

สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:
- จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 472,762 ราย
- จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 21,305 ราย
- จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 198 ประเทศ
- จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีเพิ่มขึ้นแตะระดับ 74,386 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งสิ้น 7,503 ราย
- จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาเป็นอันดับที่ 3 ของโลกรองจากอิตาลี โดยล่าสุดมีผู้ติดเชื้อรวมอยู่ที่ 68,489 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1,032 ราย
- จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดเพิ่มอีก 111 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 1,045 ราย และมีผู้เสียชีวิตสะสม 4 ราย
· ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยนและยูโรในวันนี้ ก่อนหน้าการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯในคืนนี้ ซึ่งอาจเห็นจำนวนคนว่างงานเพิ่มมากขึ้นเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 ทำให้ภาคเอกชนตัดสินใจลดจำนวนพนักงานลงเพื่อรับมือกับวิกฤติทางเศรษฐกิจ
ขณะที่ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินยูโรและดอลลาร์ เนื่องจากตลาดวิตกกังวลว่ารัฐบาลอังกฤษไม่พร้อมสำหรับการรับมือการระบาดของไวรัส ขณะที่ระบบการแพทย์ของอิตาลีและสเปนเริ่มไม่สามารถรองรับจำนวนผู้ติดเชื้อได้อย่างเพียงพอแล้ว
ด้านค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ต่างอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ท่ามกลางสัญญาณความอ่อนแอของเศรษฐกิจในภาวะวิกฤติ
ตลาดมีการตอบรับในเชิงบวกกับการผ่านร่างนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยงบ 2 ล้านล้านเหรียญของสหรัฐฯ แตต่เริ่มมีสัญญาณว่าบางพื้นที่ของสหรัฐฯอาจจำเป็นต้องได้รับงบประมาณช่วยเหลือที่มากกว่านี้ เพื่อให้เพียงพอต่อปริมาณความต้องการอุปกรณ์ทางแพทย์ทั่วสหรัฐฯ
นักวิเคราะห์จาก JP Morgan มองว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ตลาดจะมีการตอบรับในเชิงลบอย่างมากกับการประกาศตัวเลขคนว่างงานของสหรัฐฯในคืนนี้ และยังมีความเป็นไปได้สูงที่การประกาศตัวเลขดังกล่าวจะยิ่งย่ำแย่ลงในช่วงสัปดาห์ต่อๆไป
ทั้งนี้ ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า 0.46% เมื่อเทียบกับเงินเยนแถวระดับ 110.71 เยน/ดอลลาร์ และอ่อนค่า 0.3% เมื่อเทียบกับเงินสวิสฟรังก์แถว 0.9743 ดอลลาร์
ค่าเงินปอนด์อ่อนค่า 0.17% แถว 1.1853 ดอลลาร์/ปอนด์ และอ่อนค่า 0.47% เมื่อเทียบกับเงินยูโรแถว 92.05 ปอนด์/ยูโร
ค่าเงินยูโรอ่อนค่า 0.29% เมื่อเทียบกับดอลลาร์แถว 1.0911 ดอลลาร์/ยูโร และทรงตัวในแดนแข็งค่าเมื่อเทียบสวิสฟรังก์แล้ว 1.0633

· ตลาดจับตาการประกาศจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯรายสัปดาห์ที่จะประกาศในคืนนี้ ซึ่งจะเป็นการรายงานยอดคนว่างงานของสัปดาห์ที่ 21 มี.ค. ซึ่งช่วงที่สหรัฐฯเผชิญการระบาดหนักระลอกแรกของ COVID-19 เพื่อดูว่าเศรษฐกิจได้รับความเสียหายจากการระบาดของไวรัสในระดับไหน
ขณะที่บรรดาสถาบันทางการเงินชั้นนำต่างมีคาดการณ์ที่แตกต่างกันออกไปเกี่ยวกับการประกาศจำนวนว่างงานคืนนี้ ตั้งแต่ระดับ 1 ล้านตำแหน่ง ไปจนถึง 4 ตำแหน่ง ภายในระยะเวลาเพียงสัปดาห์

· จีนรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ออกมาที่ 67 และเสียชีวิตเพิ่ม 6 ราย ซึ่งผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั้งหมดเป็นการติดเชื้อจากต่างประเทศ และไม่มีการติดเชื้อที่เกิดขึ้นภายในประเทศแต่อย่างใด ขณะที่ยอดรวมการติดเชื้อเฉพาะที่มาจากต่างประเทศเพิ่มมาเป็น 541 ราย
· ผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางทั่วประเทศจีนเริ่มกลับมาทำงานกันมากขึ้น แตะระดับ 71.7% เมื่อวันที่ 24 มี.ค. ที่ผ่านมา เทียบกับเดือนก่อนที่ 42.1%
· สหรัฐฯและจีนจะหยุดความขัดแย้งในที่ประชุม G20 เพื่อหาทางรับมือ COVID-19 ร่วมกัน
รายงานจาก South China Morning Post ระบุว่าในการประชุม G20 วันนี้ สหรัฐฯและจีนมีแนวโน้มที่จะเลิกการกล่าวโทษกันเกี่ยวกับต้นเหตุการระบาดของ COVID-19 และหันมาหาความร่วมมือกันเพื่อหาวิธีรับมือไวรัสที่มีประสิทธิภาพที่สุด
นอกจากสหรัฐฯและจีนแล้ว บรรดาผู้นำจากประเทศอื่นๆก็มีแนวโน้มที่จะยอมรับว่า COVID-19 เป็นภัยต่อมนุษยชาติ และจะร่วมมือกันเพื่อก่อตั้งระบบที่แต่ละประเทศจะสามารถแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ให้กันและกันเพื่อหาทางรับมือไวรัสอย่างมีประสิทธิภาพ
· รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศจะจัดตั้งกองกำลังเฉพาะกิจเพื่อรับมือการระบาดของไวรัสโคโรนา พร้อมเตือนว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสในวงกว้าง แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ กล่าวว่า รัฐบาลยังไม่มีแนวคิดที่จะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในขณะนี้
· ECB ไม่กำหนดเพดานมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์เพื่อรับมือวิกฤติ COVID-19
รายงานจาก Reuters ระบุว่าในรูปเล่มนโยบายของธนาคารกลางยุโรปหรืออีซีบี ทางธนาคารไม่ได้เขียนกำหนดขีดจำกัดสำหรับการเข้าซื้อพันธบัตรเป็นมูลค่ารวม 7.50 แสนล้านเหรียญยูโร จึงอาจเป็นประเด็นที่ทางอีซีบีอาจต้องขึ้นรายงานตรในขั้นศาลได้
ทั้งนี้ นโยบายเข้าซื้อพันธบัตรฉบับก่อนก่อนของอีซีบีได้มีการกำหนดเพดานเข้าซื้อไว้ที่ 33% สำหรับปริมาณหนี้สินของแต่ละประเทศ
· ราคาน้ำมันปรับลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 วันทำการ ท่ามกลางแรงกดดันจากปริมาณอุปสงค์ในน้ำมันที่ยังคงอ่อนแอจากผลกระทบของ COVID-19 ที่ทำให้แต่ละประเทศประกาศปิดเส้นทางบินและเริ่มเข้าสู่ภาวะ Lockdown ขณะที่ตลาดกำลังตั้งความหวังว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจงบ 2 ล้านล้านของสหรัฐฯที่ผ่านการลงมติวันนี้จะสามารถช่วยหนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้
โดยราคาสัญญาน้ำมันดิบ Brent ปรับลงประมาณ 64 เซนต์ หรือ 2.3% แถว 26.75 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาสัญญาน้ำมันดิบ Brent ปรับลงประมาณ 78 เซนต์ หรือ 3.2% แถว 23.71 เหรียญ/บาร์เรล ในภาพรวมรายปี ทั้ง 2 สัญญาได้ปรับลดลงมาเกือบ 60% แล้ว
