· ดัชนี S&P500 ปิดปรับตัวลงหลังมีรายงานจาก Financial Times ระบุว่า ยา Remdesivir ของบริษัท Gilead Sciences ไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาไวรัสโคโรนาได้ดังที่เคยมีข่าวเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ประกอบกับตลาดมีข่าวเชิงลบจากผลกระทบของไวรัสโคโรนาต่อตลาดแรงงาน
ดัชนีดาวโจนส์ปิดปรับขึ้นเล็กน้อย +0.17% ที่ 23,515.26 จุด ขณะที่ S&P500 ปิด -0.05% ที่ 2,797.8 จุด ด้าน Nasdaq ปิด -0.01% ที่ 8,494.75 จุด
· สถาบันจัดอันดับ S&P ทำการปรับลดความน่าเชื่อถือ Commerzbank และลดมุมมองของ Deutsche Bank ลงจากระดับเสถียรภาพมาสู่ระดับติดลบ ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นปในทางเดียวกันกับ Fitch Ratings ที่ดาวน์เกรดอันดับจาก 2 ธนาคารยักษ์ใหญ่
ทั้งนี้ S&P มองว่า ผลประกอบการของธนาคารรายใหญ่ทั้ง 2 แห่ง จะอ่อนแอต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้ และตลอดจนเข้าสู่ปี 2021
อย่างไรก็ดี ทั้ง 2 ธนาคาร ณ ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ BBB+ และจากรายงานก็คาดว่าอาจเห็นการปรับลดแนวโมในอีกไม่นานนี้
· ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวสูงขึ้นท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนา และราคาน้ำมัน ประกอบกับรายงานผลประกอบการภาคบริษัทก็เป็นสิ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจ
ดัชนี Stoxx600 ปิด +1% ขณะที่หุ้นกลุ่มน้ำมันและแก๊สปิด +3%
· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในการซื้อขายช่วงเช้าวันศุกร์ จากรายงานที่ว่ายาของบริษัท Gilead Sciences ซึ่งเป็นหนึ่งในยาที่เชื่อว่าสามารถรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้ ประสบความล้มเหลวในการทดลองใช้กับผู้ป่วยในประเทศจีน
โดยเช้านี้ ดัชนี Nikkei ลดลง 0.71% ด้านดัชนี Topix ลดลง 0.79% และดัชนี Kospi ลดลง 0.6%
ขณะที่ดัชนี S&P/ASX 200 ออสเตรเลีย ลดลง 0.11%
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น 0.17%
· นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้ไว้ระหว่าง 32.25-32.50 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางแข็งค่าไปตามแรงซื้อแรงขายดอลลาร์ ประกอบกับมี flow ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตร
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- รมว.คลังของไทย เผยความคืบหน้ามาตรการเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในส่วนของเกษตรกรที่จะแจกเงิน 5,000 บาทต่อเดือน จะต้องให้คณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณารูปแบบว่าจะดำเนินการอย่างไร
โดยจะใช้ฐานข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 28 เม.ย.63
- รัฐบาลเตรียมออกมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการภาคเอกชน โดยยกเว้นเก็บอัตราค่าไฟฟ้าขั้นต่ำถึงสิ้นปี 63 และคืนเงินประกันใช้ไฟฟ้า
- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนมี.ค.63 อยู่ที่ระดับ 88.0 ลดลงจากระดับ 90.2 ในเดือนก.พ.63 โดยดัชนีฯ ต่ำสุดในรอบ 28 เดือน นับตั้งแต่เดือน ธ.ค.60 ขณะที่ดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 96.0 ลดลงจาก 98.1 ในเดือน ก.พ.63 โดยดัชนีฯ ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี นับตั้งแต่เดือน ก.ค.62
- ส.อ.ท.เผยยอดส่งออกรถยนต์เดือน มี.ค.63 อยู่ที่ 89,795 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน 23.71% โดยยอดส่งออกลดลงในตลาดเอเชีย โอเชียเนีย ทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และยุโรป เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัวลง รวมถึงผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-1 ส่วนมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 49,112 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน 17.85% ขณะที่การส่งออกรถยนต์ในช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-มี.ค.63) มียอดรวมทั้งหมด 250,281คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 16.53% คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 128,848 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.90%
นอกจากนี้ ส.อ.ท.ระบุหากสถานการณ์โควิด-19 ยืดเยื้อออกไปถึงเดือน ก.ย.63 อาจกระทบต่อเป้ายอดผลิตรถยนต์ ยอดส่งออกรถยนต์ และยอดขายรถยนต์ในประเทศของปีนี้ลดลงถึง 50% จากเป้าหมายเดิมที่คาดว่าจะผลิตรถยนต์ได้ 2 ล้านคัน เหลือ 1 ล้านคัน ยอดส่งออกลดลงจาก 1 ล้านคัน เหลือ 5-7 แสนคัน ส่วนยอดขายในประเทศลดลงจาก 1 ล้านคัน เหลือ 5 แสนคัน