· ดัชนี Nasdaq ปิดปรับขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 วานนี้ ท่ามกลางการฟื้นตัวแรงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่แข็งแกร่งขานรับข่าวการอนุญาตให้กลับมาเปิดทำการอีกครั้งของทางรัฐบาลสหรัฐฯ โดย Nasdaq ปิด +1.4% ที่ 8,979.66 จุด ท่ามกลางหุ้นบริษัท Apple, Facebook, Amazon และ Alphabet ที่เพิ่มขึ้น
ด้านดัชนีดาวโจนส์ปิดปรับขึ้น 211.25 จุด หรือ +0.9% ที่ 23,875.89 จุด ทางด้าน S&P500 ปิด +1.2% ที่ 2,881.19 จุด และดัชนีทั้ง 2 ชนิยังคงปรับตัวลงไปแล้วกว่า 10% ในปีนี้
รัฐในสหรัฐฯบางส่วน อาทิ แคลิฟอร์เนีย และนิวยอร์กที่เปิดเผยแผนจะค่อยๆอนุญาตให้ทยอยเปิดทำการ ควบคู่กับรัฐจอร์เจีย ที่พร้อมเปิดทำการอีกครั้ง เป็นที่สนใจต่อตลาด แต่หัวหน้านักกลยุทธ์จาก TD Ameritrade กล่าวว่า ก็ยังคงกังวลต่อตลอดจนสิ้นเดือนนี้ เพราะถึงจะเห็นการค่อยๆกลับมาเปิดทำการแต่อุปสงค์ที่ตามมาก็น่าจะไม่พอชดเชยได้มากเท่าที่ตลาดคาดหวัง
· เช้านี้ดัชนีฟิวเจอร์สสหรัฐฯเปิดปรับขึ้น ตามดัชนีหลักที่ปิดทำการตอบรับการฟื้นตัวของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี นำโดยดัชนีดาวโจนส์เปิดปรับขึ้นประมาณ 0.25% หรือขึ้นมา 61 จุด ทางด้าน S&P500 ฟิวเจอร์สเช้านี้ เปิด +0.3% และNasdaq ฟิวเจอร์สเปิด +0.2%
· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่ดัชนี Nadaq ฟื้นตัวขึ้นเมื่อคืนที่ผ่านมาหลังจากที่ร่วงลงไปในช่วงก่อนหน้านี้
โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 1.29% จากหุ้นกลุ่ม FamilyMart ที่ปรับตัวสูงขึ้น มากกว่า 3% ด้านดัชนี Topix เพิ่มขึ้น 1.19%
และที่ดัชนี Kospi เกาหลีใต้เพิ่มขึ้น 1% รวมทั้งดัชนี Kosdaq ที่เพิ่มขึ้น 0.91%
ขณะที่ดัชนี S&P/ASX 200 ออสเตรเลีย เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน 0.66%
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 0.41%
· นักบริหารการเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ระหว่าง 30.20/30.50 บาท/ดอลลาร์ โดยปัจจัยที่นักลงทุนจับตาดูช่วงนี้ ได้แก่ ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน และมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ ของประเทศต่างๆ
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- คณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.) ปรับลดคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของประเทศไทยในปีนี้จะหดตัว -3% ถึง -5% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือน มี.ค.ว่าจะเติบโตที่ระดับ 1.5-2.0% หลังจากในช่วงไตรมาส 1/63 คาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัว -5% ขณะที่การส่งออกทั้งปีประเมินว่าจะหดตัว -5% ถึง -10%
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ไทยผลักดันสู่จุดต่ำสุดในรอบกว่า 9 ปี ด้วยปริมาณการผลิตที่อาจหดตัวสูงถึงกว่า 25% ส่งออกหดตัวสูงกว่า 29% และตลาดในประเทศอาจหดตัวถึง 21% แต่อาจสร้างโอกาสให้ไทยกลายเป็นฐานการผลิตใหม่ในภูมิภาคจากการที่ค่ายรถยนต์มองแนวทางกระจายความเสี่ยงหลังวิกฤตโควิด-19 คลี่คลาย
· อ้างอิงจากสำนักข่าวโพสทูเดย์
- เอกชน 3 ฝ่าย สรุปภาพรวมเศรษฐกิจไทย และ ต่างประเทศ ในช่วงแพร่ระบาดโควิด-19 พร้อมชงภาครัฐทบทวนผลดีผลเสีย จาก CPTPP รายงานข่าว ภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) สรุปภาพรวมประเด็นเศรษฐกิจไทยและต่างประเทศ จากสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งในไทยและต่างประเทศ ฉุดเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี 63 โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกบ่งชี้ถึงการหดตัวลงของแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในแทบทุกด้านมีเพียงการใช้จ่ายของผู้บริโภคในหมวดสินค้าจำเป็นที่ยังขยายตัวได้
ขณะที่การส่งออกที่รวมทองคำค่อนข้างทรงตัว และเมื่อมองต่อไปในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่สถานการณ์โควิด-19 ในเดือนเม.ย.รุนแรงขึ้นทั้งในไทยและต่างประเทศเครื่องชี้เศรษฐกิจจะยิ่งสะท้อนภาพการหดตัวที่ลึกขึ้นจากผลกระทบที่ขยายเป็นวงกว้างทั้งในภาคบริการภาคการผลิตรวมทั้งการจ้างงานและกำลังซื้อของประชาชนซึ่งมาตรการของภาครัฐและหน่วยงานต่างๆมีส่วนช่วยบรรเทาผลกระทบได้ระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ สถานการณ์โควิด-19 ในไทยเริ่มคลี่คลาย จนภาครัฐทยอยผ่อนปรนให้กิจการบางประเภทกลับมาเปิดให้บริการภายใต้แนวปฏิบัติที่ระมัดระวังโดยคงมาตรการ Social Distancing ไว้