• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 30 เมษายน 2563

    30 เมษายน 2563 | SET News
  
 

· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์ โดยได้รับแรงหนุนจากความหวังที่จะเห็นผลจากการใช้ตัวยารักษาอาการผู้ป่วยไวรัสโคโรนา แม้ว่าพันธบัตรและค่าเงินจะอยู่ในช่วงระมัดระวังการลงทุน ก่อนหน้าการประชุมอีซีบีในคืนนี้

มุมมองเชิงบวกในตลาดหุ้นได้รับแรงผลักดันจากมุมมองเชิงบวกบางส่วนจากการทดลองใช้ยาต้านไวรัสของ Gilead (GILD.O) ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายาดังกล่าวสามารถช่วยเร่งการฟื้นตัวจากไวรัสโคโรนาได้

ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับเพิ่มขึ้น 1.4% สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า 5% ซึ่งเป็นระดับที่ดีที่สุดในรอบ 3 สัปดาห์

· ผลประกอบการ DBS ร่วงลง 29% ในไตรมาสแรกปีนี้ อยู่ที่ 829.2 ล้านเหรียญจากที่ไตรมาสแรกของปีที่แล้วทำไว้ได้ที่ 1.17 พันล้านเหรียญ นอกจากนี้ DBS ยังต้องสำรองเงิน 772.5 ล้านเหรียญเพื่อชดเชยการขาดทุนจากการระบาดของไวรัสโคโรนาอีกด้วย

· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้นใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 8 สัปดาห์ ตามการเพิ่มขึ้นของตลาดสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมา จากมุมมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการทดลองยารักษาไวรัสโคโรนา รวมถึงผลกำไรจากกลุ่มเทคโนโลยีที่แข็งแกร่งและราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น

โดยดัชนีวัดความผันผวนโดย Nikkei ที่เปรียบเสมือนเครื่องมือวัดความกลัวของตลาด ปรับลดลงประมาณ 11.2% ทำระดับต่ำสุดในรอบ 8 สัปดาห์ ที่ระดับ 29.6 จุด สะท้อนถึงความกังวลของนักลงทุนที่ลดน้อยลง ด้านดัชนี Topix เพิ่มขึ้น1.5% ที่ระดับ 1,470.73 จุด

· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวสูงขึ้น สำหรับภาพรวมรายเดือนเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.ที่ผ่านมา หลังจากมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการทดลองยารักษาไวรัสโคโรนา รวมทั้งข้อมูลที่ออกมาแย่ลงช่วยเสริมความหวังในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อหนุนเศรษฐกิจ

โดยดัชนี Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 1.3% ที่ระดับ 2,860.08 จุด

· ตลาดยุโรปเกิดความผันผวนเนื่องจากนักลงทุนให้ความสนใจกับข่าวที่ว่ามีการค้นพบวิธีรักษาไวรัสโคโรนาได้แล้ว พร้อมกับจับตาผลประกอบการบริษัทและข้อมูลทางเศรษฐกิจ

หุ้น Stoxx 600 ปรับตัวลง 0.2% ขณะที่หุ้นธนาคารร่วง 2.2% ซึ่งอาจทำให้เกิดการขาดทุน และหุ้นกลุ่มที่อยู่อาศัยปรับตัวสูงขึ้น 0.9%

· นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีไทย เปิดเผยว่า ธุรกิจการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยจะชะลอตัวถึงช่วงต้นปีหน้าเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา อีกทั้งยังกล่าวว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 จะซบเซาลงเช่นกัน

อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- รัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนถกแลกเปลี่ยนมาตรการฟื้นฟูอุตฯท่องเที่ยวในภูมิภาค สรุป 7 ข้อร่วมจับมือเดินหน้าฝ่าฟัน โควิด-19 ระบาด เตรียมพร้อมจัดการท่องเที่ยวหลังไวรัสยุติ ด้าน 'พิพัฒน์'ชูมาตรการ 2 ระยะ ช่วยพยุงภาคท่องเที่ยวไทย

- อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า ยอดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวันในรอบ 3 เดือนแรกของปีนี้(มกราคม-มีนาคม 2563) พบปริมาณการใช้น้ำมันกลุ่มเบนซิน ดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยาน น้ำมันก๊าด และก๊าซปิโตรเลียมเหลว(แอลพีจี) อยู่ที่ 150.56 ล้านลิตรต่อวัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.5% ยอดการใช้ปรับลดลงทุกกลุ่ม สาเหตุมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 จนไทยต้องปิดประเทศภายใต้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ทำให้ เศรษฐกิจชะลอตัว

- ธปท.ออกเกณฑ์กองทุน BSF แจงจะช่วยซื้อ 50% ของวงเงินต่ออายุในเกรดลงทุนได้ คิดดอกเบี้ยแพงกว่าตลาด 1-2% ให้สูงสุดไม่เกิน 12,000 ล้านบาทต่อราย ขณะที่ พ.ร.ก.ระบุชัดหากกองทุน BSF เกิดความเสียหาย คลังจะชดเชยให้ 40,000 ล้านบาท

- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือน มี.ค.63 หดตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจรุนแรงขึ้นในทุกด้าน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่หดตัวรุนแรง หลังหลายประเทศ รวมถึงไทยประกาศใช้มาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ ด้านการส่งออกสินค้าที่ไม่รวมทองคำหดตัวสูงขึ้นตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าและราคาน้ำมัน สำหรับเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนหดตัวตามปัจจัยสนับสนุนกำลังซื้อที่อ่อนแอลง และมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดขึ้น

อ้างอิงสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย


- โบรกฯ ส่องหุ้น 2 ยักษ์ค้าปลีกไทย ประเมินงบ Q1/63 มอง BJC กำไรทรงตัว โควิดกระทบภาพรวมมาถึง Q2 แต่มีจุดแกร่งเพราะเป็นผู้ผลิตสินค้าเอง ฟาก CPALL คาดกำไรวูบ 3% แต่ให้จับตาจะได้ TESCO มาเสริมแกร่งในอนาคต

บล.หยวนต้า เปิดเผยถึงแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 1 /2563 ของ 2 บริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่ของไทยอย่าง บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) หรือ CPALL และ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC ดัง

โดยคาด SSSG ของ CPALL จะติดลบราว 2 ถึง 3% YoYและ BJC ติดลบราว 5% YoYรับผลกระทบจากกำลังซื้อที่อ่อนแอ จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวโดยเฉพาะในเดือน ก.พ. ที่นักท่องเที่ยวเริ่มลดลง ตามสถานการณ์ โควิด-19 ที่เริ่มต้นรุนแรง จนถึงการล็อกดาวน์ในช่วงกลางเดือน มี.ค

ทั้งนี้มีเพียง MAKRO ที่เห็นการเติบโตของ SSSG เราคาด +5% YoYสวนทางจากกลุ่มค้าปลีกโดยรวมที่ติดลบ 5-9%YoY เนื่องจากผลของการล็อกดาวน์ที่ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคนิยมที่ไม่เดินทางและอยู่บ้าน ขณะเดียวกับราคาสินค้าอาหารสด หมู และไก่ ยังอยู่ในระดับดี โดยเฉพาะสาขา MAKRO Food Service ที่ได้รับความนิยม ในช่วงต้นของการประกาศล็อกดาวน์ทำให้เกิด Panic Buying

มองว่าผลของการ ล็อกดาวน์ในเดือน เม.ย ทั้งเดือน และอาจมีความต่อเนื่องไปยังช่วงต้น-กลางเดือนของ พ.ค จะส่งผลต่อยอดขายที่ชะงักไปในช่วงเวลาดังกล่าว โดยผลกระทบยังคงเกิดขึ้นในสินค้าที่ไม่อยู่ในหมวดเพื่อการดำรงชีพที่ยังขายสินค้าไม่ได้ ประกอบกับแรงซื้อในระดับกลาง-ล่างที่อาจชะลอตัวตามกำลังซื้อที่จำกัดโดยเราคาด SSSG ของ Q2/63 ยังเห็นตัวเลขที่ติดลบต่อเนื่อง ขณะที่คาดผลจากมาตรการเยียวยา และการปลดล็อกจะให้ผลตอบรับต่อแรงซื้อที่ดีขึ้นในช่วง 2H63

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com