· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:
- จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 378,842 ราย
- จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 16,510 ราย
- จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 195 ประเทศ (+3)
- จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีเพิ่มขึ้นแตะระดับ 63,927 ราย (+4,789) ขณะที่ผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งสิ้น 6,077 ราย
- จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาเป็นอันดับที่ 3 ของโลกรองจากอิตาลี โดยล่าสุดมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 10,168 ราย รวมอยู่ที่ 43,734 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 140 ราย สู่ระดับ 553 ราย
- จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดเพิ่มอีก 122 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 721 ราย และมีผู้เสียชีวิตสะสมเพียง 1 ราย
- WHO ชี้ว่า การระบาดของไวรัสโคโรนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ยอดติดเชื้อพุ่งทะลุ 350,000 ราย
องค์การอนามัยโลก (WHO) ทวีตข้อความเตือนว่า การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่ กำลังรวดเร็วขึ้นเรื่อยๆ โดยมันใช้ระยะเวลาเพียง 67 วัน นับตั้งแต่ผู้ติดเชื้อรายที่ 1 จนถึงรายที่ 1 แสน และภายใน 11 วันถึงแสนที่ 2 และแค่ 4 วันก็ปรับขึ้นมาสู่แสนที่ 3
- ทรัมป์ยืนยัน จะไม่ปล่อยให้เศรษฐกิจเสียหายไปมากกว่านี้
นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อคืนนี้ได้ประกาศว่าเขาจะไม่ยอมให้การระบาดของไวรัสโคโรนาทำร้ายเศรษฐกิจสหรัฐฯในระยะยาว พร้อมระบุว่าจะมีประกาศการดำเนินนโยบายในขั้นต่อไปหลังจากภาวะ Shutdown 15 วันสิ้นสุดลงภายในสัปดาห์หน้า
“สหรัฐฯจะกลับมาดำเนินธุรกิจได้อย่างเต็มที่อีกครั้งในเร็วๆนี้” นายทรัมป์กล่าว “และจะไม่ยอมปล่อยให้วิกฤติครั้งนี้ ส่งผลกระทบระยะยาวกับระบบการเงินอย่างแน่นอน”
- นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษประกาศให้ประชาชนทุกคนกักตัวอยู่แต่ในบ้านหรือที่พักเพื่อช่วยชะลอการระบาดของไวรัสโคโรนา แต่จะมีการยกเว้นร้านค้าจำเป็นบางแห่งที่ยังคงเปิดทำการได้ และมีการปิดสถานบริการบางแห่ง ขณะที่การพบปะของประชาชน ครอบครัว หรือมิตรสหายไม่ควรใช้เวลานานเกินไปเพื่อจำกัดความเสี่ยง
- รัฐบาลญี่ปุ่นถูกคาดว่าจะเปิดเผยคาดการณ์เศรษฐกิจที่แย่ที่สุดในรอบกว่า 7 ปี ในเดือนพ.ค. ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ทำใหเกิดการชะลอในกลุ่มอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ
· แผนกระตุ้นเศรษฐกิจรับมือโคโรนาของสหรัฐฯยังคงล้มเหลวอีกครั้ง
รายงานล่าสุดจาก CNBC ระบุว่า จะไม่มีการลงมติโหวตเพิ่มใดๆในวันนี้เกี่ยวกับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางพรรคเดโมแครตและพรรรีพับลิกันที่ยังมีการเจรจากันต่อไป โดยแผนอัดฉีดเงินของภาครัฐ 1 ล้านล้านเหรียญมีขึ้นเพื่อจำกัดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากไวรัสโคโรนายังคงล้มเหลวในการผ่านมติที่ประชุมในส่วนของรายละเอียดๆสำคัญเมื่อวานนี้
ผู้นำเสียงข้างน้อยของวุฒิสภาสหรัฐฯ กล่าวเตือนว่า ข้อตกลงอาจยังไม่สามารถลงมติผ่านไปได้จนกว่าทางพรรครีพับลิกันจะยอมแก้ไขประเด็นหลักบางประการ ดังนั้น การเจรจาก็จะยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะเกิดการลงมติครั้งใหม่ เนื่องจากทางสมาชิกวุฒิสภาพรรคเดโมแครต มองว่า งบ 5 แสนล้านเหรียญที่ทางรีพับลิกันเสนอนั้นดูจะบรรเทาผลกระทบแก่ภาคธุรกิจมากเกินไป
· เฟดประกาศเข้าซื้อสินทรัพย์แบบไม่จำกัดเพื่อพยุงตลาด
เมื่อคืนที่ผ่านมา เฟดได้ประกาศนโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจชุดใหม่เพื่อสนับสนุนการซื้อขายของตลาดที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
หนึ่งในนโยบายที่เฟดประกาศเมื่อคืน คือการยืนยันการเข้าซื้อสินทรัพย์ “ด้วยปริมาณที่เหมาะสมกับการทำให้ตลาดสามารถซื้อขายได้อย่างราบรื่น รวมถึงสนับสนุนให้ธุรกรรมทางการเงินต่างๆเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ”
ตลาดตอบรับกับรายงานดังกล่าวของเฟดว่าเป็นการส่งสัญญาณถึง “การพิมพ์ธนบัตรเพิ่ม” เนื่องจากเฟดได้เคยส่งสัญญาณว่าจะขยายพอร์ตงบดุลของพวกเขาออกไปเท่าที่จำเป็น แทนที่การเข้าซื้อด้วยวงเงินจำกัด
นอกจากนี้ เฟดยังมีประกาศเข้าซื้อตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate bonds) ผ่านกองทุนเงินตราระหว่างประเทศเป็นครั้งแรก จึงเป็นที่อีกหนึ่งความเคลื่อนไหวสำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงของวิกฤติทางการเงินและตลาดมีสภาพคล่องที่ตกต่ำ
