· ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ตอบรับเชิงบวกต่อแนวโน้มการระบาดของไวรัสโคโรนาและการที่ทีมบริหารของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีแนวคิดที่จะผ่อนคลายมาตรการ Lockdown จึงช่วยชดเชยความกังวลเรื่องการประกาศผลประกอบการที่ย่ำแย่ของ JPMorngan และ Wells Fargo ลงไป
ดัชนีดาวโจนส์ปิดปรับขึ้นไป 558.99 จุด หรือ +2.4% ที่ระดับ 23,949.76 จุด ทางด้าน S&P500 ปิด +3.1% ที่ 2,846.06 จุด ทางด้าน Nasdaq ปิดขึ้นได้เกือบ 4% ที่ 8,515.74 จุด
นายแลรี่ คุดโลว์ ที่ปรึกษาทำเนียบขาวด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯ กล่าวว่า นายทรัมป์จะทำการประกาศเรื่องการกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิจสหรัฐฯภายในอีก 1 หรือ 2 วันจากนี้ ท่ามกลางวิกฤตทางด้านสุขภาพที่ดูจะลดน้อยลงไป แม้ว่าผู้ว่าการบางรัฐจะยังพิจารณาว่าการกลับมาเปิดภาคธุรกิจขอให้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใของพวกเขา
ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก เผยว่า นิวยอร์กซึ่งเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดในสหรัฐฯนั้นมียอดรวมการเข้ารักษาหรือติดเชื้อลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่เกิดการระบาดภายในสหรัฐฯ
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์หลายรายกล่าวเตือนว่า ฤดูกาลประกาศผลประกอบการในครั้งนี้ดูจะได้รับผลกระทบากมาตรการจำกัดต่างๆที่อาจทำให้กิจกรรมภาคธุรกิจเกือบทั้งหมดหยุดชะงักไป
· ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวขึ้นท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่จับตาให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การก้าวออกจากมาตรการ Lockdown โดยดัชนี Stoxx600 ปิด +0.6% ท่ามกลางหุ้นกลุ่มต่างๆที่ปิดแดนบวกเช่นกัน โดยในหลายๆประเทศแถบยุโรป โดยเฉพาะอิตาลีและสเปนที่เรียกว่าได้รับผลกระทบจากการระบาดที่ย่ำแย่ที่สุด ในเวลานี้ดูเหมือนจะสามารถผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ได้ หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่และอัตราการเสียชีวิตลดลง
โดยสเปนมีการอนุมัติให้ภาคการก่อสร้างบางแห่งรวมถึงการผลิตในประเทศกลับมาเปิดทำการได้ตั้งแต่วันจันทร์ที่ผ่านมา ขณะที่อิตาลีมีการอนุญาตให้ภาคธุรกิจบางแห่งกลับมาเปิดทำการได้เมื่อวานนี้ ทางด้านเยอรมนีกำลังพิจารณาว่าจัดการอย่างไรเพื่อให้เศรษฐกิจค่อยๆฟื้นตัวจากผลกระทบของไวรัสโคโรนาที่เกิดขึ้น
· หุ้นเอเชียเปิดผสมผสานกันในเช้านี้ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ยังคให้ความสำคัญกับผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้เปิด +1.72% ทางด้าน Kosdaq เปิด +2.28%
หุ้น S&P/ASX200 เปิด +0.2% และดัชนีนิกเกอิเปิด -0.73% ในขณะที่ดัชนี Topix เปิด -0.43%
ภาพรวมดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิด +0.12%
· นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.55 - 32.80 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ เนื่องจากระหว่างวันเงินบาทยังไม่มีปัจจัยที่จะมีผลต่อทิศทางของค่าเงินมากนัก โดยช่วงนี้ตลาดยังคงจับตาสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของทั่วโลกน่าจะเข้าสู่จุดสูงสุดแล้ว และยอดผู้ติดเชื้อน่าจะเริ่มชะลอตัวลง
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและประชาชนอย่างใกล้ชิด และได้สั่งการให้สถาบันการเงิน และสถาบันการเงินของรัฐ ให้ความช่วยเหลือประชาชนและธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด19 ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
- ประธานสมาคมธนาคารไทย มองผลกระทบจากวิกฤตการระบาดของไวรัสฯ ในรอบนี้ สามารถประเมินเบื้องต้นเป็นเม็ดเงินสุทธิราว 1.3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 7.7% ของจีดีพีโดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวรายได้หายไปถึง 1.1 ล้านล้านบาท อันทำให้เศรษฐกิจไทยมีโอกาสหดตัวลึกใกล้เคียงกับปี 2540 และอาจจะลึกกว่านั้น หากการระบาดไม่สามารถควบคุมได้ภายในไตรมาส 2 ของปีนี้ อันจะทำให้ผลกระทบในเชิงตัวเงินใหญ่ขึ้นอีกจนอาจจะแย่กว่าวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540
- ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ระบุว่า ประชาชนที่ลงทะเบียนขอรับเงินเยียวยาจากรัฐบาล 5,000 บ. แล้วได้รับ SMS ว่าไม่เข้าเกณฑ์การได้รับเงินเยียวยานั้น ขอให้รอสัปดาห์หน้า อย่างช้าไม่เกินวันที่ 21 เม.ย.63 จะเปิดให้เริ่มยื่นอุทธรณ์ผ่านทางเว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน.com
· อ้างอิงจากสำนักข่าว Brand Inside
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ได้ออกรายงานเศรษฐกิจโลกฉบับใหม่ โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะตกต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 1930 เป็นต้นมา ขณะเดียวกันมอง GDP ไทยปีนี้ต่ำถึง -6.7%
โดย IMF ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ของทุกประเทศลงมาหลังจากที่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้สร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจทั่วโลกอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ซึ่ง IMF คาดว่า GDP ของโลกในปีนี้จะถดถอยที่ -3% และปีหน้าจะเติบโตที่ 5% จากฐานที่ต่ำในปีนี้
สำหรับเศรษฐกิจไทยนั้น IMF ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะถดถอยที่ -6.7% มากกว่าทางธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์ด้วยซ้ำ นอกจากนี้คาดการณ์ของ IMF เองยังแสดงถึงเศรษฐกิจไทยนั้นถดถอยสุดในอาเซียน ขณะที่ในปี 2021 นั้น IMF คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาเติบโต 6.1%