· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้น ตามการรีบาวน์ของตลาดหุ้นสหรัฐฯเนื่องจากบรรดาสมาชิกสภานิติบัญญัติของสหรัฐฯ บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับร่างกฎหมายกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
โดยดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 3.4% ขณะที่ดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 6.9%
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ด้านการลงทุนประจำ Mitsubishi UFJ Morgan Stanley Securities ระบุว่า ตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้รับแรงหนุนจากการเข้าซื้อของบีโอเจและบรรดากองทุนบำเหน็จบำนาญ
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นพุ่งขึ้น 8% โดยเป็นภาพรวมระดับวันที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008 ที่ผ่านมา หลังจากที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯรีบาวน์ได้ รวมทั้งการที่บรรดาสมาชิกสภานิติบัญญัติของสหรัฐฯ บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับร่างกฎหมายกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
โดยดัชนี Nikkei ปิดที่ระดับ 19,546.63 จุด หลังภาพรวมรายวันปรับขึ้นได้มากที่สุดนับตั้งแต่จุดสูงสุดของวิกฤตการเงินโลกในเดือนต.ค. ปี 2008
ช่วง 3 วันทำการสุดท้ายดัชนีปรับตัวสูงขึ้นได้ 18% โดยได้รับแรงหนุนจากการรวมตัวกันของปัจจัยบวก
นอกเหนือจากการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ รวมทั้งการเข้าซื้อพันธบัตรของบีโอเจ อันรวมถึงการสนับสนุนกองทุนเบี้ยบำนาญ อาจทำให้ตลาดผันผวนจากภาวะ Short-Covering
ขณะที่ทางด้านข่าวที่ว่ากีฬาโอลิมปิกถูกเลื่อนออกไป ไม่ได้ถูกยกเลิก ช่วยคลายความกังวลให้กับตลาด ขณะที่หุ้น SoftBank ปรับขึ้นถึง 55% ในช่วง 3 วันทำการที่ผ่านมา หลังมีรายงานการกลับเข้าซื้อหุ้นและสินทรัพย์มากเป็นประวัติการณ์
· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวสูงขึ้นในวันนี้ ทำระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ หลังจากที่บรรดาสมาชิกสภานิติบัญญัติของสหรัฐฯ บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับร่างกฎหมายกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัสโคโรนาร่วมกันได้
โดยดัชนี Shanghai Composite ปิดเพิ่มขึ้น 2.2% ที่ระดับ 2,781.59 จุด
· ตลาดหุ้นจีนได้รับแรงหนุนจากมาตรการควบคุมการระบาดที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาลจีน รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ จึงสามารถปรับสูงขึ้นได้มากกว่าตลาดหุ้นอื่นๆทั่วโลก แม้ว่านักลงทุนต่างชาติยังคงเลี่ยงการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ก็ตาม
พอร์ตการลงทุนของกลุ่มนักลงทุนต่างชาติมีเม็ดเงินไหลออกจากตลาดจีนทำระดับรายเดือนมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่เหล่านักลงทุนกลับเข้าหาดอลลาร์ เนื่องจากการร่วงลงของตลาดหุ้นทั่วโลก
โดยดัชนี Shanghai ร่วงลงประมาณ 15% ระหว่างกลางเดือนม.ค. จนถึง ปลายเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา
· ตลาดหุ้นยุโรปเปิดปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่สหรัฐฯสามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับนโยบายรับมือไวรัสเป็นวงเงิน 2 ล้านล้านเหรียญได้
โดยดัชนี Stoxx600 ปรับตัวสูงขึ้น 2.3% ด้านหุ้นกลุ่มการเงินและบริการเพิ่มขึ้น 4.4% เนื่องจากตาดภูมิภาคส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในแดนบวก
อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจ
- แบงก์ชาติหั่นจีดีพีปี 63 ติดลบ 5.3%
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์โรคระบาดไวรัส COVID-19 กระทบต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมถึงไทย ทั้งด้านตลาดการเงิน เศรษฐกิจ และสังคม ภายใต้สถานการณ์ข้างต้น กนง. คาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวร้อยละ 5.3 ในปี 2563 ก่อนจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 3.0 ในปี 2564
โดยปัจจัยหลักที่มีผลต่อการหดตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้มาจากสถานการณ์ของโรค COVID-19 ที่ส่งผลต่อภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะหดตัวราวร้อยละ 60 ในปีนี้ และเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าทั่วโลกจะชะลอตัวแรง หรืออาจถึงขั้นหดตัวในหลายประเทศ หาก COVID-19 ระบาดรุนแรงและยาวนาน ซึ่งจะกระทบต่อรายได้ ความเชื่อมั่น และกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชนและภาคธุรกิจในวงกว้าง
