· ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดปรับตัวลดลงในคืนวันศุกร์ แม้ว่าสหรัฐฯจะมีการลงนามกฎหมายงบประมาณ 2 ล้านล้านเหรียญกในช่วงปิดตลาดวันศุกร์ จึงยุติการปรับขึ้นต่อเนื่องในช่วง 3 วันทำการก่อนหน้า เนื่องจากนักลงทุนกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯที่อาจได้รับผลกระบจากไวรัสโคโรนาที่ดูจะมียอดติดเชื้อและเสียชีวิตในประเทศมากยิ่งขึ้น โดยยอดผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯพุ่งขึ้นเกิน 100,000 ราย และเสียชีวิตเกินกว่า 1,500 ราย
ดัชนีดาวโจนส์ปิด -4.06% ที่ 21,6.36.78 จุด ขณะที่ S&P500 ปิด -3.37% ที่ 2,541.47 จุด ทาง Nasdaq ปิด -3.79% ที่ 7,502.38 จุด
แม้รัฐบาลสหรัฐฯจะมีมาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจควบคู่กับการใช้มาตรการของเฟดที่หนุนให้สัปดาห์ที่แล้วดัชนี S&P500 ปรับขึ้นได้กว่า 10.2% เป็นสัปดาห์ที่ดีที่สุดของปี 2009 ขณะที่ดัชนีดาวโจนส์สัปดาห์ที่แล้วปรับขึ้นได้ดีที่สุดตั้งแต่ปี 1938 โดยปิด +12% แต่ภาพรวมของหุ้นสหรัฐฯก็ดูเหมือนจะอยู่ในทิศทางขาลง และมีการปรับตัวลงจากระดับสูงสุดที่ทำไว้ในเดือนก.พ. มาแล้วประมาณ 25%
ขณะที่สัญญาบ่งชี้ถึงทิศทางการขยายตัวทางเศรษฐกิจดูจะได้รับผลกระทบจากการ Lockdown ประเทศ โดยข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคล่าสุดของสหรัฐฯปรับตัวลงไปทำต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปีครึ่งในเดือนมี.ค. ขณะที่จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯพุ่งขึ้นไปแตะ 3 ล้านรายในสัปดาห์ก่อนหน้า
- ดัชนีฟิวเจอร์สสหรัฐฯเช้านี้เปิดปรับตัวลงต่อตามการปิดปรับลงในคืนวันศุกร์ โดยดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์เปิด -400 จุด หรือประมาณ -2% ขณะที่ S&P500 ฟิวเจอร์สเปิด -2.1% และ Nasdaq 100 ฟิวเจอร์สเปิด -1.7%
· ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลดลงในวันศุกร์ ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่เฝ้าติดตามการระบาดของไวรัสโคโรนา ขณะที่บรรดาผู้กำหนดนโยบายการเงินต่างๆดูจะเห็นพ้องกันในการหาวิธีรับมือ โดยดัชนี Stoxx 600 ปิด -3.2% ท่ามกลางหุ้นกลุ่มยานยนต์ และการท่องเที่ยวและการโรงราที่ปิด -5.7%
· ตลาดหุ้นเอเชียเปิดปรับตัวลดลงในเช้านี้ ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ให้ความสนใจและประเมินเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัสโคโรนาไปทั่วโลก หลังยอดติดเชื้อพุ่งเกิน 720,000 ราย และเสียชีวิตเกือบ 34,000 ราย โดยดัชนีนิกเกอิเปิด -4.18% ขณะที่หุ้น Softbank Group เปิด -8.82% ฉุด Topix เปิด -4.59%
ด้านดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้เปิด -3.06% ในขณะที่หุ้น S&P/ASX200 ของออสเตรเลียรีบาวน์ขึ้น 1.28% หลังจากที่วันศุกร์ปิดตลาด -5%
ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมญี่ปุ่นเปิด -0.86%
· นักบริหารการเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ไว้ที่ระหว่าง 32.35-32.65 บาทดอลลาร์ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ข้อมูลเงินเฟ้อเดือนมี.ค. และเครื่องชี้เศรษฐกิจเดือนก.พ. ของไทย รวมทั้งมาตรการรับมือความเสี่ยงจากโควิด-19 ของหลายประเทศทั่วโลก
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตร การจ้างงานภาคเอกชน ดัชนี PMI และ ISM ภาคการผลิต/ภาคบริการ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค. ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย รายจ่ายด้านการก่อสร้างเดือนก.พ. และดัชนีราคาบ้านจากเอสแอนด์พี/เคส-ชิลเลอร์ เดือนม.ค. นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามดัชนี PMI ภาคการผลิต/ภาคบริการเดือนมี.ค. ของจีน และยูโรโซนด้วยเช่นกัน
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- มาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2
คณะรัฐมนตรีมีมติ เห็นชอบ รับทราบ และอนุมัติ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบมาตรการที่เสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งมาตรการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบหรือผู้ได้รับผลกระทบอื่น ๆ และมาตรการเสริมความรู้ รวมทั้งมาตรการด้านภาษี มาตรการด้านการเงิน และการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของไวรัส
2. รับทราบมาตรการขยายเวลาการยื่นเอกสาร, การชำระภาษีให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
3. อนุมัติวงเงินงบประมาณมาตรการชดเชยรายได้
4. อนุมัติวงเงินงบประมาณมาตรการเสริมความรู้
5. อนุมัติงบประมาณมาตรการด้านการเงิน
6. เห็นชอบร่างกฎกระทรวง
7. เห็นชอบการปรับปรุงร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
อ่านต่อ: https://www.ryt9.com/s/cabt/3108572
- คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ในวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 523,244,500 บาท
- คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอการผ่อนปรนแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าวปี 2562 – 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 โดยให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 ซึ่งนายจ้างหรือผู้ได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานได้ยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวกับเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือยื่นผ่านระบบออนไลน์ ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 และไม่สามารถดำเนินการขอตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปเพื่อการทำงานได้ทันภายในกำหนด รวมถึงผู้ติดตาม อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ มิให้นำมาตรา 12 (10) และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาบังคับใช้แก่คนต่างด้าว โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562