- จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 336,638 ราย
- จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 14,611 ราย
- จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 192 ประเทศ (+13)
- จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีเพิ่มขึ้นแตะระดับ 59,138 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งสิ้น 5,476 ราย
- จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาเป็นอันดับที่ 3 ของโลกรองจากอิตาลี โดยล่าสุดมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 9,139 ราย รวมอยู่ที่ 33,346 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 112 ราย สู่ระดับ 414 ราย
- จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดเพิ่มอีก 188 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 559 ราย และมีผู้เสียชีวิตสะสมเพียง 1 ราย
- ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาพุ่ง 300,000 ราย ขณะที่สหรัฐฯกลายเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีผู้ติดเชื้อแย่สุด โดยสถานการณ์ในสหรัฐฯ, อิตาลี และสเปนกำลังวิกฤต
- ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก กล่าวในคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่าจำนวนการเพิ่มขึ้นในรัฐนิวยอร์กเพิ่มขึ้นแตะ 15,168 ราย แซงหน้าฝรั่งเศสและเกาหลีใต้เป็นที่เรียบร้อย
- วุฒิสภาสหรัฐฯกำลังเริ่มต้นหารือแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดหรียญที่จะประกอบไปถึงการช่วยเหลือทางการเงินโดยตรงแก่ชาวอเมริกาในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา
ใจความสำคัญที่ถูกเปิดเผยโดยผู้นำเสียงข้างมากวุฒิสภา อันประกอบไปด้วยการละเว้นภาษี จนถึงการจ่ายให้ประชาชนส่วนบุคคล 1,200 เหรียญ และคู่สมรสมูลค่า 2,400 เหรียญ
ในร่างกฎหมายยังเตรียมถึงงบ 2.08 แสนล้านเหรียญ เพื่อสนับสนุนเงินกู้ให้ภาคธุรกิจขนาดเล็ก, วงเงิน 5.8 หมื่นล้านเหรียญ ช่วยเหลือแก่ภาคสายการบิน และอีก 1.5 แสนล้านเหรียญสำหรับภาคอื่นๆที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
ทั้งนี้ นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เรียกร้องให้บรรดาส.ส. โหวตผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวภายในวันจันทร์นี้
- ล่าสุดรายงานจาก CNBC เผยว่า ร่างนโยบายรับมือไวรัสโคโรนาไม่ผ่านการลงมติในวุฒิสภาสหรัฐฯ ซึ่งแผนดังกล่าวจะเป็นการใช้งบประมาณมหาศาลของสหรัฐฯ โดยสมาชิกฝั่งเดโมแครตระบุว่าร่างนโยบายดังกล่าวเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่มากเกินไป แต่ไม่ให้ความช่วยเหลือกับชนชั้นแรงงานเท่าที่ควร
ตลาดหุ้นปรับร่วงลงทันทีหลังรับข่าวการลงมติในร่างนโยบาย ขณะที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังแสดงความเชื่อมั่นว่าร่างนโยบายดังกล่าวจะสามารถผ่านการลงมติไปได้ในท้ายที่สุด
- ทีมนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดวิกฤตทางการเงินครั้งนี้จะแย่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 1929 ท่ามกลางคยวามกังวลการถดถอยทางเศรษฐกิจ โดยตลาดการเงินส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจที่แย่ที่สุดตั้งแต่ปี 1929 ส่งผลให้บรรดานักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันรายใหญ่ๆหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจและคาดเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย
นักวิเคราะห์บางรายมองว่า แม้หุ้นยุโรป, สหรัฐฯ และเอเชีย มีแนวโน้มจะฟื้นตัวได้ในวันศุกร์ แต่วิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนาก็เป็นสิ่งที่ยากจะคาดเดา ดังนั้น จึงเป็นแรงกดดันสำคัญของตลาดหุ้น โดยดัชนี S&P500 ร่วงลงมาแล้วประมาณ 30% ตั้งแต่ที่ขึ้นไปทำ All-Time High เมื่อ 19 ก.พ. และอาจร่วงลงอีก 20% หลุดต่ำกว่า 2,000 จุดได้
ซึ่งในปี 1929 ที่เกิดวิกฤตทางการเงินหรือ Great Depression ก็ส่งผลให้นักลงทุนหันไปต้องการถือครองเงินสดมากขึ้นเมื่อ 29 ต.ค. ปี 1929 และในเวลานั้น S&P500 ร่วงลงไปกว่า 86% และใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปีในการฟื้นตัวกลับ และมีการเริ่มไต่ทำสูงสุดในช่วงประมาณปี 1954
สถาบัน IHS Markit ปรับลดคาดการณ์จีดีพีโลกปีนี้ลงสู่ระดับ 0.7% ท่ามกลางผลกระทบทางเศรษฐกิจ ซึ่งอัตราการขยายตัวที่ต่ำกว่า 2% นั้นเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ขณะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นคาดเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในขณะที่สหรัฐฯและยุโรปจะตามมาในช่วงไตรมาสที่ 2/2020
