· ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงไปกว่า 4% หลังประธานาธิบดีสหรัฐฯมีการกล่าวเตือนถึงจำนวนผู้เสียชีวิตภายในประเทศจากปัญหาไวรัสโคโรนามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลให้นักลงทุนในตลาดเลือกที่จะทำการเทขายหุ้นลงมา
ดัชนีดาวโจนส์ปิด -973.65 จุด หรือคิดเป็น -4.4% ที่ 20,943.51 เหรียญ ทางด้าน S&P500 ปิด -4.41% ที่ 2,470.5 จุด ทางด้าน Nasdaq ปิด -4.41% ที่ระดับ 7,360.58 จุด
ภาคบริษัทใน S&P500 ถูกคาดว่าจะมีการประกาศผลกำไรในปีนี้สู่ภาวะถดถอย โดยคาดว่า Q1/2020 จะร่วงลงไป 4.3% ขณะที่ไตมาสที่ 2 อาจเห็นการปรับลงไปมากถึง 10.9%
· ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงท่ามกลางความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลกที่ยังเป็นลบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยดัชนี Stoxx600 ปิดปรับตัวลง 3% ท่ามกลางหุ้นกลุ่มการท่องเที่ยวและการโรงแรมที่ลดน้อยลงไป 6.3% และหุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลง 5.8% หลังจากที่บรรดาธนาคารเพื่อการกู้ยืมประกาศถึงการจะงดการจ่ายเงินปันผลในปีนี้ ที่ได้รับแรงกดดันจากธนาคารกลางอังกฤษในการประกาศลดดอกเบี้ยไปเมื่อไม่นานมานี้
· ตลาดหุ้นเอเชียเปิดปรับตัวลงในเช้านี้ท่ามกลางตลาดทั่วโลกยังคงผันผวนจากการเริ่มต้นไตรมาสที่ 2 นำโดยดัชนี S&P/ASX200 ของออสเตรเลียร่วงลงไป 1.98% ขณะที่ดัชนีนิกเกอิเปิด -0.47% และดัชนี Topix เปิด -0.75% ทางด้าน Kospiของเกาหลีใต้เปิด -0.75%
ในส่วนของดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิด -0.5%
ทั้งนี้ ความกังวลในเรื่องของผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัสโคโรนาไปทั่วโลกนั้น ดูจะยิ่งสร้างความผันผวนให้แก่ทุกตลาด รวมทั้งกดดันความเชื่อมั่นของกลุ่มนักลงทุนด้วย เนื่องจากทั่วโลกมีการใช้มาตรการ Lockdown และนั่นส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจถูกแช่แข็งในหลายๆประเทศทั่วโลก
· รายงานจากรอยเตอร์ส เผยถึงกลุ่มนักวิเคราะห์ทำการปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการภาคบริษัทในแถบเอเชียจากความกังวลที่มีการปิดโรงงานชั่วคราว และการใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อต่อสู้กับการระบาดของไวรัสโคโรนา ที่ดูจะทำให้ผลประกอบการบริษัทต่างๆเผชิญกับปีที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งในเดือนที่ผ่านมาภาพรวมคาดผลประกอบการแต่ละแห่งน่าจะปรับลงไปกว่า 6.4%
สอดคล้องกับรายงานจาก Goldman Sachs ก่อนหน้าที่คาดว่าผลประกอบการในปี 2020 มีแนวโน้มจะลดลงเช่นกัน แต่ Goldman Sachs มองภาพใหญ่ว่าจะลดลงไปมากถึง -14% จาก +1% โดยผลประกอบการในจีนปีนี้คาดปรับลงสู่ระดับ -6%ด้านเกาหลีคาดแตะ -20% ขณะที่ไต้หวันคาด -30% และอินเดีย -3%
ในส่วนของเกาหลีใต้ดูจะเผชิญกับการปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการที่มากที่สุดในเอเชียด้วยค่าเฉลี่ยที่มากถึง 24% ในเดือนที่แล้ว ท่ามกลางยอดส่งออกที่ -0.2% เมื่อเทียบรายปี ขณะที่อินโดนีเซีย ไทย และออสเตรเลีย เผชิญผลกระทบประมาณ -10% ในเดือนมี.ค. และในส่วนของภาคอุตสาหกรรมพลังงานคาดปรับตัวลงไป 23% ซึ่งจะเป็นการได้รับผลกระทบด้านผลประกอบการที่มากที่สุดอันเนื่องจากการดิ่งลงของราคาน้ำมันในเดือนมี.ค.
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
นักบริหารการเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ระหว่าง 32.90-33.20 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินบาทเคลื่อนไหวค่อนข้างกว้างไปตามสกุลในภูมิภาค ซึ่งมีการหลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเนื่องจากผลกระทบ ของสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)
- ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ล่าสุดวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มอีก 120 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย ยอดผู้ติดเชื้อรวมสะสมขณะนี้ 1,771 ราย
- กทม.เตรียมกำหนดให้ร้านขายของทุกร้าน รวมถึงรถเข็น รถขายอาหารข้างทาง ปิดทำการทั้งหมดตั้งแต่เวลา 24.00 น.ถึง 05.00 น.โดยให้มีผลตั้งแต่คืนเมื่อวานนี้
- โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เตรียมเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษในช่วงเช้าวันที่ 3 เม.ย.63 เพื่อหารือเร่งด่วน ได้แก่ การรับฟังข้อมูลจากกระทรวงต่างๆ เพื่อออกมาตรการเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระยะ 3-4 สำหรับช่วงเดือน พ.ค.-ก.ค.63 และหารือเรื่องงบประมาณ กรอบวงเงิน จัดลำดับความสำคัญเร่งด่วน รวมทั้ง แหล่งที่มาของเงิน
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เดือนมี.ค.2563 พบว่า ดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 42.6ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 44.1 จากภาคที่มิใช่การผลิตเป็นสำคัญ นำโดยกลุ่มขนส่งที่มีความเชื่อมั่นด้านคำสั่งซื้อและผลประกอบการลดลงมาก ส่งผลให้ความเชื่อมั่นด้านการลงทุน และการจ้างงานลดลงด้วย
- ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ ปรับประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจไทย (GDP) ในปีนี้ลงเหลือ -6.9% จากเดิมคาดว่าจะเติบโต 0.8% โดยประมาณการดังกล่าว อิงสมมติฐานหลัก 3 ประการ ได้แก่
1) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง 70% เมื่อเทียบกับปีก่อน เหลือ 12 ล้านคน
2) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยที่ 35 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากคาดการณ์เดิมที่ 55 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
3) ภัยแล้งมีความรุนแรงยืดเยื้อจนถึงเดือน ก.ย.จากเดิมคาดว่าจะอยู่ที่เดือน พ.ค.จึงคาดว่าผลกระทบจากภัยแล้งจะกลายเป็น 0.7% ของ GDP จากเดิม 0.2% ของ GDP
- บล.เอเซีย พลัส ปรับประมาณการ GDP Growth ของไทยปี 63 เป็นติดลบ 1.4% จากเดิมคาดบวก 2.8% จากการส่งออกที่ชะลอตัวลง หลังมีมาตรการปิดประเทศต่างๆ และการบริโภคภาครัวเรือน ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง รวมถึงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ภาครัฐ มีมาตรการสั่งปิดสถานที่ต่างๆ จึงส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อ