหน้านี้ธนาคารกลางเกาหลีใต้ได้ประกาศลดดอกเบี้ย อัดฉีดเงินเข้าสู่เศรษฐกิจเป็นมูลค่า 11.7 ล้านล้านวอน (9.12 พันล้านเหรียญ) และเพิ่มการถือครองเงินดอลลาร์เป็นทุนสำรอง
· ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศลดดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ระดับ 0.25% ส่งผลให้ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์แข็งค่าขึ้นทันที
· รัฐบาลและธนาคารกลางออสเตรเลียร่วมกันประกาศว่าจะมีการอัดฉีดเงินเข้าสู่เศรษฐกิจเป็นมูลค่า 1 แสนล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (5.6 หมื่นล้านเหรียญ) เพื่อบรรเทาผลกระทบจากเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของไวรัส
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้น ท่ามกลางภาวะ Panic Selling ในตลาดอื่นๆ และกลุ่มนักลงทุนพยายามรับข่าวบรรเทาตลาดด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางต่างๆ โดยภาพรวมตลาดยังอยู่ภายใต้แรงกดดันจากอุปสงค์ในตลาดที่อ่อนตัวลงจากการระบาดของไวรัสโครนา
น้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 1.06 เซนต์ หรือ +4.3% ที่ระดับ 25.94 เหรียญ/บาร์เรล โดยก่อนหน้านี้พุ่งสูงขึ้น 27.19 ดอลลาร์ ลดลง 13% จากเมื่อวาน ในวันที่สามของการขาย
น้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 2.11เหรียญ หรือ +10.4% ที่ระดับ 22.48 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่เพิ่มขึ้นเกือบ 20% จากก่อนหน้านี้ที่น้ำมัน WTI ลดลงเกือบ 25%
· WTI Price Analysis: ราคาน้ำมัน WTI ย่อลงต่อ หลังฟื้นตัวไม่ผ่านแนวต้าน 24.00 เหรียญ/บาร์เรล
บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่าราคาน้ำมัน WTI ได้ปรับตัวลงต่ออีกครั้ง หลังจากราคาไม่สามารถฟื้นตัวผ่านแนวต้านสำคัญทางจิตวิทยาที่ 24.00 เหรียญ/บาร์เรลในช่วงต้นตลาดเอเชียวันนี้ได้
โดยเช้านี้ราคาน้ำมันได้ย่อตัวลงมา 1.26% แถว 22.64 เหรียญ/บาร์เรล และในภาพรวมรายเดือนราคาได้ปรับลงมาประมาณ 50%
ขณะที่เส้น RSI ยังคงต่ำกว่าระดับ 30 จุด ซึ่งเป็นสัญญาณของภาวะ Oversold แต่ยังคงไม่มีแนวโน้มที่ราคาจะสามารถฟื้นตัวหรือกลับตัวขึ้นมาได้แต่อย่างไร ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลย เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างซาอุดิอาระเบียและรัสเซียที่ทำให้ตลาดน้ำมันอยู่ในภาวะอุปทานล้นตลาด
สำหรับฝั่งอุปสงค์ในน้ำมันก็ยังอ่อนแอจากภาวะการระบาดของไวรัสโคโรนาที่อาจกดดันให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย หากยังคงระบาดออกไปเป็นวงกว้างและนานยิ่งกว่านี้
ทั้งนี้ ราคาจะมีโอกาสฟื้นตัวมากขึ้นหากเกิดสัญญาณ Bullish engulfing ในกราฟแท่งเทียนร่วมกับ RSI ที่เป็นภาวะ Oversold แต่ในปัจจุบันยังไม่มีสัญญาณดังกล่าวเกิดขึ้น นักลงทุนฝั่งรอซื้อจึงยังไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆเช่นกัน
ดอยู่ที่ 220,229 ราย
- จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 8,982 ราย
- จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 167 ประเทศ
- จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯ ล่าสุดอยู่ที่ 9,464 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 155 ราย
- จำนวนผู้ติดเชื้อในไทย ล่าสุดอยู่ที่ 272 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย
- จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลี ล่าสุดอยู่ที่ 35,713 ราย และมีผู้เสียชีวิต 2,978 ราย
- จำนวนผู้ติดเชื้อในอิหร่าน ล่าสุดอยู่ที่ 17,361 ราย และเสียชีวิต 1,135 ราย