สำหรับ Real GDP ของสหรัฐฯ คาดจะร่วงลงแตะ 0.2% และยุโรปคาดปรับลงแตะ 1.5% สหรับญี่ปุ่นน่าจะปรับลงไปแถว 0.8% ในส่วนของจีนที่เป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดแห่งแรกคาดจีดีพีจะโตได้ที่ 3.9% จาก 6.1%
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Goldman Sachs ปรับลดคาดการณ์จีดีพีสหรัฐฯปีนี้ลงสู่ระดับ 1.25%
- ผู้นำสูงสุดแห่งอิหร่าน กล่าวอ้างว่าสหรัฐฯเป็นผู้ต้องสงสัยในการสร้างไวรัสโคโรนา หลังสหรัฐฯพยายามหยิบยื่นความช่วยเหลือหลายครั้งแก่อิหร่านเพื่อยับยั้งการระบาดของไวรัสโคโรนา
- นักวิทยาศาสตร์อังกฤษเตรียมเก็บตัวอย่างไวรัสจากผู้ป่วยทั่วประเทศเพื่อศึกษาการระบาด
รายงานจาก Reuters ระบุว่า รัฐบาลอังกฤษได้สั่งการให้นักวิทยาศาสตร์ดำเนินการเก็บตัวอย่างเชื้อไวรัสจากผู้ติดเชื้อทุกรายทั้งในประเทศอังกฤษ เวลส์ และสก็อตแลนด์ เพื่อศึกษาโอกาสที่ไวรัส COVID-19 จะกลายพันธ์ รวมถึงเพื่อทำคาดการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โดยใช้การศึกษาตามทฤษฎีการหาลำดับเบสดีเอ็นเอ (DNA Sequencing, Gene sequencing)
- นายกรัฐมนตรีกรีซออกประกาศปิดประเทศเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยจะจำกัดการเคลื่อนไหวของประชาชน ยกเว้นเฉพาะส่วนที่มีความจำเป็นเท่านั้น ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันจันทร์นี้
- ฝรั่งเศสประกาศเพิ่มมาตรการ Lockdown!
รัฐบาลฝรั่งเศสมีมติอนุมัติมาตรการปิดประเทศที่มีความรัดกุมยิ่งกว่าเดิม โดยกำหนดให้มีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งปิดประเทศ ท่ามกลางจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีบุคคากรทางการแพทย์เสียชีวติจากการติดเชื้อเป็นรายแรก
- นายกฯเยอรมนีถูกกักตัว หลังมีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัส
รายงานจาก CNN นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ประกาศกักตัวเองเพื่อสังเกตุอาการ หลังพบว่าเธอมีความใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่เป็นบุคลาการทางการแพทย์คนสนิท ที่ตรวจพบการติดเชื้อหลังจากใกล้ชิดกับเธอได้ไม่นานนัก
· ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นหลังจากที่ปรับแข็งค่าขึ้นมากที่สุดสำหรับรายสัปดาห์นับตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตทางการเงินเมื่อปี 2008 และกดดันให้ค่าเงินสกุลอื่นๆนั้นอ่อนค่าลง โดยดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่ามาบริเวณ 102.82 จุด หลังจากที่ช่วงต้นตลาดอ่อนค่าลงเล็กน้อย 0.7% ที่ 102.00 จุด
ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์และค่าเงินปอนด์ร่วงลงทำต่ำสุดในรอบหลายปีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากที่ธนาคารกลางหลายแห่งมีการปรับลดดอกเบี้ยและอัดฉีดเม็ดเงินไปมูลค่าหลายพันล้านเหรียญเพื่อบรรเทาตลาดแต่ก็ล้มเหลวในการช่วยตลาด
ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นประมาณ 3.5% เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่พยามปิดพอร์ตหุ้นเพื่อหันกลับมาถือครองพันธบัตรและทองคำ รวมทั้งสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ หลังจากที่ดัชนีดอลลาร์ไปทำสูงสุดรอบ 3 ปีในคืนวันศุกร์แตะ 103 จุด และสัปดาห์ที่แล้วดอลลาร์แข็งค่าขึ้นกว่า 5% ทำให้สัปดาห์ที่แล้วปรับแข็งค่าขึ้นมากที่สุดตั้งแต่ต.ค. ปี 2008
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงไป 11% จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะงักงันของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่จะกระจายทั่วโลก
โดยน้ำมันดิบ WTI ปิดปรับตัวลง 2.79 เหรียญ หรือ -11.06% ที่ 22.43 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ Brent ปิดลดลง -1.49 เหรียญ หรือ -5.2% ที่ 26.98 เหรียญ/บาร์เรล
ขณะที่เช้านี้ราคาน้ำมันดิบปิดปรับตัวลงต่อกว่า 1 เหรียญ หลังรัฐบาลหลายแห่งมีคำสั่ง Lockdown ประเทศ เพื่อจำกัดการระบาดของไวรัสโคโรนาทั่วโลกพร้อมหั่นแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันในปีนี้ เนื่องจากคาดว่าจะปรับตัวลงไปกว่า 60% นับตั้งแต่เริ่มต้นปี โดย Brent เช้านี้เปิดปรับลงไปอีก 1.84 เหรียญ หรือ -6.8% ที่ 25.14 เหรียญ/บาร์เรล และ WTI เปิดเช้านี้ปรับลงประมาณ 1.26 เหรียญ หรือ -5.6% ที่ 21.37 เหรียญ/บาร์เรล