· ตลาดหุ้นทั่วโลกอ่อนตัวลง เนื่องจากเหล่านักลงทุนกำลังมองหาสัญญาณเพิ่มเติมของเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ขณะที่ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นท่ามกลางการซื้อขายที่เบาบางหลังจากที่กลุ่มโอเกปละประเทศสมาชิกสามารถบรรลุข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันร่วมกันได้
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 0.3%
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง เนื่องจากเหล่านักลงทุนกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของผลประกอบการภาคบริษัทจากการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา แม้ว่าหุ้นของบริษัทน้ำมันรายสำคัญเพิ่มขึ้นหลังจากกลุ่มโอปกสามารถบรรลุข้อตกลงในการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน
โดยดัชนี Nikkei ลดลง 2.3% ที่ระดับ 19,043.40 จุด ด้านดัชนี Topix ลดลง 1.7% ที่ระดับ 1,405.91 จุด
· ตลาดหุ้นจีนปิดปรับตัวลดลงในวันนี้ เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบกือบ 6 สัปดาห์
โดยดัชนี Shanghai Composite ลดลง 0.49%
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่เฟดได้ประกาศการตัดสินใจอัดฉีดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเพื่อสู้กับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการระบาดของไวรัสโคโรนาวงเงิน 2.3 ล้านล้านเหรียญ
โดยดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 1.4% ด้านหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวและการพักผ่อนเพิ่มขึ้นกว่า 4% ท่ามกลางตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนบวก
อ้างอิงสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เปิดเผยว่า ปลายเดือน พ.ค.นี้ คาดว่าพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โอนงบประมาณรายจ่าย
ประจำปี 2563 จะสามารถนำมาใช้ได้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลต้องการใช้งบกลางเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของ
ประชาชนจากไวรัสโควิด-19 โดยประเมินว่า งบกลางที่ดึงกลับมาได้ 80,000-100,000 ล้านบาท จากปัจจุบันมีงบกลางเหลืออยู่เพียง
3,000 ล้านบาท
- อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงกรณีที่องค์การการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) คาดการณ์การค้าสินค้าของ
โลกในปี 63 จะติดลบ 13-32% เพราะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ถือเป็นอัตราการขยายตัว
ต่ำสุดในรอบ 10 ปี นับจากวิกฤติซับไพรม์เมื่อปี 51-52 ว่า เมื่อการค้าโลกลดลงย่อมส่งผลต่อการส่งออกไทยด้วย แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถ
บอกได้ว่าจะทำให้การส่งออกของไทยติดลบ หรือขยายตัวเป็นบวกได้ตามเป้าหมายหรือไม่
- รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย เปิดเผยว่า ต้องติดตามแนวโน้มภาคการผลิตของ
ไทยอย่างใกล้ชิด เพราะเริ่มเข้าสู่ภาวะอ่อนแอพบว่า เดือน ก.พ. 63 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมหลัก 14 คลัสเตอร์ ยังมีมูลค่าส่งออกติดลบ
ต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องนุ่งห่ม เหล็ก เครื่องสำอาง
หากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ยังยืดเยื้ออีก 1-2 เดือน จะส่งผลกระทบให้กิจการรายกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) อาจปิดตัวลง หรือเลิก
จ้างพนักงานเพิ่มขึ้น
อ้างอิงจากสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
- โบรกฯ ประเมินงบแบงก์ Q1/63 กำไรลดลง 13% อยู่ที่ 3.48 หมื่นลบ. หลังสินเชื่ออ่อนแอ - ดอกเบี้ยขาลง - ตั้งสำรองฯพุ่ง คาด 3 แบงก์ใหญ่เจอปัจจัยร้ายรุมเร้า เตือนอาจลากยาวถึงไตรมาส 2 หากโควิด-19 ไม่จบ ส่วนทั้งปีคาดกำไรลดลง 23% ยก BBL-TISCO ดูดีสุด
คาด Q1/63 กำไรหด 13% หลังสินเชื่อวูบตามศก.
บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เมย์แบงก์ กิมเอ็ง คาดการณ์ว่า ธนาคารพาณิชย์(7 แห่ง ที่ทำการวิเคราะห์ BBL-KBANK-KKP-KTB-SCB-TISCO-TMB) จะรายงานผลประกอบการไตรมาส 1/63 ที่ 3.48 หมื่นล้านบาท ลดลง 13% เทียบกับช่วงเดียวกันปี 62 ที่กำไร 40,067 หมื่นล้านบาท (ตัดรายการพิเศษ BAY แล้ว) แต่ทรงตัว QoQ จากการตั้งสำรองที่สูงขึ้นและ non-NII ที่ลดลง แนวโน้มการเติบโตของสินเชื่อยังคงอ่อนแอในไตรมาส 1/63 เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและการชำระคืนตามฤดูกาล
ขณะที่ NIM น่าจะถูกกดดันจากการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ รายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลงจากกองทุนรวม ธุรกิจประกันและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อมีแนวโน้มนำไปสู่การลดลงของ Non-NII ในแง่ของคุณภาพสินทรัพย์ อัตราส่วน NPL ของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 20bps QoQ เป็น 4.2% ในไตรมาส 1/63 การตั้งสำรองคาดว่าจะเติบโต 5% YoY แต่ลดลง 32% QoQ เนื่องจาก BBL มีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4/62
ส่วนทั้งปี 2563 ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิลง 22% เนื่องจากคาดว่าสินเชื่อจะชะลอตัว NIM ลดลง รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยทรุดและต้นทุนสินเชื่อที่สูงขึ้นจากผลกระทบ COVID-19 ระบาด แต่ยังให้น้ำหนักเท่าตลาด เนื่องจากหุ้นกลุ่มธนาคารซื้อขายที่ P/BV ปี 63 ที่ 0.5 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีที่ 2.0SD
สำหรับหุ้นเด่น คือ BBL จากงบดุลที่แข็งแกร่ง เงินทุนและเงินปันผลที่ดี เพิ่มคำแนะนำ TISCO จาก “ถือ” เป็น “ซื้อ” จากการเน้นกลยุทธ์ทำกำไรมากกว่าขยายพอร์ตสินเชื่อ และลดคำแนะนำ KBANK จาก “ซื้อ” เป็น “ถือ” เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่สุดจากลูกค้า SMEs ที่มีแนวโน้มแย่ลง
- AOT ปฎิเสธเตรียมซื้อหุ้นเพิ่มทุน THAI หวั่นเกิด Conflict of Interest ชี้โดยหลักสากล สนามบินต้องปฎิบัติต่อสายการบินโดยเท่าเทียมกัน
นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT เปิดเผยว่า บริษัทไม่มีแผนที่จะเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI ตามที่มีกระแสข่าว
ทั้งนี้โดยหลักการสากลแล้ว บังคับให้สนามบินจำเป็นต้องปฎิบัติต่อสายการบินให้เท่าเทียมกัน โดยไม่สามารถเลือกปฎิบัติได้ ด้วยหลักการนี้จึงมักมีคำถามกันในเวทีสากลเสมอว่าการที่ผู้บริหารสนามบิน จะเข้าถือหุ้นสายการบินจะเป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (conflict of interest) หรือไม่
ลักษณะธุรกิจของ AOT
ทอท.ประกอบธุรกิจท่าอากาศยานของประเทศไทย โดยธุรกิจหลักประกอบด้วย การจัดการ การดำเนินงาน และการพัฒนาท่าอากาศยาน โดยมีท่าอากาศยานในความรับผิดชอบ 6 แห่ง คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่ ซึ่งท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งนี้ ให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยมีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศ
อ้างอิงจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ
เมื่อวันที่ 13 เม.ย. 63 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (ศบค.) แถลงสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ประจำวัน ว่า ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 28 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 2,579 ราย ใน 68 จังหวัด เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย รวมผู้เสียชีวิตสะสม 40 ราย รักษาหายป่วยเพิ่มขึ้น 70 ราย รวมกลับบ้านแล้ว 1,288 ราย (49.9%)
ทั้งนี้ ผู้ป่วยใหม่ที่เพิ่มขึ้นในวันนี้ 28 ราย ใน 9 จังหวัด เข้ารับการรักษาในกรุงเทพมหานคร 12 ราย, ภูเก็ต 6 ราย, ชลบุรี 2ราย, ยะลา 2 ราย, สตูล 2 ราย, ชุมพร 1 ราย, นครพนม 1 ราย, นนทบุรี 1ราย และ เลย 1 ราย
กรุงเทพมหานคร มีผู้ป่วยที่รับรักษาสะสมมากที่สุด 1,306 ราย ตามด้วย ภูเก็ต 182 ราย, นนทบุรี 150 ราย, สมุทรปราการ 105 ราย, ยะลา 84ร าย, ชลบุรี 78 ราย, ปัตตานี 77 ราย, สงขลา 56 ราย, เชียงใหม่ 40 ราย และปทุมธานี 33 ราย โดยอยู่ระหว่างการสอบสวนอีก 72 ราย