• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 26 มีนาคม 2563

    26 มีนาคม 2563 | SET News

· ดัชนีดาวโนส์ปิดปรับขึ้นกว่า 13% ในช่วง 2 วันทำการจากความหวังที่สภาคองเกรสสหรัฐฯจะมีมติผ่านร่างกฎหมายงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อต่อสู้กับการระบาดของไวรัสโคโรนา

ดัชนีดาวโจนส์เมื่อคืนนี้ปิด +2% หรืออีก 495.64 จุด ที่ระดับ 21,200.55 จุด ทางด้าน S&P500 ปิด +1.1% ที่ 2,475.56 จุด และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.พ. ที่ดัชนีดาวโจนส์และS&P500 ปิดปรับตัวสูงขึ้นในเกณฑ์ดี ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิด -0.5% ที่ 7,834.3 จุด จากหุ้นบริษัทค้าปลีก, และกลุ่มเทคโนโลยีที่ลดดลง

นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยังปรับขึ้นจากการที่นายเบอร์นีย์ แซนเดอร์ส ระบุถึงการเตรียมผลักดันร่างกฎหมายและเงื่อนไขในส่วนของ 5 แสนล้านเหรียญเพื่อช่วยเหลือกองทุนของภาคบริษัท

ภาพรวมดัชนีดาวโนส์ปรับขึ้นได้กว่า 2,100 จุดในคืนวันอังคารหรือกว่า 11% ซึ่งเป็นระดับการปิดขึ้นรายวันที่ดีที่สุดตั้งแต่ปี 1933 และS&P500 ปิดปรับขึ้นรายวันได้ดีที่สุดตั้งแต่ต.ค. ปี 2008

กลุ่มนักลงทุนและนักวิเคราะห์บางส่วนเชื่อว่าตลาดหุ้นมีการรีบาวน์ได้ครั้งใหญ่ แต่ก็น่าจะอ่อนตัวลงมาได้อีกจากการที่ภาวะเศรษฐกิจอาจไม่สามารถพลิกฟื้นได้ในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ดูเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยองค์รวม

· หุ้นยุโรปปิดปรับขึ้นวานนี้ ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ยังคงเฝ้าดูการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยดัชนี Stoxx60 ปิด +2.5% และหุ้นกลุ่มน้ำมันและก๊าซปิด +6% ในส่วนของเคมีภัณฑ์ปิด -0.5%

ภาพรวมตลาดบางส่วนตอบรับกับแนวโน้มเชิงบวกที่สหรัฐฯจะทำการอัดฉีดงบ 2 ล้านล้านเหรียญเพื่อสู้กับไวรัสโคโรนา

· ตลาดหุ้นเอเชียเปิดแดนลบท่ามกลางนักลงทุนที่กังวลและรอคอยผลการประกาศตัวเลขว่างงานสหรัฐฯในคืนนี้ที่อาจพุ่งเกินคาด ขณะที่ดัชนีนิกเกอิเปิด -4.29% คู่กับ Topix ที่เปิด -2.71% ในส่วนของ Kospi ของเกาหลีใต้เปิด -0.51% และ HSI เปิด -1.11%

ภาพรวมหุ้นจีนปรับลงไปประมาณ 0.66 – 0.74%

ดัชนี S&P/ASX200 เปิด +0.5% และดัชนี MSCI ที่ไม่รวมญี่ปุ่นเปิด -0.62%

· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- นักบริหารเงิน ประเมินการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในกรอบ 32.65 - 32.90 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินบาทเคลื่อนไหวตาม flow ทั้งไหลเข้าและไหลออก แต่หลังมีผลประชุม กนง.ออกมาแล้วบาทขยับแข็งค่าลงมาอยู่ที่ 32.82 บาท/ดอลลาร์ จาก 32.86 บาท/ดอลลาร์ ส่วนการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ นั้นไม่ส่งผลกระทบต่อตลาด

