· ดัชนี S&P500 และดาวโจนส์ปิดปรับตัวลดลงท่ามกลางการปรับตัวลงของหุ้นกลุ่มการเงินและภาคส่วนอื่นๆจึงบดบังการเพิ่มขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ขณะที่ข้อมูลจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐฯก็ดูจะสะท้อนถึงการว่างงานของประชนในประเทศมากขึ้นราว 20 ล้านตำแหน่ง และตอกย้ำถึงภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
ดัชนีดาวโจนส์ปิดปรับลง 218.45 จุด หรือคิดเป็น -0.91% ที่ 23,664.64 จุด ด้าน S&P500 ปิด -0.7% ที่ 2,848.42 จุด และ Nasdaq ปิด -0.51% ที่ 8,854.39 จุด
อย่างไรก็ดี ตลาดรอคอยการประกาศข้อมูลจ้างงานภาครัฐบาลสหรัฐฯในคืนวันศุกร์นี้ รวมทั้งนักลงทุนให้ความสนใจจำนวนรัฐในสหรัฐฯว่าจะสามารถผ่อนปรนมาตรการ Lockdown ได้มากเท่าไหร่
· เช้านี้ดัชนีฟิวเจอร์สปรับลงต่อรอคอยข้อมูลจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯในคืนนี้ โดยดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์สปิด -58 จุด หลังจากที่เปิดลงไป -95 จุด ขณะที่ S&P500 และ Nasdaq ฟิวเจอร์สเช้านี้ก็ปรับตัวลดลงตาม
· หุ้นยุโรปปิดปรับตัวลดลงท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ตอบรับกับการร่วงลงของราคาน้ำมัน และจับตาการผ่อนปรนมาตรการ Lockdown กับการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจ โดยดัชนี Stoxx600 ปิด -0.4% ด้านราคาน้ำมันปรับตัวลงในแดนลบอีกครั้งทำลายภาพการปรับขึ้นต่อเนื่อง 5 วันทำการ จากนักลงทุนที่วิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันลดตลาดที่จะมาบดบังต่อมุมมองเชิงบวกในการกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิจ
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวเตือนการกลับมาเปิดทำการของสหรัฐฯ ว่าอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของชาวสหรัฐฯอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะที่นายทรัมป์เถียงว่าจะให้ประโยชน์มากกว่า
· ตลาดหุ้นเอเชียค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากเหล่านักลงทุนกำลังรอคอยการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจภาคบริการของจีนประจำเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา
เช้านี้ ดัชนี Nikkei ลดลง 0.58% ด้านดัชนี Topix ลดลง 0.64% และดัชนี Kospi เกาหลีใต้ลดลง 0.31%
ขณะที่ดัชนี S&P/ASX ออสเตรเลีย เคลื่อนไหวทรงตัว
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นลดลง 0.24%
สำหรับวันนี้ตลาดสิงคโปร์ มาเลเซียและอินโดนีเซียจะปิดทำการเนื่องในวันหยุด
· นักบริหารการเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ระหว่าง 32.20-32.65 บาท/ดอลลาร์
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อ ในเดือน เม.ย.63 อยู่ที่ 99.75 ลดลง -2.99% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลง -2.03% จากเดือน มี.ค.63 โดยในช่วง 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.) ของปี 63 เฉลี่ย -0.44%
แม้อัตราเงินเฟ้อจะติดลบแต่มองว่าประเทศไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด เพราะการจะเข้าสู่ภาวะเงินฝืดตามคำจำกัดความ ทางวิชาการได้นั้น อัตราเงินเฟ้อจะต้องติดลบต่อเนื่องกัน 3 เดือนหรือ 1 ไตรมาส ประกอบกับราคาสินค้าและบริการต่างๆ ส่วนใหญ่จะต้องปรับตัวลดลง แต่สถานการณ์ของไทยในปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อยังติดลบต่อเนื่องกัน 2 เดือน ขณะที่ราคาสินค้าและบริการส่วนใหญ่ไม่ได้ ปรับลดลง
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เดือนเม.ย.63 พบว่า ดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 32.6 ปรับลดลงต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เริ่มทำการสำรวจในปี 42 โดยปรับลดลงจากเดือนมี.ค.63 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 42.6 ทั้งนี้ ทุกองค์ประกอบของดัชนีฯ อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 และเป็นการปรับตัวลงในทุก sector สะท้อนว่าสถานการณ์โควิด-19 ครั้งนี้ ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและรุนแรง
- ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า แม้สถานการณ์การส่งออกของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้จะออกมาดีกว่าคาดการณ์ไว้ แต่ สรท.ยังต้องจับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยยังคงคาดการณ์การส่งออกไทยในปี 63 ว่าอาจหดตัว -8% บนสมมติฐานค่าเงิน 30.50 บาท/ดอลลาร์ (บวก/ลบ 0.50 บาท/ดอลลาร์) โดยคาดว่าการส่งออกของไทยจะกลับมาฟื้นตัวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้
- ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ประจำครึ่งหลังของปี 62 โดยเป้าหมายนโยบายการเงินในปี 62 ได้กำหนดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีที่ 2.5 บวก/ลบ 1.5% เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลาง ส่วนในปี 63 ได้กำหนดเป้าหมายนโยบายการเงินใหม่ โดยใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วง 1 - 3%