· ตลาดหุ้นเอเชียเผชิญแรงกดดันจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯที่ยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดกำลังเตรียมรับมือกับการประกาศตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯในคืนนี้ ซึ่งคาดว่าจะประกาศออกมาอ่อนแอลงอย่างมากอีกครั้ง
โดยดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นค่อนข้างทรงตัว
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลงติดต่อกัน 4 วันทำการ ซึ่งถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาเนื่องจากยอดผู้เสียชีวิตทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยดัชนี Nikkei ลดลง 1.37% ที่ระดับ 17,828.72 จุด ภาพรวมปีนี้ดัชนีร่วงลงไปแล้ว 25%
ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญ เตือนว่า ญี่ปุ่นกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤติเนื่องจากกรณีไวรัสเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งทั่วประเทศ เพิ่มโอกาสในการปิดประเทศและข้อจำกัดที่รุนแรงอื่นๆ ในการเคลื่อนไหวส่วนบุคคลที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวสูงขึ้น นำโดยบริษัทเทคโนโลนี และหุ้นกลุ่มพลังงาน เนื่องจากสัญญาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางความหวังที่ว่าจะมีข้อตกลงยุติสงครามราคาระหว่างซาอุดิอาระเบียและรัสเซีย
โดยดัชนี Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 1.6%
· ตลาดหุ้นยุโรปเปิดแดนบวกนำโดยหุ้นกลุ่มพลังงาน ท่ามกลางความหวังว่ารัสเซียและซาอุดิอาระเบียจะสามารถหาข้อตกลงและหยุดความขัดแย้งด้านราคาน้ำมันได้ในเร็วๆนี้ แต่ภาพรวมตลาดยังคงถูกกดดันจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา และแนวโน้มที่กาประกาศตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯในคทนนี้จะออกมาย่ำแย่ลง
โดยดัชนี STOXX 600 เปิด +0.6% นำโดยหุ้น Royal Dutch Shell, Total SA และ BP ที่ปรับขึ้นได้ 3.3 – 5% ขณะที่ดัชนีาพรวมหุ้นกลุ่มพลังงานปรับขึ้นได้ 3.7%
· COVID-19: นายกรัฐมนตรี ประชุม ศบค. จับตา เล็งงัดยาแรง ประกาศ "เคอร์ฟิว"ช่วง 4 ทุ่มถึง ตี 4 ห้ามออกจากบ้าน หลังโรคโควิด-19 ยังระบาดอย่างต่อเนื่อง นายกรัฐมนตรี เตรียมแถลงผ่าน ทีวีพูล 18.00 น.
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค. ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อสรุปสถานการณ์หลังมีการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน ไป 1 สัปดาห์
รายงานข่าวแจ้งว่า ภายหลังการประกาศบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อเป็นการยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ยังพบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากปล่อยให้สถานการณ์ดำเนินไปเช่นเดิมอาจมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ทำให้นายกรัฐมนตรี อาจต้องบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เต็มรูปแบบ ตามข้อเสนอจากศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง(ศปม.)
โดยเฉพาะการประกาศเคอร์ฟิว หรือห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานทั่วประเทศ ในช่วงเวลา ประมาณ 22.00น.-04.00 น.ซึ่งรายงานข่าวระบุว่า จะเริ่มให้มีผลวันที่ 3 เมษายน 2563
หลังจากก่อนหน้านี้ได้มีการนำร่อง ในการออกมาตรการปิดเมือง ด้วยการกำหนดช่วงเวลาห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานไปแล้วในหลายจังหวัด
สำหรับระหว่างนี้ อาจมีการให้เวลาประชาชนได้เตรียมตัวก่อน โดยนายกรัฐมนตรีจะแถลงประกาศอย่างเป็นทางการด้วยตนเองผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันนี้ เวลา 18.00 น.ทาง ทรท.