สำหรับนโยบายอื่นๆ เฟดมีการกล่าวถึงการปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจด้วยวงเงินที่ยังไม่ได้ระบุ นโยบายแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์ (Term Asset-Backed Loan Facility) รวมถึงนโยบายที่จะใช้วงเงิน 3 แสนล้านเหรียญเพื่อสนับสนุนกระแสเครดิตให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม เฟดยังไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าวมากนัก แต่ระบุว่านโยบายเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางได้
· รายงานจากมุมมองนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ มองว่า การเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของเฟดที่พร้อมสนับสนุนเศรษฐกิจ รวมถึงความตั้งใจที่จะเข้าซื้อตราสารหนี้และพันธบัตรของสหรัฐฯเพิ่มนั้นดูจะเป็นปัจจัยหนุนสภาพคล่องของตลาดเป็นอย่างดี และคาดจะเห็นเม็ดเงินไหลเข้าสู่ตลาดตราสารหนี้มูลค่า 17 ล้านล้านเหรียญ
แต่ความเสียหายจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ยังคงดำเนินไปดูจะบั่นทอนตลาดการเงินต่อ แต่การดำเนินนโยบายของเฟดก็ดูจะช่วยสนับสนุนสภาพคล่องให้แก่ตลาดตราสารหนี้ได้ หลังเผชิญกับปริมาณการซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบางเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา
· ค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวลงหลังทราบการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ของเฟด และนักลงทุนดูจะให้ความสนใจกับสภาคองเกรสสหรัฐฯว่าจะผ่านร่างกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจสหรัฐฯหรือไม่
ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.5% ที่ระดับ 102.35 จุด ขณะที่ยูโรล่าสุดก็แข็งค่าขึ้น 0.98% ที่ 1.0799 ดอลลาร์/ยูโร และการฟื้นตัวของดอลลาร์ที่ผ่านมาน่าจะมาจากการที่เหล่าเทรดเดอร์มีการทำ Short Covering
· G20 เผย กำลังพัฒนารับมือการระบาดในระดับโลก
บรรดาผู้นำทางการเงินจากกลุ่มประเทศ G20 เปิดเผยว่าทางกลุ่มกำลังพัฒนา“แผน”สำหรับการรับมือการระบาดของไวรัสในระดับโลก แต่ยังไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม รายดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากองกรค์ IMF คาดการณ์ว่าการระบาดของไวรัสจะทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย
รายงานดังกล่าวได้รับการเปิดเผยออกมาหลังการประชุม G20 แบบ Video conference ท่ามกลางเสียงวิพากวิจารณ์ทั่วโลกว่าหลายๆรัฐบาลมีการตอบสนองที่เชื่องช้ากับวิกฤติโรคระบาดครั้งนี้
การประชุมครั้งนี้ถูกจัดขึ้นแบบฉุกเฉินตามคำเรียกร้องของซาอุดิอาระเบียที่กำลังเผชิญปัญหาความขัดแย้งด้านราคาน้ำมันกับรัสเซีย รวมถึงสหรัฐฯและจีนที่กำลังมีความขัดแย้งกันเกี่ยวกับที่มาของเชื้อไวรัส
ด้านนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีการคลังสหรัฐฯ เปิดเผยว่าเขาและบรรดารัฐมนตรีการคลังจากประเทศอื่นๆได้ตกลงที่จะสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศตัวเองอย่างเต็มที่ และให้ความร่วมมือกันหากจำเป็น แต่ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดไปมากกว่านี้
ขณะที่นายมนูชินจะเป็นประธานจัดการประชุมระหว่างบรรดารัฐมนตรีการคลังในประเทศกลุ่ม G7 ขึ้นภายในวันอังคารนี้
· ราคาน้ำมันดิบปิดปรับตัวขึ้นเมื่อวานนี้ ขณะที่แก๊สโซลีนรว่งลงไปกว่า 30% ทำต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ จากมาตรการเข้มงวดด้านการเข้าออกประเทศเพื่อชะลอการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ทำให้อุปสงค์น้ำมันดูจะได้รับผลกระทบตามมา
น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับขึ้น 5 เซนต์ ที่ 27.03 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปิดปรับขึ้น 73 เซนต์ หรือ +3.2% ที่ระดับ 23.36 เหรียญ/บาร์เรล โดยน้ำมันดิบทั้ง 2 ชนิดเคลือนไหวในแดนลบจนถึงช่วงปลายตลาดก่อนจะรีบาวน์ปิดบวกได้
สัญญาแก๊สโซลีนในสหรัฐฯปรับตัวลดลงไปกว่า 32% ปิดที่ 41.18 เซนต์/แกลลอน ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และถือเป็นอัตราการปรับตัวลดลงรายวันที่มากที่สุดอย่างที่ไม่เคยมีมา
- สำหรับเช้านี้สัญญาน้ำมันดิบฟิวเจอร์สปรับขึ้นได้ต่ออีกกว่า 1 เหรียญ ท่ามกลางดัชนีดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงไป ประกอบกับตลาดผ่อนคลายความกังวลในเรื่อง Price War ระหว่างซาอุดอาระเบียและรัสเซีย
WTI ฟิวเจอร์สเช้านี้ปรับขึ้น 1.05 เหรียญ ที่ 24.41 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ภาพรวมตลาดยังคงมีความผันผวนอย่างมาก และมีปริมาณการซื้อขายค่อนข้างต่ำ และความเชื่อมั่นในตลาดก็ยังไม่อยู่ในระดับสูงมากนัก