- กระทรวงสาธารณสุข แถลงวันนี้มีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รายใหม่ในไทยเพิ่มขึ้น 107 ราย ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมในไทยเพิ่มเป็น 934 ราย กลับบ้านได้แล้ว 13 ราย รวมเป็น 70 ราย ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 860 ราย ส่วนยอดผู้เสียชีวิตคงที่ 4 ราย

- รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.จนถึงวันที่ 30 เม.ย.63 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 นายกรัฐมนตรึโดยความห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

- คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 4 ต่อ 2 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.75 ต่อปี ขณะที่กรรมการ 1 คนลาประชุม ทั้งนี้ กนง.มองแนวโน้มเศรษฐกิจปีนี้หดตัวแรง อัตราเงินเฟ้ออาจติดลบจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดรุนแรง ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ

พร้อมทั้งระบุว่าสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19 กระทบต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมถึงไทย ทั้งด้านตลาดการเงิน เศรษฐกิจ และสังคม โดยภายใต้สถานการณ์ข้างต้น กนง.คาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัว 5.3% ใน ปี 63ก่อนจะกลับมาขยายตัว 3% ในปี 64

- ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสากรรม (MPI) เดือนก.พ. 63 อยู่ที่ระดับ 99.9 หดตัวลงเมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน -5.19% ผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและภัยแล้ง ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 65.33

- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ยืนยัน ความพร้อมในการดำเนินการรองรับภาวะฉุกเฉิน เพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan) เพื่อให้ลูกค้าและประชาชนทั่วไปสามารถใช้บริการทางการเงินที่สำคัญ อาทิ การรับฝากเงิน การถอนเงิน การโอนเงิน การชำระเงิน และบริการสินเชื่อต่าง ๆ ที่จะช่วยเหลือลูกค้าเพื่อเสริมสภาพคล่อง มาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ทั้งในส่วนของลูกค้าธุรกิจ และลูกค้าบุคคลดังที่ได้ประกาศไปก่อนหน้านี้แล้ว รวมถึงมาตรการล่าสุดที่ได้ประกาศวานนี้ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ โดยจะประชาสัมพันธ์ในรายละเอียดต่อไป

- รมว.คลังของไทย เปิดเผยว่า รัฐบาลอยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางการออก พ.ร.ก.กู้เงิน หากมีความจำเป็นในการหาแหล่งเงินมาดำเนินมาตรการต่าง ๆ ในอนาคตเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และดูแลเศรษฐกิจในภาวะวิกฤติ หลังจากออกมาตรการช่วยหลือประชาชนและภาคธุรกิจระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งในส่วนที่เป็นเงินของภาครัฐจะใช้งบประมาณเป็นหลัก

· อ้างอิงจาก terrabkk และ The Standard

เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่า 9% กลับทิศจากที่แข็งค่าในปี 62 โดยคณะกรรมการกนง. ระบุว่าเงินบาทได้อ่อนค่าลงสวนทางกับสกุลเงินของประเทศคู่ค้าและสกุลหลักๆ และคาดว่าจะยังผันผวนต่อไป แม้ว่าเสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยยังคงแข็งแกร่ง สะท้อนจากเงินสำรองระหว่างประเทศที่ยังสูง

คณะกรรมการ กนง. แสดงความกังวลว่าการระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจไทย แต่ยอมรับว่า ระบบการเงินโดยรวมยังมีเสถียรภาพหลังจากที่มีมาตรการเสริมสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ผู้กำหนดนโยบายประเมินว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะหดตัวอย่างรุนแรง เนื่องจากการท่องเที่ยวและการส่งออกได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลต่อรายได้ของภาคธุรกิจและอุปสงค์ในประเทศ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ปรับลดคาดการณ์จีดีพีใน 63 ลงมาเป็นหดตัวถึง 5.3% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 2.8% ก่อนที่การเติบโตจะพลิกกลับมาเป็นบวกในปี 64 ขณะที่ ธปท. คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะปรับลดลง 60% ในปีนี้


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com