อ้างอิงจากสำนักข่าวกรุงเทพธรกิจ
เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 63 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงข่าว สถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ประจำวันนี้ ว่า ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 104 ราย รวมยอดสะสม 1,875 ราย เสียชีวิตเพิ่มอีก 3 ราย รวมผู้เสียชีวิตสะสม 15 ราย
มีข้อมูล 3 ราย ดังนี้ รายแรกเป็นชายไทยอายุ 45 ปี มีโรคประจำตัวเบาหวาน รายที่ 2 ชายไทยอายุ 77 ปี มีประวัติเบาหวาน ถุงลมโป่งพอง และรายที่ 3 เป็นชายไทย อายุ 55 ปี รักษาหายกลับบ้าน รวม 505 ราย
อ้างอิงจากสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขึ้นเครื่องหมาย H หลักทรัพย์ TPIPL รอบเช้านี้ พบบิ๊กล็อต 47.34% อาจเข้าเกณฑ์เทนเดอร์
ตลาดหลักทรัพย์ฯ หยุดพักการซื้อขายหลักทรัพย์บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) TPIPL เนื่องด้วยปรากฏรายการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยวิธีบันทึกการซื้อขายรายใหญ่ (Trade report-Big lot)
หลักทรัพย์ TPIPL จำนวน 9,080,416,000 หุ้น หรือ 47.34% ของทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว ซึ่งรายการดังกล่าวอาจนำไปสู่การทำคำเสนอซื้อ (Tender Offer) ที่เป็นข้อมูลที่มีความสำคัญ และอาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ TPIPL โดยที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังไม่ได้รับทราบข้อเท็จจริงของรายการดังกล่าวจาก TPIPL
ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงหยุดพักการซื้อขายหลักทรัพย์ของ TPIPL เป็นการชั่วคราวตั้งแต่การซื้อขายรอบเช้าของวันที่ 2 เมษายน 2563 เป็นต้นไป จนกว่าบริษัทจะเปิดเผยสารสนเทศดังกล่าว
ลักษณะธุรกิจของ TPIPL ผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ คอนกรีตผสมเสร็จ และเม็ดพลาสติค LDPE/EVA โดยร่วมทุนในธุรกิจแอมโมเนียมไนเตรทและกรดไนตริก และมีการลงทุนที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจเหล็กและธุรกิจประกันชีวิต เป็นต้น
อ้างอิงจาก Thestandard.co
วันนี้ (1 เมษายน) บลจ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ค่าเงินบาทเช้าวันนี้ เปิดตลาดที่ระดับ 32.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากช่วงปิดสิ้นวันทำการก่อน (30 มีนาคม) ที่ระดับ 32.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินบาทได้รับแรงกดดันจาก 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ความกังวลว่าเศรษฐกิจจะหดตัวหนักจากวิกฤตโควิด-19, การอ่อนค่าของสกุลเงิน EM และตลาดหุ้นในฝั่งเอเชียที่ผันผวน โดยกรอบเงินบาทวันนี้ 32.65-32.95 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ต้นไตรมาส 2 ปีนี้ ทั้ง 3 ปัจจัยยังกดดันค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเพราะทั่วโลกเลือกใช้มาตรการชะลอกิจกรรมทางเศรษฐกิจในการแก้ปัญหาการระบาดของไวรัส โดยมองว่าเงินบาทอาจอ่อนค่าได้มากที่สุดถึงระดับ 33.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นการอ่อนค่าต่อเนื่องที่ 2.5%
อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสนี้ก็มีโอกาสที่ทุกสกุลเงินเอเชียจะกลับตัว (แข็งค่า) เพราะเป็นขาลงของการระบาดของไวรัส ขณะเดียวกันเศรษฐกิจฝั่งเอเชียน่าจะกลับมาดำเนินการได้ตามปกติก่อนฝั่งตะวันตก เงินบาทจึงมีโอกาสแข็งค่ากลับมาได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตลาดโลกช่วงกลางคืนที่ผ่านมา นักลงทุนฝั่งสหรัฐฯ ทยอยขายหุ้นปิดท้ายไตรมาส ส่งผลให้ดัชนี S&P 500 ปรับตัวลดลงอีก 1.6% นับว่า 3 เดือนแรกของปีนี้ดัชนีหุ้น S&P ปรับตัวลดลงรวม 20% ถือเป็นช่วงที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2530 (ค.ศ. 1987)
อย่างไรก็ดี ในฝั่งของมุมมองเศรษฐกิจอนาคตยังคงปัจจัยบวก โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในสหรัฐฯ (CB Consumer Confidence) ปรับตัวลงมาที่ 120 จุด จากที่คาดว่าจะปรับตัวลงหนักกว่านี้ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการญี่ปุ่น (Tankan Business Survey) ที่รายงานในช่วงเช้าที่ผ่านมา สังเกตได้ว่าภาคอุตสาหกรรมมีมุมมองเชิงบวกว่าจะสามารถกลับมาทำธุรกิจได้ตามปกติบ้าง นอกจากนี้ดัชนีความกลัว หรือ VIX Index ก็ปรับตัวลงบ้าง โดยล่าสุดอยู่ที่ระดับ 53% แม้ว่าจะยังอยู่ในช่วงที่สูงผิดปกติ แต่ก็ถือเป็นสัญญาณว่าตลาดเคยชินกับความเสี่ยงปัจจุบันมากขึ้น
ฝั่งของตลาดเงินในช่วงไตรมาสที่ผ่านมาเห็นได้ชัดว่าดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าผิดปกติจากปัญหาสภาพคล่อง โดยเมื่อเทียบกับสกุลเงินกลุ่มประเทศเกิดใหม่ที่ผันผวนสูง (High Volatility EM Currencies) ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น 15-20% และมีเพียงทองคำ ฟรังก์สวิส (CHF) กับเงินเยน (JPY) เท่านั้นที่สามารถปรับตัวบวกได้ในไตรมาสแรก เชื่อว่าปัจจัยดังกล่าวไม่ได้มาจากพื้นฐานของสหรัฐฯ ที่ดีกว่าประเทศอื่น ในอนาคต สกุลเงิน EM จึงมีโอกาสฟื้นตัวเมื่อเทียบกับสกุลเงินประเทศพัฒนา (DM)เช่นกัน