อย่างไรก็ดี แนวโน้มของเศรษฐกิจในระยะถัดไปจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ มาตรการช่วยเหลือของภาครัฐในด้านต่างๆ การปรับตัวของภาคธุรกิจและประชาชน และความยาวนานของสถานการณ์โรค COVID-19
อ้างอิงจากสำนักข่าวไทยรัฐออนไลน์
- กนง.มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.75 ต่อปี หลังโควิด-19 พ่นพิษเศรษฐกิจไทยหดตัวแรง
นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กนง. มีมติ 4 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.75 ต่อปี ขณะที่ 2 เสียงเห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี ในการประชุมครั้งนี้ กรรมการ 1 ท่านลาประชุม
ทั้งนี้ การระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 (COVID-19) จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปี 63 มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มติดลบ อย่างไรก็ดี ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ ตลาดการเงินได้เริ่มกลับมาทำงานปกติ
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าการระบาดของ COVID-19 ในระยะข้างหน้ายังมีความรุนแรง รวมทั้งจะใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าที่จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งในภาวะเช่นนี้ คณะกรรมการฯ สนับสนุนมาตรการดูแลผู้ได้รับผลกระทบอย่างตรงจุดของรัฐบาลที่ได้ประกาศไปแล้ว รวมทั้งจะต้องดำเนินการช่วยบรรเทาปัญหาสภาพคล่องและเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้
โดยเฉพาะครัวเรือนและธุรกิจ SMEs ให้เกิดผลชัดเจนเป็นรูปธรรมเพิ่มเติมจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนัดพิเศษที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ เห็นพ้องว่าต้องให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาสภาพคล่องให้ตรงจุด กรรมการส่วนใหญ่จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้
อย่างไรก็ดี กรรมการ 2 ท่านเห็นว่าควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีกร้อยละ 0.25 เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มหดตัวแรง โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่า เศรษฐกิจไทยในปี 63 มีแนวโน้มหดตัวแรงเนื่องจากการท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้าได้รับผลกระทบรุนแรงจากการระบาดของโควิด-19
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นายกฯงัดยาแรงประกาศ ใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เบื้องต้น 1 เดือน เริ่ม 26 มี.ค. ตั้ง "ศูนย์ศอฉ." นายกฯบัญชาการนั่งหัวโต๊ะ บูรณาการสกัดโควิดระบาด-ปรับแผนวันต่อวัน ระบุหากไม่สามารถแก้ปัญหาได้จำเป็นต้องปิดล็อกต่างๆ ทั้งหมด เป็นขั้นเป็นตอน วงครม.ยันไม่วิกฤติปิดเมือง แพทย์รามาฯ คาด 2 สัปดาห์หลังใช้พ.ร.ก.ผู้ป่วยลด เอกชนขานรับ
- ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) แสดงความเห็นกรณีรัฐบาลมีมติให้ประกาศใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อยกระดับการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยจะประกาศใช้วันที่ 26 มีนาคม 2563 ว่า จะช่วยควบคุม การควบคุมโรดระบาดได้เพราะที่ผ่านมาแม้ภาครัฐออกมาตรการออกมา ก็ยังมีประชาชนบางส่วนที่ยังไม่ให้ความร่วมมือ กับมาตรการภาครัฐมากนัก อาจทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้าย ลักษณะเดียวกับ ที่แพทย์ได้ออกมาเตือน
- ผู้บริหารสูงสุดศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้ประเมินการส่งออกของไทยในปีนี้จะต่ำกว่าที่คาดไว้มาก หลังจากกระทรวงพาณิชย์ประกาศตัวเลขในเดือนก.พ.ที่ผ่านมาติดลบถึง 4.5% ทำให้เห็นว่าการส่งออกไทยยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว และในปีนี้จะติดลบมากกว่า 5.8% เพราะสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้นและรุนแรงมาก อาจยืดเยื้อจนกระทบกับภาคเศรษฐกิจจริง รวมทั้ง ราคาน้ำมันที่ลดลงจะยิ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาสินค้าส่งออกของไทยโดยเฉพาะสินค้าที่มีความสัมพันธ์กับราคาน้ำมัน
- นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากการคาดการณ์ Supply Chain ได้ติดตามสถานการณ์ผลผลิตการเกษตร ยืนยันไม่ขาดแคลนสินค้าเพื่อการบริโภคภายในประเทศ กรณีมีการ lock down 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ โดยเชื่อมั่นว่าสินค้าเกษตรที่สำคัญ ในปี 2563 มีกำลังการผลิตที่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศอย่างแน่นอน